วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

Boston Massacre การสังหารหมู่ที่บอสตัน

การสังหารหมู่ที่บอสตัน

การสังหารหมู่ที่บอสตัน หรือที่ชาวอังกฤษเรียกว่า อุบัติการณ์ที่ถนนคิง เป็นอุบัติการณ์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 1770 
ซึ่งทหารแห่งกองทัพอังกฤษสังหารพลเรือนห้าคน และทำให้อีกหกคนได้รับบาดเจ็บ ขณะนั้นทหารอังกฤษประจำอยู่
ในบอสตัน เมืองหลวงของจังหวัดอ่าวแมสซาชูเซตส์ ตั้งแต่ปี 1768 เพื่อคุ้มครองและสนับสนุนข้าราชการอาณานิคม
ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของรัฐสภาที่ไม่ได้รับความนิยม ท่ามกลางความสัมพันธ์อัน
ตึงเครียดที่ดำเนินมาระหว่างประชาชนกับทหาร เกิดฝูงชนวุ่นวายรอบตัวทหารยามอังกฤษนายหนึ่ง ผู้ถูกละเมิดและ
ก่อกวนด้วยวาจา ต่อมา มีทหารอีกแปดนายมาร่วมด้วย ซึ่งถูกข่มขู่ด้วยวาจาและขว้างปาวัตถุใส่ พวกเขายิงปืนเข้า
ไปในฝูงชน โดยไม่ได้รับคำสั่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันทีสามคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง จากนั้นมีผู้เสียชีวิต
จากบาดแผลอีกสองคน
  ฝูงชนสลายตัวในที่สุด หลังรักษาการแทนผู้ว่าราชการ โธมัส ฮัทชินสัน (Thomas Hutchinson) สัญญาว่าจะมีการ
สอบสวน แต่กลับมีการแก้ไขในวันรุ่งขึ้น โดยถอนทหารไปยังเกาะแคสเทล ทหารแปดนาย นายทหารหนึ่งนาย และ
พลเรือนสี่คนถูกจับและตั้งข้อหาฆ่าคน จอห์น อดัมส์ ทนายความและอนาคตประธานาธิบดีสหรัฐ แก้ต่างให้จำเลย 
ทำให้ทหารหกนายถูกปล่อยตัว ขณะที่อีกสองนายถูกพิพากษาลงโทษฐานทำให้คนตายโดยไม่เจตนาและได้รับโทษเบาลง
 โทษที่ผู้มีความผิดฐานทำให้คนตายโดยไม่เจตนาได้รับ คือ การตีตราที่มือ
การพรรณนา รายงานและโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ ที่โดดเด่น คือ ภาพพิมพ์ลายแกะสีที่สร้างสรรค์โดย พอล รีเวียร์
 (ดูขวามือ) ยิ่งทวีความตึงเครียดทั่วทั้งสิบสามอาณานิคม เหตุการณ์นี้ถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นการเกริ่นการณ์การปะทุ
สงครามปฏิวัติอเมริกาอีกห้าปีให้หลัง
       นี่เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่า ที่ใดมีการกดขี่ไม่ว่าจะโดยคนต่างชาติหรือคนในชาติเดียวกัน 
ที่นั้นย่อมมีการต่อสู้และต่อต้าน สำหรับในประเทศไทยนั้นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ก็เป็น
ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้และการกดขี่ ตราบใดที่ประเทศยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
แสดงว่ายังมีการกดขี่ระหว่างชนชั้น และตราบนั้นการต่อสู้ก็มีความจำเป็นที่ยังมีต่อไป