วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ถลกหนังหมอที่ประพฤติตัวแย่ๆ ตอนที่2



คลิปยูทูป

จวก อ.หมอ ม.สงขลานครินทร์ พูดหยาบคาย พาดพิงนายกปู เวทีกปปส.

อันที่จริงก็มีเพจเพื่อน ๆ ด้วยกันทำเรื่องทุจริต 
ในวงการแพทย์ออกมาเป็นซีรีส์อยู่แล้ว แต่ระยะนี้เห็นบรรดา
หมอ ๆ ทั้งหลายออกมาเคลื่อนไหว ขับไล่รัฐบาล

กล่าวหาว่า รัฐบาลคอรัปชั่นนี่แหละทำให้อดใจไม่ได้
ทุจริตในวงการหมอ ๆ นี่แทบจะเรียกว่าหลับตา ควานเข้าไปใน
วงการสาธารณะสุข หรือเรียกกันให้เข้าใจง่าย ๆ

ว่าวงการเสื้อกาวน์เนี่ย จะต้องติดเรื่องทุจริตไม่เรื่องใด
เรื่องหนึ่งติดมือมาอย่างแน่นอน อย่างที่เคยเรียนว่าในสาย
ตาของสังคม หมอหรือนายแพทย์เป็นบุคคลที่ทรงคุณค่ามีต้น
ทุนทางสังคมสูง เวลาทุจริตคดโกงมักจะเนียน

เวลามีเรื่องฉาวโฉ่ปูดขึ้นมา โน่นแน่ะครับ โยนบาป
ไปให้รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ข้างฝ่ายรัฐมนตรี เจ้ากระทรวงก็
โง่ซื้อบื้อ แต่ขี้โกงคอยรับ ผลประโยชน์อย่างเดียว

อย่างครั้งสมัยนายวิทยา แก้วภารดัยเป็น รมต.
สาธารณะสุข เสวยผลประโยชน์จนพุงปลิ้น เวลาเกิดเรื่องทุจริต
ขึ้นมา พวกบรรดาหมอ ๆ ตัวการนั่นแหละโยนบาปให้นายวิทยา
คนเดียว จนนายวิทยาต้องพ้นตำแหน่ง

ส่วนตัวการตัวจริง ก็นอนทับผลประโยชน์ต่อไป
ตีหน้าซื่อบริสุทธิ์ต่อไป แบบนี้วิญญูชน ทั้งหลายคิดว่าใคร
ชั่วกว่ากันระหว่าง รัฐมนตรีโง่แต่ขี้โกง กับบรรดาหมอที่ประพฤติ
ตนเป็นหมาเจ้าเล่ห์ฉลาดแต่ขี้โกงเนี่ย

นี่ก็อีกกลโกงหนึ่งของหมอ(หมา ๆ) ในการซื้อเครื่องตรวจเลือด

ในรายการ จัดสรรงบไทยเข้มแข็ง ยุครัฐบาลของนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะในครั้งนั้น มีเครื่องตรวจสารชีวเคมีในเลือด (Automate chemistry) รวมทั้งเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ รวมอยู่ด้วย

จากการตรวจสอบพบว่า โรงพยาบาลเกือบทั้งหมด
ไม่ได้ขอ และไม่มีความจำเป็นต้องจัดซื้อ ได้มาฟรีโดยไม่มี
เหตุผลอีกแล้ว

ในปัจจุบันก ารจัดซื้อเครื่องมือตรวจเลือด ตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการ ของเกือบทุกโรงพยาบาลนั้น จะไม่มีการซื้อเครื่องแล้ว
แต่จะทำสัญญากับบริษัท ขายวัสดุชันสูตร ให้มาวางเครื่องให้โรง
พยาบาลใช้ และรับดูแลบำรุงรักษา ให้โดยไม่คิดมูลค่า

แม้ว่าตัวเครื่องจะมีราคาเป็นล้าน และเมื่อมีเทคโนโลยี
ที่ทันสมัยกว่า บริษัทก็ดำเนินการเปลี่ยนเครื่องให้เอง โดย
โรงพยาบาล เพียงแต่ซื้อน้ำยาเคมี จากบริษัทผู้ขาย

หากเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ บริษัทฯ จะนำเครื่องมา
ให้บริการโดยคิดค่าบริการเป็นรายครั้ง โดยไม่ต้องซื้อทั้งเครื่อง
และน้ำยา ซึ่งถือเป็นการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

เป็นประโยชน์กับราชการมากที่สุด เช่นเดียวกับเครื่องคอม
พิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร หรือแม้แต่รถยนต์ของทางราชการ

เดี๋ยวนี้การบริหารจัดการในยุคใหม่ ต่างก็เลิกซื้อเองแล้ว
จะใช้วิธีการเช่าเครื่องซึ่งดีที่สุด

จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบข้อมูลจาก 4 โรงพยาบาล
ชุมชนในจังหวัดขอนแก่น ได้ให้ข้อมูลว่า ได้รับจัดสรรโดยมิได้
มีคำขอ โดยมีตัวแทนบริษัทไปติดต่อว่า จะมีสเปคจากส่วนกลาง
ลงมา ซึ่งพบว่าตรงกับของบริษัทตัวแทนนั้น

คือบริษัท Imed โรงพยาบาลชุมชนในอุบลราชธานี
มีตัวแทนบริษัทชื่อ Imed โทรศัพท์ไปติดต่อในลักษณะข่มขู่
ให้จัดทำสเปค ที่เอื้อต่อบริษัทของตนเอง

โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ข้อมูลว่า
มีบริษัทขายวัสดุ ชันสูตรไปติดต่อ แจ้งว่าสามารถจะช่วยให้
โรงพยาบาลได้ครุภัณฑ์การแพทย์ 2 รายการนี้

เพียงทำ คำขอเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วบริษัท
จะติดต่อขอการจัดสรรจากกระทรวงสาธารณสุขให้เอง

จากการตรวจสอบชื่อ ผู้ถือหุ้นของบริษัท Imed laboratory
จำกัด ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับครุภัณฑ์ 2 รายการนี้ พบรายชื่อผู้
ถือหุ้น รายหนึ่งเป็นเพื่อน ใกล้ชิดกับ นพ.สุชาติ เลาบริพัตร

ผู้อำนวยการสำนักบริหารสาธารณสุขภูมิภาค โดยเป็น
เพื่อนสนิท ร่วมรุ่นที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รุ่นที่ 91
ซึ่งประเด็นดังกล่าว ควรมีการสอบสวนข้อเท็จจริง เพิ่มเติม

และสืบต่อไปว่าใครที่อยู่เบื้องหลัง กรณีนี้ชัดเจนว่า
มีการจัดสรรให้เกินความจำเป็น คิดราคาซื้อเครื่อง ที่ยังไม่แน่ชัด
ในคุณภาพเครื่องละ 3,000,000 บาท ถึง 40 เครื่อง คิดเป็นมูลค่า
120 ล้านบาท

เช่นเดียวกับเครื่องนับเม็ดเลือด อัตโนมัติ ตรวจพบว่า
มีการจัดสรร 16 เครื่อง ราคาเครื่องละ 800,000 บาท คิดเป็น
มูลค่า 12.8 ล้านบาท รวม 2 รายการคิดเป็น 132.8 ล้านบาท

ซึ่งควรใช้วิธีการซื้อน้ำยา โดยให้บริษัท มาวางเครื่อง
เช่นที่เป็นอยู่โดยปกติ ดังนั้นชมรมแพทย์ชนบทจึงได้เสนอให้
ทบทวนตัดออกทั้งหมด หากพิจารณายกเลิกการจัดสรรทั้ง 2 ราย
การนี้ จะสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 132.8 ล้านบาท
เงินกู้ก้อนนี้ ช่วยคนจนได้อีกมาก ทีเดียว

เครื่องช่วยหายใจ มุ่งต่อลมหายใจใคร

เครื่องช่วยหายใจ (Respirator) เป็นครุภัณฑ์อีกชิ้น
ที่ส่งกลิ่นรุนแรง ไม่เฉพาะราคากลางที่สูงเกินจริง แต่ยังจัดสรร
ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ครุภัณฑ์ชิ้นนี้ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

ราคา ตามความแตกต่างเรื่องคุณสมบัติ
และความสามารถในการทำงาน คือ

ก. แบบมาตรฐานทั่วไป (Volume Respirator) กำหนดราคา
เครื่องละ 1,000,000 บาท
ข. แบบหย่าเครื่องอัตโนมัติ (Auto Weaning) กำหนดราคา
เครื่องละ 1,200,000 บาท
ค. แบบสามารถวัดความจุปอด (Vital Capacity) กำหนดราคา
เครื่องละ 1,500,000 บาท

เครื่องช่วยหายใจเหล่านี้ เป็นเครื่องช่วยหายใจที่มี
ระบบการทำงานยุ่งยาก ซับซ้อน ควรจัดสรรให้แก่ โรงพยาบาล
ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง คือ อายุรแพทย์ประจำ

และควรจัดสรรให้แบบมาตรฐานทั่วไปเท่านั้น
เครื่องช่วยหายใจแบบ ข. และ ค. มีความจำเป็นต้องใช้น้อย
มาก อาจชวนให้ตั้งคำถามได้ว่า “เป็นการส่อเจตนา เปิดช่องให้มีการแสวงหาผลประโยชน์หรือไม่”

ตัวอย่างของความไม่เหมาะสมเช่น โรงพยาบาล
สกลนคร ขอรับจัดสรรเครื่องช่วยหายใจ แบบมาตรฐานทั่ว
ไป 6 เครื่อง แต่ได้รับจัดสรร แบบสามารถวัดความ จุปอด
เครื่องละ 1.5 ล้านบาทแทน

และได้จัดสรรเพียง 3 เครื่องจากที่ขอไป 6 เครื่อง
เป็นเหตุให้ ไม่สามารถเปิด หออภิบาลผู้ป่วยหนัก หรือไอซียู.
(Intensive Care Unit -ICU) อีก 1 ห้องตามแผนได้

ยังมีโรงพยาบาลศูนย์ / ทั่วไปหลายแห่ง ที่ได้รับ
จัดสรรเครื่องช่วยหายใจแบบสามารถวัดความจุปอด ซึ่งน่า
จะเกินความจำเป็น เช่น โรงพยาบาลศูนย์สระบุรีได้ 8 เครื่อง

โรงพยาบาลศูนย์สงขลาได้ 9 เครื่อง
โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ได้ 10 เครื่อง
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ได้ 8 เครื่อง
โรงพยาบาลหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ได้ 9 เครื่อง

การจัดสรรเครื่องช่วยหายใจนี้ มีการจัดสรร ให้
โรงพยาบาลชุมชนด้วย โดยกระจุกตัว ในบางจังหวัด เช่น
รพ.ป่าโมก
รพ.โพธิ์ทอง
รพ.ไชโย จ. อ่างทอง
ได้รับจัดสรรแบบวัดความจุปอด แห่งละ 1 เครื่อง
และ รพ.กระบุรี ระนอง ได้รับจัดสรรแบบ หย่าเครื่องอัตโนมัติ
1 เครื่อง รพ.แสวงหา จ.อ่างทอง เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง

ไม่มีอายุรแพทย์ ประจำได้รับจัดสรร แบบมาตรฐานทั่วไป
และแบบสามารถวัดความจุปอด แบบละ 1 เครื่อง รวม 2 เครื่อง
ขณะที่ รพ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด
ใหญ่กว่า และมีอายุรแพทย์ประจำ ได้รับจัดสรรแบบมาตรฐานทั่วไป 1 เครื่อง รพ.สมเด็จพระยุพราชเชียงของ จ.เชียงราย ต้องการเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพราะมีปัญหาไฟฟ้าดับบ่อย แต่ได้เครื่องช่วยหายใจ
แบบหย่าเครื่องอัตโนมัติ 1 เครื่องแทน อันนี้จัดสรรตามใจใครไม่รู้

และจากการตรวจสอบราคา การจัดซื้อเครื่องช่วย
หายใจแบบมาตรฐานทั่วไป ปีงบ 2551–2552 ของโรงพยาบาล
ต่างๆ โดยใช้งบลงทุนหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า หรือเงินบำรุง
ของโรงพยาบาล จัดซื้อได้ในราคา 700,000 – 850,000 บาท

และที่กระทรวงสาธารณสุข จัดสรรให้แก่โรงพยาบาล
ศูนย์/ทั่วไป เพื่อเตรียมรับ การระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่
2009 จัดซื้อเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ก็มีราคาที่ 850,000
บาท แต่ราคาที่ตั้งไว้ในโครงการไทยเข้มแข็งสูงถึง 1 ล้านบาท
ทั้งที่เป็นช่วงเวลาเดียวกัน

เปรียบเทียบการตรวจสอบ ราคาการจัดซื้อ เครื่องช่วย
หายใจแบบมาตรฐานทั่วไป งบลงทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
700,000 - 850,000 บาท สธ.จัดสรรให้แก่รพ.ศูนย์/ทั่วไป 850,000
บาท โครงการไทยเข้มแข็ง 1 ล้านบาท

งบประมาณครุภัณฑ์รายการนี้ รวม 446.6 ล้านบาท
หากจัดซื้อตามที่จำเป็น และเหมาะสม คือ แบบมาตรฐาน
ทั่วไป ราคาเครื่องละ 850,000 บาท จะประหยัดเงินได้อย่างน้อย 195.75 ล้านบาท

สามารถนำไปจัดซื้อเครื่อง ช่วยหายใจแบบมาตรฐานทั่วไป
ให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ ได้อีกกว่า 200 เครื่อง ช่วยคนได้อีกตั้ง
200 คนต่อวันทีเดียว

เครื่องช่วยหายใจที่มีการจัดสรรครั้งนี้ จึงทำท่าจะไม่ได้
ต่อลมหายใจ ของผู้ป่วยเสียแล้ว น่าจะต่อลมหายใจ ของนักการ
เมืองเพื่อเตรียม กระสุนไปใช้ในการเลือกตั้งมากกว่า

เครื่องดมยาสลบ จัดให้ไปประดับเป็นอนุสาวรีย์
ปกติ เครื่องดมยาสลบที่ใช้ทั่วไป ราคาเครื่องละประมาณ 1 ล้าน
บาท ดังที่โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่

ได้เสนอขอเครื่องดมยาสลบ 3 เครื่อง ราคาเครื่องละ
1 ล้านบาท และโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ก็ได้รับจัดสรร
เพื่อพัฒนาศูนย์อุบัติเหตุ จำนวน 4 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1 ล้านบาท

แต่การจัดสรร งบประมาณในครั้งนี้ มีการจัดสรร
เครื่องดมยาสลบ ที่อาจเกินความจำเป็น อีก 2 แบบ ได้แก่
แบบมี BIS Monitor (Bi Spectral Index System)

คือ การวัดระดับความลึก ของการดมยาสลบ
จะมีประโยชน์ เฉพาะโรงพยาบาล ที่มีวิสัญญีแพทย์ ที่ยังไม่มี
ประสบการณ์ประจำ ราคาเครื่องสูงถึง 2 ล้านบาท

และเครื่องแบบมี Electronic Charting คือ เครื่องดม
ยาสลบที่มีซอฟท์แวร์ สามารถต่อแสดงการบันทึก การใช้ยา
ออกมายังจอคอมพิวเตอร์ ที่เหมาะกับการฝึก อบรมวิสัญญีแพทย์

และเพื่อการศึกษาวิจัย เครื่องนี้ตั้งราคาไว้
3 ล้านบาท ซึ่งโรงเรียนแพทย์ยังไม่ค่อยจะมีใช้เลย

ปรากฏว่า โรงพยาบาลชุมชน เกือบทั้งหมด
ไม่มีวิสัญญีแพทย์แต่ได้รับจัดสรรเครื่องแบบมี BIS Monitorเช่น

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.)ด่านซ้าย จ.เลย ,
รพร. หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์,
รพร.นครไทย จ.พิษณุโลก,
รพร.ยะหา จ.ยะลา ,
รพร.หลังสวน จ.ชุมพร ,
รพ.พาน จ.เชียงราย ,
รพ. ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ,
รพ.เกาะคา จ.ลำปาง
ที่น่าเกลียดกว่านั้น คือมีบางแห่ง ได้รับจัดสรรแบบมี
Electronic Charting ด้วย โดยไม่ได้ร้องขอ เช่น.

รพ. ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
รพ.พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี,
รพ.วารินชำราบ อุบลราชธานี ,
รพ. 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ มูลค่าครุภัณฑ์รายการนี้
รวม 198 ล้านบาท

หากทบทวนจัดสรร ให้เหมาะสมกับระดับ ความสามารถ
ของโรงพยาบาล และมีการกำหนดราคาอย่างเหมาะสม จะ
ประหยัดงบประมาณได้ไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท สามารถนำไป
จัดสรรเพิ่มได้อีกมากกว่า 30 เครื่อง

เครื่องพ่นยุง รอพ่นพิษ
เครื่องพ่นยุงแบบติดรถยนต์ มีการตั้งงบ ประมาณ
จัดซื้อครุภัณฑ์รายการนี้ ให้แก่จังหวัดต่างๆ ที่เป็นที่ตั้งของ
เขตตรวจราชการ 18 เขต 18 เครื่อง เครื่องละ 885,000 บาท

รวมมูลค่า 15,930,000 บาท พบความผิดปกติ
ที่น่าสนใจคือ ก่อนหน้านี้มีการเขียนโครงการเฝ้าระวังป้องกัน
ควบคุมโรคปวดข้อ (ชิกุนคุนยา) และโรคไข้เลือดออก

เพื่อให้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อครุภัณฑ์
รายการนี้ จากสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
ในลักษณะเร่งด่วนผิดปกติ โดยมีบันทึก เสนอเรื่องนี้ จากสำนัก
โรคติดต่อนำโดยแมลง ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อธิบดีกรมควบคุมโรค ลงนามบันทึกถึง ปลัดกระทรวง
สาธารณสุขวันเดียวกัน อะไรจะด่วนเพียงนี้ หรือมีใครสั่งการ
อยู่เบื้องหลัง สเปคของกรมควบคุมโรค เปิดให้ซื้อได้ทั้งแบบ
ใช้น้ำมันเบนซิน และแบบใช้แบตเตอรี่

ซึ่งชนิดแบตเตอรี่ มีข้อดีที่เงียบกว่า แต่มีข้อจำกัดที่ทำงาน
ได้เพียง3ชั่วโมง ไม่เหมาะกับการใช้งานในประเทศไทย ซึ่งควร
ใช้งานได้นานกว่า และเครื่องแบบแบตเตอรี่ ทำงานด้วยระบบ
อิเลกทรอนิกส์ เมื่อชำรุดหรือขัดข้อง จะเสียค่าใช้จ่าย
ในการซ่อมบำรุง สูงกว่า

แต่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต 4 ราชบุรี
ได้จัดซื้อแบบใช้แบตเตอรีในเดือนตุลาคม 2552 กำหนด
สเปคขึ้นมาใหม่อย่างผิดปกติ จำเพาะให้ใช้ได้เฉพาะแบตเตอรี
เท่านั้น โดยอ้างเหตุผลความจำเป็นเพื่อป้องกันควบคุมโรคในเขต
พระราชฐาน จัดซื้อได้ในราคาเต็มเพดานเครื่องละ 885,000 บาท
โดยบริษัท เคมฟลีท จำกัด เป็นผู้จำหน่าย

ในขณะที่ในปี 2552 นี้ สำนักงานป้องกัน ควบคุมโรค
เขตอื่น ต่างซื้อเครื่องเบนซิน ตามสเปคกรมควบคุมโรค ได้ใน
ราคาที่ถูกกว่า คือ เขต 11 นครศรีธรรมราช ซื้อได้ในราคา 780,000 บาท เขต 12 สงขลา ซื้อได้ในราคา 730,000 บาท และเขต 7 อุบลราชธานี ซื้อได้ในราคา 720,000 บาท

เปรียบราคาการจัดซื้อเครื่องพ่นยุงแบบติดรถยนต์
ของเขตตรวจราชการ
ประเภทเครื่องพ่นยุง เขตตรวจราชการ ราคาที่จัดซื้อได้
แบบแบตเตอรี่ 4 ราชบุรี 885,000 บาท
แบบเบนซิน 11 นครศรีธรรมราช 780,000 บาท
แบบเบนซิน 12 สงขลา 730,000 บาท
แบบเบนซิน 7 อุบลราชธานี 720,000 บาท

ที่น่าสนใจคือ นายสุทธิชัย ธรรมประมวล ที่ปรึกษา
คนขยันที่ไม่ได้รับเงินเดือนของ นายมานิตย์ นพอมรบดี
รัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงสาธารณสุข สส.ราชบุรี

พรรคภูมิใจไทย ได้ให้ข้อมูลกับกรรมการเมื่อ
15 ธันวาคม 2552 ยอมรับว่า รู้จัก และไปมาหาสู่กันเป็น
ประจำกับกรรมการคนสำคัญของบริษัท เคมฟลีท จำกัด

เพราะเป็นเพื่อน ร่วมรุ่นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ของ นายมานิต และนายสุทธิชัย ซึ่งการตั้ง ราคาเครื่องที่สูง
เกินจริงเครื่องละประมาณ 1 แสนบาท

กับการไปมาหาสู่เป็นประจำนี้ คงต้องให้ทาง ปปช.
ได้สอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อให้เกิดความกระจ่างต่อไป
ก็คงต้องช่วยกันให้ข้อมูล เพื่อให้เครื่องพ่นยุง พ่นพิษ ให้คน
โกงแผ่นดินต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย

อีกหลายครุภัณฑ์ ล้วนส่อเจตนาทุจริต
เครื่องควบคุมการทำงานของหัวใจ (Central Monitor)
ที่ใช้ในแผนกไอซียู พบว่าครุภัณฑ์นี้ มีรายการหลายลักษณะ

มีการจัดสรร ครุภัณฑ์รายการนี้ ให้หลายโรงพยาบาล
แตกต่างกันไป มีการกำหนด ราคาบางรายการสูงเกินไป มีการ
ตั้งงบประมาณที่แตกต่างกันมาก ระหว่าง 4 - 10 ล้านบาท

เช่น ที่โรงพยาบาลสิรินธร ขอนแก่น ได้รับจัดสรร
เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสัญญาณชีพแบบศูนย์รวม
(สำหรับ 6 เตียง) ราคา 4 ล้านบาท

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้จัดซื้อเอง ในปีงบประมาณ
2551 ได้ในราคา 3. 967 ล้านบาท (สำหรับ 12 เตียง)

คือราคาประมาณกันที่ 4 ล้านบาท แต่สามารถ
ซื้อได้สำหรับ 12 เตียง นอกจากราคา แต่ละระบบจะสูงเกิน
จริงอย่างมากแล้ว ยังมีการระบุข้อความว่า “เชื่อมต่อระบบเดิมได้”

นั้น เห็นว่า เป็นการเอื้อต่อผู้ขาย ครุภัณฑ์ยี่ห้อเดิม
ที่โรงพยาบาลมีใช้อยู่แล้ว ซึ่งครองตลาดปัจจุบันอยู่ถึง 90%
และทำให้ราคาสูงขึ้น ครุภัณฑ์หมวดนี้มีมูลค่า 404.25 ล้านบาท

หากทบทวน ให้เหมาะสมจะประหยัดงบประมาณ
ได้ไม่ต่ำกว่า 65 ล้านบาท เครื่องเอ็กซเรย์เต้านม (Mammogram)
มี 2 แบบ คือ แบบใช้ฟิล์ม (Film Mammogram) และแบบดิจิตัล (Digital Mammogram) เ

ครื่องมือดังกล่าวนี้ โรงพยาบาล ที่ได้รับจะต้องมี
ทั้งรังสีแพทย์และศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงจะสามารถใช้
ประโยชน์ได้คุ้มค่า

ในด้านราคา เครื่องแบบดิจิตัลแพงกว่าแบบฟิล์มมาก
โดยมีปากคำแจ้งว่า นพ.สุชาติ เลาบริพัตร เป็นผู้สั่งการให้
เจ้าหน้าที่คนหนึ่ง โทรศัพท์สอบถามโรงพยาบาลต่างๆ ว่าต้องการครุภัณฑ์ การแพทย์รายการนี้หรือไม่

ประดุจเป็นการทำ ตลาดเพิ่มความต้องการ แบบไม่จำเป็น
ในที่สุดเครื่องแบบฟิล์ม ซึ่งจัดสรรให้แก่โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป
และโรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน ซึ่งเป็นโรงพยาบาล
ชุมชน รวม 21 เครื่อง เครื่องละ 5 ล้านบาท เป็นเงินรวม 105 ล้านบาท ส่วนเครื่องแบบดิจิตัลรวม 17 เครื่อง จัดสรรให้แก่โรงพยาบาล 5 ต่างๆ ในราคาแตกต่างกันมาก โดยมี รพ. 5 แห่งที่จัดสรรงบตั้งแต่ 16 ล้านถึง 28 ล้านบาท เป็นเงินรวม 277 ล้าน

ทั้งที่น่าจะตั้งราคาเดียวกัน งบประมาณรายการนี้
หากมีการทบทวนโดยมีการประเมินเทคโนโลยีอย่างรอบ
คอบอาจประหยัดเงินได้ถึง 30 ล้านบาท

เครื่องสลายนิ่ว
เป็นเครื่องมือ ที่มีลักษณะคล้ายคลึง กับเครื่องตรวจสาร
ชีวเคมีในเลือด และเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ และ
คล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งไม่สมควรจัดซื้อ แต่ควรใช้ ระบบเช่า
และคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้งของการให้บริการแทน

จากการตรวจสอบการจัดสรรครุภัณฑ์รายการนี้
มีการตั้งงบให้แก่โรงพยาบาล 3 แห่ง ในราคาแตกต่างกันมาก
คือ รพ. มหาราชนครศรีธรรมราช และรพ.นราธิวาสราชนครินทร์
เครื่องละ 15 ล้านบาท รพ. มหาสารคาม กลับตั้งราคาเพียง 3.5 ล้านบาท รวม 33.5ล้านบาท ซึ่งงบประมาณรายการนี้ สามารถตัดได้ทั้ง
หมด ไปใช้ระบบเช่าเครื่องแทน

รถยนต์ปิคอัพ
มีการจัดสรร รถแบบ ดับเบิลแค็บขนาด 1 ตัน
ขับเคลื่อน 2 ล้อ สำหรับสำนักงาน สาธารณสุขอำเภอ
และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั่วประเทศรวม 320 คัน

ตั้งราคาไว้คันละ 780,000 บาท แต่จากการสอบ
ถามราคา จากบริษัทใหญ่ ซึ่งครองตลาดมากที่สุด พบว่าราคา
รุ่น top ไม่เกินคันละ 680,000 บาทเท่านั้น

จึงเป็นการตั้งราคาสูงเกินสมควรคันละ 1 แสนบาท
และหากเทียบราคากลาง ของสำนักงบประมาณ ที่ตั้งไว้เมื่อปี
2552 ราคา 618,000 บาท จะแพงเกินสมควรคันละ 172,000 บาท

รวมงบที่สูงเกินสมควร 55.04 ล้านบาท นอกจากนี้
ยังมีการจัดสรรงบซื้อรถปิคอัพแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ อีก 42คัน
คันละ 900,900 บาท ซึ่งสูงเกินสมควรคันละ 1แสนบาทเช่นกัน
รวมเป็นเงิน ที่สูงเกินสมควร 4.2 ล้านบาท

รวมรายการ ครุภัณฑ์ ยานพานะ ตั้งงบสูงเกินจริง
รวม 59.04 ล้านบาท งานนี้เข้ากระเป๋าใคร?

ยูนิต ทันตกรรมของสถาบัน พระบรมราชชนก มีการจัดสรร
จำนวน 400 ยูนิต แก่วิทยาลัยการสาธารณสุข 7 แห่ง สำหรับเป็น
อุปกรณ์ การเรียนการสอน ในการผลิตทันตาภิบาล หลักสูตร 2 ปี

ราคายูนิตละ 600,000 บาท เป็นงบประมาณ
240 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบ กับที่จัดสรรให้ สถาบัน
ทันตกรรม กรมการแพทย์ เพื่อรองรับการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
ด้านทันตกรรม ให้ได้มาตรฐาน HA จำนวน 15 ยูนิต ราคายูนิตละ
415,000 บาท เป็นเงินรวม 6,150,000 บาท

ดังนั้นราคาของสถาบันพระบรมราชชนก
จึงแพงกว่า 185,000 บาทต่อยูนิต รวมแล้วแพงกว่า 74ล้านบาท

งานนี้ทำไมรายการต่างๆ ล้วนมีการตั้งงบประมาณ
ที่สูงขึ้นอย่างน่าเกลียด ทำให้อธิบายภาพได้ว่า ส่อเค้าเตรียม
ทุจริตตั้งแต่ ระดับต้นน้ำ เลยทีเดียว

ใครควร รับผิดชอบต่อการเตรียมการทุจริต
ซื้อของแพง ด้วยเงินกู้ไ "ทยเข้มแข็ง" ในครั้งนั้น

ทุจริตเครื่องมือแพทย์ ทำสุขภาพคนไทยไม่เข้มแข็ง
ตามรายละเอียดข้างต้น คณะกรรมการสอบสวน มีความเห็นว่า

การลงทุนในเครื่องมือแพทย์ ราคาแพงเกินจำเป็น
เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และไม่ส่งเสริม ให้เกิดความเข้มแข็งแก่
ระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ

การจัดสรรครุภัณฑ์การแพทย์บางรายการ
คือ เครื่องตรวจสารชีวเคมีในเลือด, เครื่องตรวจนับเม็ด
เลือดอัตโนมัติ และเครื่องสลายนิ่ว เป็นการจัดสรรโดยไม่สุจริต

การจัดสรรเครื่องควบคุม การทำงานของหัวใจกลาง
เป็นการจัดสรรโดยทุจริต เพราะมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็น
การล็อคสเปค และการตั้งราคาสูงเกินสมควร เป็นการเปิดช่อง
ทางให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

ข้อเสนอของคณะกรรมการ คือ
1. ควรทบทวน การจัดทำคำ ของบประมาณครุภัณฑ์
การแพทย์ในประเด็นต่างๆ กล่าวคือ ให้มีเหตุผลความจำเป็น
ของเครื่องมือ ที่สอดคล้องกับความสามารถ ในการใช้ประโยชน์
ของโรงพยาบาลในระดับต่างๆ

ไม่ควรจัดสรรเครื่องมือ ที่มีเทคโนโลยีสูงเกินความจำเป็น
เพราะจะใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ และราคาแพงเกินเหตุ โดยการ
กระจายให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น
ในปัจจุบัน และเพื่อรองรับ การขยายงาน ในอนาคต

ที่ไม่ยาวไกลเกินไป มีการพิจารณาราคาอย่างเหมาะสม
ตัดข้อความที่เข้าข่ายล็อคสเปคออกทั้งหมด

2. ตัดงบประมาณ ในส่วนของเทคโนโลยี ราคาแพงเกิน
ความจำเป็น และนำงบประมาณส่วนที่ปรับลดลงได้ ไปเพิ่ม
ให้แก่การลงทุนในระดับทุติยภูมิและปฐมภูมิแทน

3. ดำเนินการทางวินัย แพ่ง และอาญาแก่ผู้เกี่ยวข้อง
ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ทั้งที่ยังรับราชการอยู่
และที่ออกจากราชการไปแล้ว

สำหรับฝ่ายการเมือง ควรพิจารณาดำเนินกา
รตามกฎเหล็ก 9 ข้อ ของนายกรัฐมนตรีด้วย

4. กระทรวงสาธารณสุขควรจัดตั้งหน่วยงาน ประเมิน
เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Office of Medical Technology Assessment) ที่สามารถ ทำงานบนพื้นฐาน ของหลักการ

และหลักวิชาการที่ถูกต้อง เชื่อถือ และไว้วางใจได้
เพื่อให้สามารถกลั่นกรอง ให้ได้เทคโนโลยีการแพทย์ แต่ละ
ชนิดที่ปลอดภัย ได้ผล และคุ้มค่าอย่างแท้จริง ไม่เกิดความ
ฟุ่มเฟือยหรือตกเป็นทาสเทคโนโลยี

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

กบฏไพร่ กบฏผีบุญ กบฏชาวนาก่อนยุคประชาธิปไตย

กบฏผู้มีบุญหรือขบถผีบุญ หรือกบฏผีบ้าผีบุญตามที่รัฐนิยามให้ ที่เกิดขึ้นในระหว่าง พ.ศ.2443-2446 หรือในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย และไม่ค่อยมีใครจะกล่าวถึงกันมากนักในปัจจุบัน

เพราะด้วยความพยายามของผู้ปกครองที่จะสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชของสยามประเทศหรือที่รู้จักกันในนามของ “การปฏิรูปจักรี” โดยใช้มาตรฐานทางการเมืองการปกครองแบบแผนเดียวกันตลอดอาณาเขต ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นในสังคมภาคต่างๆ ที่อยู่ภายใต้อำนาจการปกครอง ยกเว้นภาคกลาง ซึ่งเป็นศูนย์รวมอำนาจ เพราะการปฏิรูปดังกล่าวก่อให้เกิดความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเศรษฐกิจในภาคกลาง ที่เห็นได้ชัดก็คือการที่ชาวนาภาคกลาง ได้พ้นจากสภาพการเป็นไพร่ทาสของขุนนางศักดินาต่างๆ แล้วหันมาผลิตข้าวเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในเขตเพาะปลูกใหม่ที่ได้บุกเบิกขึ้นสำหรับปลูกข้าวเพื่อส่งออกโดยเฉพาะ เช่น เขตรังสิตและมีนบุรี ผลที่ตามมาก็คือชาวนาในภาคกลางได้เปลี่ยนวิถีชีวิตตนเองจากสังคมจารีตสมัยเก่าเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ และเปลี่ยนจากการผลิตแบบยังชีพเข้าสู่การผลิตเพื่อขายในระบบทุนนิยม

ส่วนการปฏิรูปจักรีนั้นยังส่งผลต่อการปฎิรูประบบภาษีเพื่อสร้างรายได้แก่รัฐ โดยการจัดเก็บในรูปแบบของภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้วรวบรวมเข้าสู่ส่วนกลางคือกระทรวงพระคลังโดยผ่านกลไกของระบอบเทศาภิบาล แทนการเก็บเงินค่าราชการแบบเดิมซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของระบอบกษัตริย์นั้นจะใช้การเกณฑ์แรงงานและการส่งส่วยแบบในอดีต การเปลี่ยนแปลงนี้มีสาเหตุมาจากเมื่อมีการปลดปล่อยทาสไพร่เพื่อไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ และประกอบกับรัฐบาลเองก็ต้องการเงินมากกว่าแรงงาน การเก็บเงินค่าราชการก็ได้เริ่มขึ้น โดยเริ่มต้นจากการเร่งรัดเงินส่วยจากมูลนายที่มีหน้าที่ในการรวบรวมเงินส่วยหรือเงินค่าราชการ เมื่อไม่มีเงินจ่าย มูลนายต้องคืนไพร่สมให้หลวงหมด (ไพร่สม เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านาย และขุนนางที่มีตำแหน่งทางราชการ ไพร่สมจะตกเป็นของมูลนาย ตราบเท่าที่ขุนนางผู้เป็นมูลนายยังมีชีวิตอยู่ในตำแหน่งราชการ เมื่อมูลนายถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรของขุนนางผู้นั้นจะยื่นคำร้องขอควบคุมไพร่สมต่อไปจากบิดา) นโยบายนี้ได้สร้างความเดือดร้อนให้พลเมืองระดับชาวบ้านเป็นอย่างมาก เพราะพวกมูลนายไปเร่งรัดเอาเงินซึ่งเก็บมากบ้าง น้อยบ้าง ไม่เสมอกัน ในปี ร.ศ.115 (พ.ศ.2439) รัฐบาลจึงออกกฎให้ทุกคนเสียค่าราชการคนละ 6 บาท เป็นมาตรฐานแต่นั้นมา

ข้อที่น่าสังเกตก็คือ มาตรฐานดังกล่าวข้างต้นถูกกำหนดขึ้นมาจากมาตรฐานเศรษฐกิจของภาคกลาง ซึ่งได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเงินตราแล้วอย่างชัดเจน และได้เริ่มมีการเรียกเก็บภาษีจากประชาชน ซึ่งรัฐบาลมีคำสั่งให้ข้าหลวงต่างพระองค์เข้าจัดระบบภาษีทั้งหมด ตัวอย่างเช่นในปี ร.ศ.118 (พ.ศ. 2442) พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอิสาน (ข้าหลวงใหญ่เมืองอุบลราชธานีระหว่าง ร.ศ.112-130 / พ.ศ.2435-พ.ศ.2453) ประกาศให้เก็บค่ารัชชูปการชายฉกรรจ์ผู้มีอายุระหว่าง 18-60 ปี คนละ 3.50 บาท ยกเว้นคนพิการ ข้าราชการ เจ้านายระดับท้องถิ่นและครอบครัว ชาวต่างชาติ นักบวชและพระ ช่างผีมือและเศรษฐี
ในปี ร.ศ.120- ร.ศ.121 (พ.ศ.2444- พ.ศ.2445) เงินค่ารัชชูปการเพิ่มขึ้นเป็น 4 บาทต่อคน นอกจากนี้ภาษีผลผลิตก็ยังเพิ่มขึ้นด้วย การปรับปรุงภาษีและระบบภาษีนี้เพิ่มภาระให้กับชาวนาชาวไร่อย่างมาก และนอกจากนี้ข้าหลวงสยามยังมีคำสั่งให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นอีก อันมีผลโดยตรงต่อชาวนา ตัวอย่างเช่น ในปีพ.ศ. 2442 กรมหลวงสรรพสิทธิฯ กำหนดว่าการค้าขายสัตว์ใหญ่ ต้องกระทำต่อหน้าข้าราชการ โดยผิวเผินข้อกำหนดนี้ดูเหมือนเพื่อลดการลักขโมย แท้จริงแล้วเป็นการเปิดโอกาสให้ข้าราชประจำถิ่นมีส่วนในการกำหนดราคาซื้อขายควาย ปศุสัตว์ ม้าและช้าง ฯลฯ กรมหลวงสรรพสิทธิฯ ยังพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมพื้นเมืองต่างๆ เช่น การสักยันต์ตามร่างกาย ซึ่งคนไทยมองว่าเป็นสิ่งป่าเถื่อน แต่คนพื้นเมืองมองว่าเพื่อป้องโรคภัย ไข้เจ็บ และผีสางต่างๆ

แม้กระนั้นก็ตาม ในช่วงที่รัฐสยามกำลังเปลี่ยนแปลงโดยรวม แต่สังคมอิสานนั้นก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ-การเมือง ที่เกิดขึ้นของรัฐสยามมากนัก ซึ่งก็ยังคงเป็นลักษณะสังคมแบบจารีตประเพณี และยังเป็นสังคมแบบเลี้ยงตนเอง พึ่งตนเอง และสิ่งที่หมู่บ้านในสังคมอิสานได้รับผลกระทบในระยะแรก คือการเกิดขึ้นของโรงสี พ่อค้าชาวจีน การขยายตัวของระบบเงินตราและมีการเปลี่ยนแปลงทางเครื่องมือการผลิตบ้างเพียงเล็กน้อย

กระทั่งในปีชวด ร.ศ.119 (พ.ศ.2443) ปรากฏว่ามีลายแทงหนังสือจานใบลานเป็นคำพยากรณ์ว่าเมื่อถึงกลางเดือนหกปีฉลู ร.ศ.120 (พ.ศ.2444) จะเกิดเหตุเภทภัยใหญ่หลวง หินแฮ่ (หินลูกรัง) จะกลายเป็นทอง จึงได้มีชาวบ้านไปเอาหินแฮ่มาบูชา โดยใส่หม้อ ใส่ไหปิดฝาไว้ แล้วเอามาตั้งทำพิธีสู่ขวัญบายศรี คำพยากรณ์นั้นยังมีรายละเอียดอีกว่าถ้าใครอยากพ้นเหตุเภทภัยก็ให้บอกหรือคัดลายแทงให้รู้กันต่อๆ ไป หรือถ้าใครเป็นคนบริสุทธิ์ไม่ได้กระทำซึ่งบาปกรรมใดๆ แล้ว (หรือใครก็ตามที่อยากรวย) ให้เอาหินแฮ่เก็บมารวมกันไว้ รอท้าวธรรมิกราชจะมาชุบเป็นเงินเป็นทอง ถ้าใครกระทำชั่วต่างๆ แต่เพื่อให้ตนเป็นคนบริสุทธิ์ก็ต้องทำพิธีตัดกรรมวางเวร โดยนิมนต์พระสงฆ์มารดน้ำมนต์ให้ ถ้ากลัวตายก็ให้ฆ่าควายทุยเผือกและหมูเสียก่อนกลางเดือนหก เพราะมันจะกลายเป็นยักษ์ขึ้นมาจับกินคน ส่วนผู้หญิงที่เป็นสาวหรือไม่สาวแต่ยังโสดก็ให้รีบมีสามี มิฉะนั้นยักษ์จะจับกินหมด และรากไม้ที่อยู่ตามฝั่งน้ำ ซึ่งเป็นฝอยเล็กละเอียด รวมถึงฟักเขียว ดอกจาน (ทองกวาง) ของสามอย่างนี้จะกลายเป็นของมีประโยชน์ คือรากไม้จะกลายเป็นไหม ฟักเขียวจะกลายเป็นช้าง ดอกจานจะกลายเป็นครั่งสำหรับใช้ย้อมไหม และในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2444 นั้น จะเกิดลมพายุจัดจนพัดคนปลิวไปกับสายลม และจะมืดถึง 7 วัน7 คืน ให้นำลิ้นฟ้า (ไม้เพกา) มาไว้สำหรับจุดไฟอาศัยแสงสว่างในเวลามืด และให้ปลูกตะไคร้ที่กระได (บันไดบ้าน) เวลาพายุมาให้เหนี่ยวตะไคร้ไว้ จะได้ไม่ปลิวไปตามลม เงินต่างๆ ที่มีก็จะกลายเป็นเหล็ก พวกราษฎร์เวลานั้นก็ได้พากันหวาดหวั่นเล่าลือกันแพร่หลายไปทั่วหัวเมืองมลฑลอิสาน ส่วนฝ่ายเจ้าหน้าที่ ที่ปกครองหัวเมืองต่างๆ นั้น เห็นว่าเป็นคำของคนโง่เขลาเล่าลือกันไปสักพักหนึ่งก็คงจะเงียบหายไปเอง จึงไม่ได้ใส่ใจอะไรมากมายนัก

พอตกถึงปลายปี ร.ศ.119 (พ.ศ.2443) ก็ปรากฏว่าที่เมืองเสลภูมิ ได้มีราษฎร์หัวเมืองต่างๆ ไปเก็บหินแฮ่ทางตะวันตกเมืองเสลภูมิ ซึ่งชาวบ้านได้เรียกที่ตรงนี้ต่อๆ กันมาว่า “หัวโล่เมืองเสล” (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด) ส่วนข่าวลายแทงว่าท้าวธรรมิกราชหรือผู้มีบุญจะลงมาโปรดโลกทางด้านอื่นๆนั้น หาได้ยุติลงแม้แต่น้อย ยิ่งแพร่หลายไปทั่วมณฑลอุดร เมืองหล่ม เมืองเลย และทางมณฑลนครราชสีมา ตลอดจนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในบำรุงฝรั่งเศส ชาวบ้านเชื่อถือคำทำนายนี้มากเพราะว่าหากเป็นจริงก็หมายถึงชาวบ้านจะมีความสมบูรณ์พูนสุข อยู่ดีกินดีทั้งทางวัตถุและจิตใจโดยทันทีด้วยอิทธิฤทธิ์ ของผู้มีบุญ

ขณะเดียวกันก็เกิดมีผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้มีบุญขึ้นตามหมู่บ้านต่างๆ ทั่วทั้งภาคอิสาน คือที่กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี และอุบลราชธานี ชาวบ้านจำนวนมากเชื่อถือผู้มีบุญ และผู้มีบุญเหล่านี้มักมีพฤติกรรมคล้ายๆ กันคือ อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ จุติมาจากสวรรค์เพื่อมาบอกธรรมแก่ชาวบ้านให้ถือศีล กินถั่วกินงา ตัวผู้มีบุญมักแต่งตัวประหลาดๆ เช่น นุ่งขาวห่มขาว ถือเทียนและดอกไม้ทำน้ำมนต์ และทำพิธีตัดกรรมวางเวร หลายคนอ้างตัวว่าเป็นพระยาธรรมิกราช หรือพระศรีอาริยเมตไตรย ลงมาโปรดโลกมนุษย์ ทุกคนจะได้รับการช่วยเหลือให้รอดพ้นสมบูรณ์พูนสุขพร้อมกันทั้งสังคม ไม่ใช่การรอดพ้นทุกข์แบบตัวใครตัวมัน และบ้านเมืองก็จะ “ไม่มีเจ้ามีนาย ใบไม้จะกลายเป็นเงินเป็นทอง แผ่นดินเป็นตาผ้า แผ่นฟ้าเป็นใยแมงมุม”

ในที่นี้ผู้เขียนขออนุญาตกล่าวถึงเรื่องราวรายละเอียดเฉพาะกลุ่มเจ้าผู้มีบุญที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือกลุ่มขององค์มั่นหรือมาน บ้านสะพือใหญ่ เมืองอุบลราชธานี (จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน)

ครั้นเมื่อถึงปลายปีร.ศ.119 (พ.ศ.2443) มีนายมั่น ว่าเป็นคนมีภูมิลำเนาอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือเมืองสุวรรณเขต ซึ่งมีสายสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นลูกน้องขององค์แก้วหรือบักมี ซึ่งเป็นเจ้าผู้มีบุญที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเขตลาวฝั่งซ้าย เล่าลือกันว่าเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ ชี้ไม้ชี้มือทำอะไรสิ่งไหนเป็นสิ่งนั้น และได้ตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าปราสาททองหรือพญาธรรมิกราช อ้างตัวว่าจุติมาจากสวรรค์เพื่อลงมาโปรดมวลมนุษย์ และมีองค์ต่างๆ เป็นลูกน้องหรือบริวารในระดับรองลงมาอีกหลายคน เช่นองค์เขียว องค์ลิ้นก่าน องค์ที องค์พระบาท องค์พระเมตไตรย และองค์เหลือง พวกองค์เหล่านี้แต่งตัวนุ่งผ้าจีบแบบบวชนาคสีต่างๆ กัน คือ สีแดง สีเขียวเข้ม และสีเหลืองอย่างจีวรของพระ แล้วก็มีปลอกใบลานเป็นคาถาสวมศีรษะทุกคน องค์มั่นได้พาพวกองค์บริวารเดินทางไปในท้องที่ต่างๆ และชักชวนชาวบ้านให้เข้าร่วมด้วย โดยเริ่มจากร่วมมือกับองค์ฟ้าลั่นหรือหลวงวิชา (บรรดาศักดิ์ประทวน) แพทย์ประจำตำบลซึ่งเป็นหมอพื้นเมืองของเมืองตระการพืชผล (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี) โดยองค์มั่นตั้งให้เป็นหัวหน้ายามรักษาการณ์และคอยเสกคาถาอาคมให้กับชาวบ้าน จากนั้นได้ไปซ่องสุมเกลี้ยกล่อมผู้คนเมืองโขงเจียมและบ้านนาโพธิ์ ตำบลหนามแท่น แล้วก็ป่าวร้องกับราษฎรว่า “จะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นดังคำพยากรณ์ให้พากันระวังตัว” ฝ่ายราษฎรหวาดหวั่นกันอยู่แล้ว ครั้นเห็นคนจำศีลแปลกหน้ามาก็สำคัญว่าเป็นผู้มีบุญและพากันเข้าไปขอให้ช่วยป้องกันภัยพิบัติ มีชาวบ้านเข้าร่วมด้วยประมาณ 200 คนเศษ จากนั้นก็เข้าไปเกลี้ยกล่อมผู้คนที่เมืองเขมราช

เวลานั้นได้มี พระเขมรัฐเดชประชารักษ์ ผู้รักษาเมืองเขมราช และท้าวกุลบุตรผู้ช่วยกับท้าวโพธิ์สาร กรมการเมือง ต่อต้านขับไล่ไม่ให้ราษฎร์นับถือเข้าเป็นพรรคพวกด้วย เลยเกิดการปะทะกันขึ้น ทำให้ท้าวกุลบุตรกับท้าวโพธิ์สารเสียชีวิต ส่วนพระเขมรัฐเดชประชารักษ์ ฝ่ายพวกผู้มีบุญมิได้ทำร้าย เพียงแต่จับขึ้นแคร่หามเป็นตัวประกัน แห่ไปให้เกลี้ยกล่อมราษฎรให้มาเข้าเป็นพวก และได้ไปตั้งมั่นที่บ้านสะพือใหญ่ มีชาวบ้านนับถือและเข้าร่วมประมาณ 1,000 คน องค์มั่นผู้มีบุญก็สั่งให้ช่วยกันเกณฑ์ปืนแก๊ป ปืนคาบศิลา มีดพร้า ตลอดจนเสบียงอาหาร ข้าว เกลือ พริกต่างๆ เท่ามี และให้ตากข้าวเหนียวสุกยัดใส่ถุงผูกรอบเอว เตรียมจะไปตีเอาเมืองอุบลราชธานี ฝ่ายทางเมืองอุบลราชธานี ขณะที่องค์มั่นผู้มีบุญตั้งพิธีการอยู่บ้านสะพือใหญ่นั้น ข้าหลวงต่างพระองค์ฯ เมื่อทราบข่าวก็ได้สั่งให้นายร้อยเอกหม่อมราชวงศ์ร่าย (เป็นทหารกองหนุนเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายพลเมืองอยู่กับข้าหลวงต่างพระองค์ฯที่เมืองอุบล) ไปสืบลาดเลาดู พอไปถึงบ้านนาสมัย ที่อยู่ระหว่างบ้านนาหลักกับบ้านห้วย ทางแยกไปอำเภอพนานิคม ก็พบกับพวกผู้มีบุญซึ่งได้ออกมาสืบลู่ทางเพื่อจะไปเมืองอุบลฯ เลยเกิดการปะทะกันขึ้น
ฝ่ายหม่อมราชวงศ์ร่ายมีกำลังน้อยกว่าก็เลยรีบถอยกลับไปเมืองอุบลฯ กราบทูลข้าหลวงต่างพระองค์ฯ ตามที่ได้ไปสืบรู้และเห็นมา พวกผู้มีบุญก็ได้ชื่อว่าเป็น“กบฏต่อแผ่นดิน”นับจากนั้น ข้าหลวงต่างพระองค์ฯ เมื่อทราบข่าว จึงมีคำสั่งให้นายพันตรีหลวงสรกิจพิศาล ผู้บังคับการกองพันทหารราบเมืองอุบลฯ จัดทหารออกไปสืบข้อเท็จจริงอีกครั้ง ถ้ามีผู้ใดคิดการร้ายต่อแผ่นดินก็ให้ปราบและจับตัวมาสอบสวนลงโทษให้ได้ นายพันตรีหลวงสรกิจพิศาลจึงมีคำสั่งให้นายร้อยตรีหรี่กับพลทหาร 12 คนพร้อมอาวุธปืนยาวครบมือ ออกไปสืบดูเหตุการณ์ เมื่อไปถึงบ้านขุหลุ ก็พบพวกกบฏผู้มีบุญ และเห็นว่ามีกำลังสู้กบฏผู้มีบุญไม่ได้ จึงจะไปหากำลังเพิ่มเติมจากบ้านเกษม แต่ก็ได้เกิดการต่อสู้ตะลุมบอนกันขึ้นที่บริเวณ “หนองขุหลุ” และได้เหลือเพียงพลทหารชื่อป้อมรอดกลับมาเพียงคนเดียว และได้นำความเข้ากราบทูลข้าหลวงต่างพระองค์ฯ โดยทันที ฝ่ายกบฏผู้มีบุญเมื่อชนะทหารคราวนี้ ก็ได้มีชาวบ้านมาสมัครเข้าเป็นพรรคพวกด้วยราว 1,500 คน ข้าหลวงต่างพระองค์ฯ เมื่อทราบความก็ได้ตรัสว่า “ไอ้การใช้เด็กหนุ่ม มันกล้าเกินไป หุนหันพลันแล่น ขาดความพินิจพิเคราะห์ เสียงานดังนี้” จึงทรงสั่งให้หลวงสรกิจพิศาลมีคำสั่งไปถึงนายร้อยเอกชิตสรการผู้บังคับการกองทหารปืนใหญ่ให้นำนายสิบพลทหารประมาณ 100 คนเศษ มีปืนใหญ่ 2 กระบอก และปืนยาวเล็กครบมือ ออกไปปราบพวกกบฏผู้มีบุญให้จงได้ และได้ทรงสั่งให้พระอุบลการประชานิตย์ ข้าหลวงบริเวณเมืองอุบลฯ กับพระอุบลศักดิ์ประชาบาล (ผู้รักษา-การเมืองอุบลฯ ) เกณฑ์กำลังชาวบ้านสมทบกับทหาร และสั่งให้เคลื่อนขบวนกำลังออกไปปราบเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2444 และพอวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2444 ก็ได้พักพลอยู่ห่างจากหมู่บ้านและค่ายของกบฏผู้มีบุญราว 50 เส้น (1 กิโลเมตร)

นายร้อยเอกหลวงชิตสรการ (ผู้บังคับบัญชาไพร่พล) ได้สั่งให้แบ่งทหารออกเป็นปีกซ้าย ปีกขวา และให้เข้าโอบล้อมพร้อมกันเมื่อได้ยินเสียงปืนใหญ่เป็นนัดแรก นายร้อยหลวงเอกชิตสรการเลือกได้ชัยภูมิที่ดี เป็นสายทางย่านตรงที่จะไปยังเมืองอุบลฯ และเป็นทางแคบ สองข้างทางเป็นป่าทึบเหมาะสำหรับตั้งดักซุ้มทหารไว้ในป่า ตรงหัวโค้งเลี้ยว และตั้งปืนใหญ่ไว้ใต้พุ่มไม้ เมื่อพวกกบฏผู้มีบุญมาถึงตรงช่องนั้นก็ให้ยิงปืนใหญ่เข้าใส่

ครั้นรุ่งขึ้นของวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2444 เวลาประมาณ 09.00 น. พวกกบฏผู้มีบุญก็ได้ยกกำลังจะไปตีเมืองอุบลฯ และผ่านตามทางที่ร้อยเอกหลวงชิตสรการซุ่มปืนใหญ่ และดักกองทหารพรางไว้ จากนั้นก็ได้สั่งให้ทหารปืนเล็กยาวออกขยายแถว ยิงต้านไว้แล้วทำเป็นถอยล่อให้พวกกบฏผู้มีบุญตามมายังชัยภูมิที่ตั้งไว้ พอเข้าระยะวิถีกระสุนปืนใหญ่ ก็สั่งให้ยิงออกไปนัดหนึ่ง โดยตั้งศูนย์ให้ข้ามพวกกบฏผู้มีบุญไปก่อนเพื่อเป็นสัญญาณให้ปีกซ้ายปีกขวารู้ตัว ฝ่ายกบฏผู้มีบุญเห็นกระสุนปืนใหญ่ไม่ถูกพวกตนก็โห่ร้อง ซ่า ซ่า และวิ่งกรูเข้าต่อสู้กับฝ่ายทหาร หลวงชิตสรการจึงสั่งให้ยิงออกไปอีกเป็นนัดที่ 2 เล็งกระสุนปืนใหญ่กะให้ตกระหว่างกลางพวกกบฏผู้มีบุญ คราวนี้กระสุนปืนใหญ่ระเบิดลงถูกฝ่ายกบฏผู้มีบุญล้มตายหัวเด็ดตีนขาดระเนระนาด ส่วนพวกทหารปืนเล็กสั้นยาว ปีกซ้ายปีกขาว ก็ระดมยิงโห่ร้องซ้ำเติมเข้าไปอีก ฝ่ายกบฏผู้มีบุญที่อยู่ข้างหลังเห็นดังนั้นก็ชะงัก และปืนใหญ่ก็ยิงซ้ำเข้าไปอีกนัดที่ 3 ถูกพวกกบฏผู้มีบุญล้มตายประมาณ 300 คนเศษ ที่เหลือก็แตกฮือหลบหนีเอาตัวรอด ส่วนองค์มั่นนั้นรอดชีวิตและปลอมตัวเป็นชาวบ้านหลบหนีไป ทหารและกำลังชาวบ้านที่ถูกเกณฑ์มา ก็ได้ออกตามล่าจับกุมแต่ไม่ทัน และไม่ทราบว่าหนีไปทางใด ทราบข่าวตอนหลังว่าได้หลบหนีข้ามฟากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว
ส่วนพระเขมรัฐเดชประชารักษ์ ผู้รักษาการเมืองเขมราชซึ่งถูกฝ่ายกบฏผู้มีบุญจับกุมตัวไว้คราวนั้น ไม่ได้รับอันตรายจากกระสุนปืนใหญ่ หลวงชิตสรการ จึงได้นำตัวมาเข้าเฝ้าข้าหลวงต่างพระองค์ฯ รวมทั้งคุมพวกกบฏผู้มีบุญที่รองๆ จากองค์มั่นและพรรคพวกชาวบ้านที่เข้าร่วมด้วยจำนวนทั้งสิ้น 400 คนเศษ คุมใส่ขื่อคาจองจำไปยังเมืองอุบลฯ เพื่อฟังรับสั่งจากข้าหลวงต่างพระองค์ต่อไป ส่วนข้าหลวงต่างพระองค์ก็มีตราสั่งไปทุกหัวเมืองน้อยใหญ่ทั้งปวงว่า “ให้ผู้ว่าราชการเมือง กรมการ เจ้าหน้าที่สืบจับพวกกบฏผีบุญที่กระเซ็นกระสายและหลบหนีคราวต่อสู้กับทหาร อย่าให้มีการหลบหนีไปได้เป็นอันขาด หรือผู้ใดที่สมรู้ร่วมคิดและปกปิดพวกเหล่าร้ายและเอาใจช่วยให้หลบหนีไปได้ จะเอาโทษแก่ผู้ปิดบัง และเจ้าหน้าที่หัวเมืองนั้นๆ อย่างหนัก” ผู้ที่ตั้งตัวเป็นผู้มีบุญองค์สำคัญๆ ที่ถูกจับกุมมาได้คราวนั้นมีอยู่หลายองค์ เช่น
  1. องค์เหล็ก (นายเข้ม) ถูกจับกุมได้ที่บ้านหนองซำ ท้องที่เมืองเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
  2. พระครูอิน ถูกจับกุมได้ที่ ท้องที่ วัดบ้านหนองอีตุ้ม ตำบลสำราญ อำเภอยโสธร (ปัจจุบันเป็นจังหวัดยโสธร)
  3. ท้าวไชยสุรินทร์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านโพนเมือง ถูกจับกุมได้ที่ ท้องที่ อ.ตระการพืช จังหวัดอุบลราชธานี
  4. องค์บุญ ถูกจับกุมได้ที่ ท้องที่เมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
  5. องค์ลิ้นก่าน ถูกจับกุมได้ที่ ท้องที่บ้านพับแล้ง อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  6. องค์พรหมา ถูกจับกุมได้ที่ ท้องที่บ้านแวงหนองแก้ว ท้องที่ อ.เขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  7. องค์เขียว ถูกจับกุมได้ที่ ท้องที่ในเมืองอุบลฯ (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอุบลราชธานี)
  8. กำนันสุ่น บ้านส่างมิ่ง ถูกจับกุมได้ที่ ท้องที่ อ.เกษมสีมา (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “อำเภอม่วงสามสิบ” จังหวัดอุบลราชธานี ) กำนันสุ่นนั้น ทางราชการได้สั่งให้เป็นหัวหน้านำกำลังพลไปช่วยปราบกบฏผีบุญ พอไปถึงกลางทุ่งได้พาชาวบ้านโกนคิ้วโกนหัว ไปเข้าเป็นฝ่ายองค์มั่นผู้มีบุญ
  9. หลวงประชุม (บรรดาศักดิ์ประทวน) ซึ่งทำการเกลี้ยกล่อมผู้คนให้เกลียดชังรัฐบาลสยาม
ฝ่ายกบฏผู้มีบุญนั้น ส่วนมากจะถูกจับกุมมาจากบ้านสะพือใหญ่จนล้นคุกตะราง ไม่มีที่คุมขัง ได้ถูกเจ้าหน้าที่จองจำขื่อคาไว้ ณ ทุ่งศรีเมือง 2-3 วัน ตากแดดกรำฝน เพื่อรอคณะตุลาการสอบสวนตัดสิน บ้างถูกตัดสินให้ปล่อยตัวและภาคทัณฑ์ไปมากเพราะเป็นปลายเหตุ ส่วนหัวหน้าคนสำคัญๆ ดังกล่าวมา ถูกคณะตุลาการพิจารณาเป็นสัตย์ฐานกบฏก่อการจลาจลภายใน จึงพร้อมกันพิพากษาเป็นเอกฉันท์ตัดสินให้ประหารชีวิต และข้าหลวงต่างพระองค์ฯได้มีรับสั่งให้นำตัวนักโทษไปประหารชีวิตแล้วเสียบประจานไว้ ณ ที่เกิดเหตุทุกแห่งที่จับมาได้ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อแผ่นดินสืบไป ส่วนพระครูอินกับพระสงฆ์อีก 3 รูปที่เป็นพวกฝ่ายกบฏผีบุญ ให้อยู่ในสมณเพศ ในเขตจำกัดตลอดชีวิต หากสึกออกมาเมื่อใดให้จำคุกตลอดชีวิต ก่อนการประหารชีวิตกบฏผีบุญครั้งนั้น เมอสิเออร์ลอร์เรน (ชาวฝรั่งเศสซึ่งทางการไทยจ้างมาเป็นที่ปรึกษากฎหมาย ณ เมืองอุบลฯ) ได้ทูลถามข้าหลวงต่างพระองค์ฯว่า “พระองค์มีอำนาจอย่างไร ในการรับสั่งให้ประหารชีวิตคนก่อนได้รับพระบรมราชานุญาต” ข้าหลวงต่างพระองค์ฯ รับสั่งตอบว่า “ให้นำความกราบบังคมทูลดู” เมอร์สิเออร์ลอร์เรนเลยเงียบไป

เมื่อปราบกบฏผู้มีบุญเสร็จแล้ว ข้าหลวงต่างพระองค์ฯ ได้ส่งมอบมงกุฎขององค์กบฏผู้มีบุญหัวหน้าใหญ่ (องค์มั่น) เข้าไปยังเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหมวกหนีบสักหลาดและปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แล้วทรงประทานรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ที่มีความดีความชอบในคราวปราบกบฏผีบุญ ลดหลั่นกันมาก-น้อย เป็นเงินอย่างสูง 100 บาท เบี้ยเลี้ยงวันละ 25 สตางค์ สมัยนั้นนับว่ามากมายนัก ถ้าเป็นข้าราชการทหารหรือพลเรือน และคณะกรมการเมือง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็ได้รับพระราชทานเหรียญตราขั้น 6-7 (เหรียญมงกุฎสยามและช้างเผือก) ตามลำดับ เป็นบำเหน็จความดีความชอบ ส่วนพลทหารป้อมมีความชอบ ที่นำความมาแจ้งคราวออกไปสืบข่าวกับนายร้อยตรีหรี่และต่อสู้โดยไม่คิดชีวิตก็ได้รับพระราชทานสิ่งของและเสื้อผ้าตามความเหมาะสม

และต่อมาก็ได้มีตราประกาศ ห้ามไม่ให้ราษฎรนับถือผีสางใดๆ ทั้งสิ้นเป็นอันขาด เช่น เข้าทรงลงเจ้า สูนผี มีผีไท้ ผีฟ้า ผีมเหศักดิ์หลักเมืองฯลฯ ต่างๆ ด้วยอาการใดๆ ก็ดี ให้เจ้าหน้าที่หัวเมืองจับผู้ลงผีถือนั้นไปทำการไต่สวนพิจารณา ถ้าได้ความจริงให้ปรับเป็นเงินคนละ 12 บาท มีรางวัลให้แก่ผู้แจ้งจับส่วนเงินรางวัลหลวงออกให้ และถ้าไม่มีเงินเสียค่าไถ่โทษ ให้จำคุก 1 เดือน หลังจากมีประกาศออกไปเช่นนี้ บรรดาพวกนับถือผีสางกลุ่มต่างๆ ก็สงบเงียบไป เงินรางวัลที่ทรงตั้งไว้หาได้จ่ายแก่ผู้แจ้งจับผู้ที่นับถือผีสางคนทรงถึง 3 รายไม่ เพราะราษฎรมีความเกรงกลัว และเข็ดหลาบจำ เมื่อคราวปราบกบฏผู้มีบุญ ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มีกฎหมายเรื่องผีสางขึ้นเมื่อ ร.ศ.124,พ.ศ.2448 (และได้มีการประกาศพระราชบัญญัติทาส รศ. 124 ,พ.ศ. 2448) และปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้ ถึงกระนั้นก็ตามแม้จะปราบกบฏผู้มีบุญลงได้ ก็ยังมีผู้ที่อ้างตัวเป็นผู้มีบุญขึ้นอีกในหลายๆแห่ง และยังได้มีการนำเอาอุดมการณ์พระศรีอาริย์มาใช้ในการก่อกบฏของชาวบ้านอย่างแพร่หลาย

การก่อกบฏเพื่อปฏิเสธรูปแบบการปกครองของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราช และปฏิเสธอำนาจรัฐสยาม ในช่วงสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์มีมากถึง 13 ครั้ง ได้แก่ กบฏญาณพิเชียร (พ.ศ.1124) กบฏธรรมเสถียร (พ.ศ.2237) กบฏบุญกว้าง (พ.ศ.2241) กบฏเชียงแก้ว (พ.ศ.2334) กบฏสาเกียดโง้ง (พ.ศ.2358) กบฏพญาผาบหรือพญาปราบ (พ.ศ.2432) ที่นครเชียงใหม่ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการต่อต้านระบบการเก็บภาษีอากรผูกขาด โดยเฉพาะภาษีหมาก พลู มะพร้าว คือมีการเก็บภาษีพืชสวน ดังนี้ หมาก 2 ต้นต่อวิ่น มะพร้าว 1 ต้นต่อวิ่น (1 วิ่น เท่ากับ 12.5 สตางค์) ซึ่งถือว่าสร้างความเดือดร้อนให้กับราษฎร์เป็นอันมาก นอกจากนี้ยังเกิดกบฏศึกสามโบก (พ.ศ.2438) กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ (พ.ศ.2445) กบฏผู้มีบุญอิสาน (พ.ศ.2444-พ.ศ.2445 ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) กบฏผู้มีบุญภาคใต้ (พ.ศ.2452-พ.ศ.2454) ซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่ตำบลบ้าน อำเภอยะรัง เมืองหนองจิก ซึ่งอยู่ในเขตมณฑลปัตตานี และยังขยายไปถึงเมืองยะลาและสายบุรี มีสาเหตุมาจากสภาพปัญหาการปฏิรูปการปกครอง การเก็บภาษีอากร และความไม่มีประสิทธิภาพของข้าราชการประจำท้องถิ่น จนถึงเรื่องความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติและศาสนา กบฏเจ้าผู้มีบุญหนองหมากแก้ว (พ.ศ.2467) กบฏหมอลำน้อยชาดา (พ.ศ.2479) กบฏนายศิลา วงศ์สิน (พ.ศ.2502) และเป็นกบฏที่เกิดขึ้นในเขตอิสาน 5 ครั้ง ภาคกลาง 4 ครั้ง และภาคใต้ 1 ครั้ง

ฝ่ายกบฏเจ้าผู้มีบุญต่างเชื่อถือว่าอุดมการณ์พระศรีอาริย์เป็นอุดมการณ์ที่มีเป้าหมายสูงสุด คือเพื่อการปฏิวัติสังคมไปสู่สังคมที่ไม่มีชนชั้นของมนุษย์ และมีความอยู่ดีกินดีสมบูรณ์พูนสุขทั้งทางจิตใจและวัตถุ ทำให้อุดมการณ์นี้ถูกนำไปใช้ในขบวนการต่อสู้ของชาวบ้านซึ่งปรากฏเป็นจำนวนหลายครั้งในประวัติศาสตร์ แต่ที่ปรากฎชัดเจนที่สุดคือขบวนการผู้มีบุญภาคอิสานซึ่งมีหลายสาเหตุปัจจัย ที่เป็นตัวผลักดันให้ก่อเกิดเป็นรูปของการเคลื่อนไหว ลุกขึ้นสู้กับอำนาจรัฐ เพื่อเรียกหาความเป็นอิสระและความเป็นธรรมให้กับตนเองและสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ และเนื่องจากสังคมอิสานเองนั้น ก่อนที่จะมีขบวนการผู้มีบุญเกิดขึ้น ก็กำลังเผชิญในช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสภาพการเมืองและเศรษฐกิจจากภายนอก ซึ่งจะพบว่าเศรษฐกิจหลังสนธิสัญญาบาวริ่ง (พ.ศ.2398) มีผลกระทบต่อชาวนาภาคอื่นค่อนข้างน้อยกว่าภาคอิสาน เพราะภาคอิสานนอกจากจะเป็นพื้นที่ในการเพาะปลูกขนาดใหญ่ของประเทศแล้ว ในยุคนั้นยังมีของป่าต่างๆ นาๆ ไม่แพ้ภาคอื่นๆ แต่การขนส่งก็ถือว่าค่อนข้างยากลำบากพอสมควร เนื่องจากเพิ่งมีการขยายเส้นทางสร้างสถานีรถไฟ ที่ไปถึงเพียงแค่นครราชสีมาเท่านั้นเอง


หากมองในแง่ของวิธีการทำงานขยายมวลชนของกบฏผู้มีบุญ จะเห็นว่าได้มีการนำเอาความเชื่อของชาวบ้าน ซึ่งมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวโยงร้อยกันกับธรรมชาติและยังหลอมรวมกับพระพุทธศาสนาแบบชาวบ้านที่ไม่ใช่พระพุทธศาสนาแบบทางการ พระหรือวัดนั้นถือว่ามีอิทธิพลอย่างสูงกับการดำรงชีวิตของชาวบ้าน เช่น หากไม่สบายก็จะมาให้พระที่วัดรดน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์ ผูกด้ายสายสิญจ์ข้อมือ ปัดเป่ารักษาโรคภัยไข้เจ็บโดยใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีหมอธรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่ผ่านการบวชเรียน มาทำพิธีกรรมปัดเป่าโรคภัย ไข้เจ็บให้กับชาวบ้าน

ในเรื่องของอุดมการณ์ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมาย หลักคิด และวิธีคิดที่สำคัญอันจะนำไปสู่การปฎิบัตินั้น อุดมการณ์ของกบฏผู้มีบุญนั้นต้องการระบบการปกครองแบบใหม่ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบใหม่ ที่ไม่ต้องการขึ้นตรงต่อรัฐเลย และ กบฏผู้มีบุญไม่สามารถที่จะเป็นอิสระจากรัฐได้อย่างแน่นอน

รูปแบบโครงสร้างการจัดองค์กรของกบฏผู้มีบุญ เป็นไปแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องมีสัตยาบันหรือโองการแช่งน้ำใดๆ เพียงแต่ศรัทธาต่อความเชื่อในอุดมการณ์พระศรีอาริย์ ก็มาเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏผู้มีบุญได้เลย โดยผู้ที่ชวนกันมาเข้าร่วมนั้นจะรู้จักมักคุ้นกันแบบพี่น้องหรือเครือญาติ และไม่มีระเบียบแบบแผนอะไรมากมายนัก ส่วนในด้านการนำหรือผู้นำ รวมทั้งการตัดสินใจนั้น ถือว่ามีการรวมศูนย์ไว้ที่ฝ่ายหัวหน้าของกบฏผู้มีบุญ และผู้ที่เข้าร่วมในขบวนการส่วนใหญ่นั้นเป็นชาวบ้าน ชาวนา ชาวไร่ กำลังพลที่มีอยู่นั้นถือว่าไม่แน่นอนเพราะขึ้นอยู่กับความสมัครใจของชาวบ้าน และนอกจากนี้ยังขาดองค์ความรู้ทางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และไม่ได้ผ่านการฝึกฝนให้ใช้อาวุธ ส่วนอาวุธที่ใช้ก็เป็นแบบหาได้เท่าที่จะมีกัน ดังนั้นถ้ามองในแง่การต่อสู้ของกบฏผู้มีบุญ ถือว่าอยู่ในฐานะเสียเปรียบอย่างมากเมื่อเทียบกับกำลังของฝ่ายรัฐสมบูรณาญาสิทธิราช

ส่วนในด้านสภาพทางสังคมหรือภูมิศาสตร์ ในระยะเวลาก่อนเกิดการเคลื่อนไหวของกบฏผู้มีบุญนั้น พบว่าเขตมณฑลอิสานประสบปัญหาฝนแล้งติดต่อกัน 2-3 ปี ชาวบ้านทำนาไม่พอกิน และบางหมู่บ้านยังได้อพยพไปอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในเขตของนครเวียงจันทร์และนครจำปาศักดิ์ ซึ่งเมื่อก่อนถือนั้นว่าเป็นประเทศราชของสยามในยุครัชกาลที่ 3 และสงครามสยาม-ลาว ในปีพ.ศ.2370 ที่เรียกกันว่า “ศึกเจ้าอนุวงศ์” ผู้ปกครองเวียงจันทร์และจำปาศักดิ์ ที่พยายามปลดปล่อยตัวเองออกจากอำนาจการปกครองของสยามประเทศ และต้องการเข้าครอบครองที่ราบสูงโคราชทั้งหมดคืน ได้ยุติลงด้วยการพ่ายแพ้ ของกษัตริย์ราชวงศ์ลาว และถือได้ว่าเป็นการสิ้นสุดอำนาจของอาณาจักรเวียงจันทร์ ส่วนทางสยามเองก็ได้กวาดต้อนเชลยลาว เอามาไว้เลี้ยงม้าเลี้ยงช้าง และให้ตั้งรกรากอยู่ในแถบฝั่งธนบุรีและเขตบางบอนในยุคนั้น และเมื่ออิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตกเริ่มคุกคามแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนที่เป็นเขมร ลาว ญวน จะพบว่ารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชของไทยได้เข้าไปแทรกแซงการปกครองหัวเมืองลาวโดยตรงมากยิ่งขึ้น เริ่มจากปีพ.ศ.2434 และต่อมาในปีพ.ศ.2437 หลังการเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสแล้ว รัฐสยามก็ได้เริ่มจัดการปกครองในระบอบเทศาภิบาล มีการตั้งมณฑลเทศาภิบาลต่างๆขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อรวมอาณาเขตทั้งหมดให้เข้ามาอยู่ในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราช ส่วนในบางพื้นที่ก็หาของป่าเลี้ยงชีพไปตามมีตามเกิด ในขณะเดียวกันก็ต้องรับภาระเสียภาษีให้กับรัฐด้วย นอกจากนี้ยังประสบปัญหาข้าวยากหมากแพงก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ขณะเดียวกันหน่วยงานราชการในยุคนั้น ก็ยังไม่เปิดให้มีการเรียกร้องหรือร้องเรียนในเรื่องปัญหาต่างๆอย่างชัดเจน และในบางหมู่บ้านที่ปลูกพืชผักได้ก็จะหาบพริก หาบผัก หาบเกลือ เอาไปแลกเปลี่ยนเป็นข้าว บางครั้งก็มีลูกเต้าติดสอยห้อยตามไปหาบข้าวด้วย บ้างไปขอข้าวที่หมู่บ้านนั้น หมู่บ้านนี้ด้วย อย่างยากลำบาก ส่วนรัฐสยามเองก็หาได้บำบัดทุกข์บำรุงสุขอย่างที่ควรเป็นไม่ ตรงกันข้ามกลับมุ่งพัฒนาประเทศให้เทียบเคียงอารยะธรรมตะวันตก มาโดยตลอด ที่เห็นได้ชัดเจนก็นับตั้งแต่ พ.ศ. 2398 ที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาเบาริ่ง

กบฎผู้มีบุญภาคอิสานนั้นถือว่าเป็นขบวนการกบฏของชาวนา และถือเป็นขบวนการลุกขึ้นสู้ของผู้ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบอย่างชัดเจน เพราะเป้าหมายหลักของกบฎผู้มีบุญภาคอิสานคือ ต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมเดิมที่มีอยู่อย่างไม่เป็นธรรมไปสู่สังคมที่ดีกว่า
 วีดีโอสารคดีลาวและอีสาน ในสมัย ร.5

วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประชาธิปไตยแบบกฎุมพี (หรือเจ้าสมบัติ)

กระฎุมพี (กฺระ-ดุม-พี; มักสะกดผิดเป็น กระฎุมภี หรือ กฎุมภี) เป็นชนชั้นทางสังคมกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางหรือชนชั้นพ่อค้าวาณิช ซึ่งได้สถานะทางสังคมหรืออำนาจมาจากหน้าที่การงาน การศึกษา หรือความมั่งมี (ซึ่งตรงกันข้ามกับพวกอภิชน) เป็นชนชั้นที่มีฐานะจากการค้าขายหรืองานช่างฝีมือ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งอาจหมายรวมถึง นายทุน นายทุนน้อย คนชั้นกลาง ส่วน "ไพร่กระฎุมพี" นั้น หมายถึงชนชั้นที่อยู่ต่ำกว่ากระฎุมพีแต่สูงกว่าชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม เป็น "พลเมืองที่มีเงินพอใช้เลี้ยงชีวิตไม่เป็นทาสบุคคลผู้ใด"[1]
แนวคิดเช่น เสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิพลเมืองและการนับถือศาสนา และการค้าเสรี ล้วนสืบทอดมาจากปรัชญาของกระฎุมพี
  ก็เช่นเดียวกับประชาธิปไตยแบบกรีก ในส่วนที่เป็นประชาธิปไตยของคนกลุ่มน้อยหรือ
ประชาธิปไตยของชนชั้นท่านนักวิทยาศาสตร์สังคมได้กล่าวว่า "ในสังคมที่แบ่งกันออกเป็นชน
ชั้นคือ ผู้กดขี่กับผู้ถูกกดขี่หรือผู้เบียดเบียนกับผู้ถูกเบียดเบียน ระบอบประชาธิปไตยก็ย่อมจะคง
เป็นระบอบประชาธิปไตยของชนชั้นอยู่เรื่อยไป จะไม่   เป็นประชาธิปไตยของปวงชนตามความ  หมายสมบูรณ์ขึ้นได้เลย" 
                             รูปภาพ อ้างอิงใช้งานประวัติศาสตร์ลือชื่อของ Eric Hobsbawm เรื่อง The Age of Revolution, 1789-1848 (1962) เป็นหลักเพื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์การเคลื่อนไหว “ปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทยถึงปัจจุบัน
          การก้าวเข้ามาของประชาธิปไตยกฎุมพีหรือเจ้าสมบัตินั้น ก้าวเข้ามาด้วยการปฏิวัติ กล่าว
คือ เป็นการแย่งชิงอำนาจในทางการเมืองการเศรษฐกิจจากพวกเจ้าศักดินา ซึ่งทำการผูกขาด
อำนาจอำนาจดังกล่าวไว้ในกำมือแต่กลุ่มเดียว พวกศักดินาถูกเตะหกคะเมนลงไปจากบัลลังก์
แห่งการกดขี่ขูดรีด และพร้อมกับที่พวกกฎุมพีหรือเจ้าสมบัติ ได้ย่างก้าวขึ้นไปสู่บัลลังก์แห่งการ
กดขี่ขูดรีดแทน การปฏิวัติของอังกฤษในตอนกลางคริสศตวรรตที่ ๑๗ การปฏิวัติของอเมริกา
และฝรั่งเศสในตอนปลายคริสศตวรรตที่ ๑๘ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในทาง
การเมืองการเศรษฐกิจและสังคม ชนชั้นกฎุมพีหรือเจ้าสมบัติที่โผล่หน้าขึ้นมาในประเทศเหล่านี้
พยายามที่จะให้ได้มาซึ่งเสรีภาพในทางการเมือง โดยโอนเอาอำนาจของรัฐมาไว้ในกำมือของ
พวกเขา และแล้วก็ดำเนินการการเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และออกจากบรรดาข้อจำกัดทั้งหลาย
ของพวกเจ้าศักดินาและกษัตริย์เพื่อพัฒนาการเศรษฐกิจของตนเอง
        ก่อนเข้ามาของระบอบประชาธิปไตยกฎุมพีหรือประชาธิปไตยเจ้าสมบัติระบบศักดินาได้มี
อิทธิพลครอบงำอยู่เหนือสังคม ทั้งนี้ เพราะอำนาจในทางการเมืองการเศรษฐกิจและสังคมอยู่
ในกำมือของพวกเขาอย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง พวกเจ้าศักดินาเหล่านั้นรวบอำนาจทางการเมืองมา
ไว้ในกำมือของพวกเขา โดยรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์ และแล้วดำเนินการเศรษฐกิจด้วยวิธีการกดขี่
ขูดรีดประชาชน
        ทั้งนี้     เพื่อให้ได้มาซึ่งโภคทรัพย์เพื่อมาบำรุงบำเรอความสุขของพวกเขาเครื่องบำรุง
บำเรอความสุขนั้นนอกจากเครื่องบริโภคอุปโภคอย่างชนิดยอดเยี่ยมและนอกจากข้าทาสหญิง
ชายแล้ว ก็ยังมีสตรีที่เรียกว่า นางบำเรอ อีกด้วย การวัดฐานะของพวกเจ้าศักดินา นอกจากจะวัด
กันด้วยจำนวนมากน้อยของข้าทาสแล้วก็วัดกันด้วยจำนวนมากน้อยของนางบำเรอ ท่านผู้ใดมี
นางบำเรอมากก็นับถือกันว่าเป็นผู้มีหน้ามีตามีบุญวาสนา และท่านที่มีนางบำเรอมากที่สุดก็เห็น
จะได้แก่พวกกษัตริย์นั่นเอง เพราะท่านเหล่านี้มีอำนาจเหนือมนุษย์ทุกคนในสังคม คำพูดของ
เขาเป็นกฎหมาย พวกเจ้าศักดินายิ่งทวีการบำรุงบำเรอส่วนตัวเท่าใดยิ่งเพิ่มข้าทาสหญิงชายมาก
ขึ้นเท่าใด และยิ่งเพิ่มนางบำเรอมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทวีการกดขี่ขูดรีดประชาชนมากขึ้นเท่านั้น

        ภายใต้พฤติการณ์ที่เป็นอยู่เช่นนี้ ได้นำความยากจนค่นแค้นมาสู่ประชาชนส่วนใหญ่อย่าง
แสนสาหัส และได้นำความหายนะมาสู่ชนชั้นกลางหรือกฎุมพี อันเป็นชนชั้นที่พวกเจ้าศักดินา
หรือพวกชนชั้นสูงดูถูกเหยียดหยาม   และดังนั้น   ภายใต้การนำของพวกกฎุมพี และด้วยการ
สนับสนุนของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งถูกถือว่าเป็นพวกไพร่ชนชั้นต่ำ ได้ร่วมมือกันโค่นล้มระบบ
ศักดินาอันน่าขยะแขยง แล้วสถาปนาระบอบประชาธิปไตยกฎุมพี หรือระบอบประชาธิปไตย
เจ้าสมบัติขึ้นมาแทน
        ที่เรียกว่าระบอบประชาธิปไตยกฎุมพีหรือระบอบประชาธิปไตยเจ้าสมบัตินั้น ก็เพราะภาย
หลังจากการยื้อแย่งอำนาจในทางการเมืองและการเศรษฐกิจมาจากพวกเจ้าศักดินาได้แล้ว พวก
กฎุมพีหรือพวกชนชั้นกลางก็ได้เข้าครองอำนาจแทน โดยการกีดกันประชาชนส่วนใหญ่ออกไป
อยู่นอกวงอำนาจเหล่านั้นทรรศนะทางประชาธิปไตยของพวกกฎุมพีหรือเจ้าสมบัตย่อมไม่เคยที่
จะก้าวเลยไปจนถึงขั้นเลิกล้มเอกสิทธิ์ของชนชั้น อันเป็นลักษณะสังคมศักดินาแต่เพื่อที่จะปิดบัง
อำพรางการผูกขาดกุมอำนาจของพวกเขาในทางเศรษฐกิจและการเมือง ความเสมอภาคตาม
กฎหมายจึงได้ถูกตราขึ้นเป็นพิธีการ เช่น บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ประชาชนทุกคนที่บรรลุนิติ
ภาวะแล้วย่อมมีสิทธิเสรีภาพบริบูรณ์ในทางการเมือง แต่หากในกฎหมายเลือกตั้ง กลับกำหนด
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์รับเลือกตั้งไว้ต่าง ๆ นานา เช่น ในเรื่องการศึกษา ก็ได้กำหนดไว้ว่าต้องมี
ความรู้แค่นั้นแค่นี้
         และโดยประการสำคัญต้องมีหลักทรัพย์เท่านั้นเท่านี้ ต้องวางเงินประกันเท่านั้นเท่านี้และ
ในส่วนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งก็เช่นกัน       ได้มีข้อกำนดไว้หลายประการเช่นเดียวกันกับ
ประชาธิปไตยยุคกรีก
http://www.youtube.com/watch?v=jjq_5CapTPo

ในมุมมองมาร์กซิสต์

หนึ่งในการวิจารณ์กระฎุมพีที่ทรงอิทธิพลที่สุดมาจาก คาร์ล มาร์กซ โดยเขาโจมตีทฤษฎีการเมือง และมุมมองต่อประชาสังคมและวัฒนธรรมพลเมืองของกระฎุมพี ที่เชื่อว่าแนวคิดและสถาบันต่าง ๆ เหล่านี้เป็นความจริงสากลเสมอ ในมุมมองของมาร์กซนั้น แนวคิดเหล่านี้เป็นเพียงอุดมการณ์ของกระฎุมพีในฐานะชนชั้นปกครองกลุ่มใหม่ ซึ่งต้องการจะจัดระเบียบสังคมตามสิ่งที่ตนจินตนาการ

กระฎุมพีในประเทศไทย

ลักษณะเด่นของกระฎุมพีในประเทศไทยก็คือ การกำเนิดและแหล่งที่มาของกระฎุมพีในสังคมรัตนโกสินทร์นั้น
ไม่ได้กำเนิดแยกเป็นอิสระจากชนชั้นศักดินาที่ครอบครองอำนาจและผลประโยชน์เศรษฐกิจของอาณาจักรมาก่อน

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

24 มิถุนายน 2475 และคดียึดพระราชทรัพย์ร.7

24 มิถุนายน 2475 และคดียึดพระราชทรัพย์ร.7

"จำเลยได้โอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลยดั่งคำฟ้องของโจทก์" [ความตอนหนึ่งของข้อเท็จจริงในคำพิพากษา](ภาพหายาก:อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ รับเสด็จรัชกาลที่ 7 ที่เยอรมัน เมื่อ 6 กรกฎาคม 2477)

ที่มา นิติราษฎร์ และศิลปวัฒนธรรม

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณียึดทรัพย์ทั้งหมดของสมเด็จพระปกเกล้าฯ[ภาคแรก]

ที่มา เวบไซต์นิติราษฎร์

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีดำที่ ๑๙๗/๒๔๘๒ คดีแดงที่ ๒๗๘/๒๔๘๒ ความแพ่งระหว่าง กระทรวงการคลัง โจทก์ สมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่๑ และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ที่๒ จำเลย

ในคำพิพากษานี้ แยกเป็น ๓ ส่วน (โดยสังเขป)

ข้อ๑.ศาลวินิจฉัยว่า ตามพฤติการณ์ที่จำเลยโอนเงินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไปยังต่างประเทศ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก จำเลยไม่มีสิทธิในทรัพย์สินส่วนนั้น ในกรณีดังกล่าวเป็นเหตุฉุกเฉินโจทก์ยื่นคำฟ้องโดยมีเหตุสมควร ศาลสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ข้อ๒.โจทก์นำ หลวงสารสินทะเบียนสิษฐ์ นายวานิต นาวิกบุตร์ และนายเฉลียว ปทุมรส เข้าเบิกความ ศาลพิเคราะห์ว่า จำเลย โอนขายอสังหาริมทรัพย์โดยสมรู้กับคู่สัญญา เพื่อจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยให้พ้นอำนาจศาล ซึ่งอาจบังคับเอาแก่จำเลยและเพื่อฉ้อโกงโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นไปโดยสุจริตและเป็นเสียหายแก่โจทก์

ข้อ๓.ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยให้อายัดหรือยึดทรัพย์จำเลยทั้งหมดรวมทั้งทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยไปพลางก่อน และเงินวางศาลเพื่อประกันสำหรับค่าสินไหมทดแทน ให้จำเลยเป็นฝ่ายเสีย

อย่างไรก็ดี คดียังไม่ยุติเพียงเท่านี้ โปรดติดตามคำพิพากษาในคดีนี้ที่เกี่ยวเนื่องต่อไป ใน ภาคปิดคดี.

ดาวน์โหลดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีแดงที่ ๒๗๘/๒๔๘๒

ที่มา : สำนักงานโฆษณาการ , "ข่าวโฆษณาการ" เรื่อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เรื่องความแพ่งในระหว่างกระทรวงการคลัง โจทก์ สมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่๑ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ที่๒ จำเลย . (ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๖ : ๒๙ สิงหาคม ๒๔๘๒), หน้า ๓ - ๗.

******


เรื่องเกี่ยวเนื่อง:คดียึดพระราชทรัพย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ 
โดย สุพจน์ แจ้งเร็ว
ที่มา นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 272 วันที่ 1 มิถุนายน 2545


ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ไปจนถึงวันที่ ๓๐ ของเดือนธันวาคม ปี ๒๔๘๔ หนังสือพิมพ์สองฉบับ คือ ข่าวภาพ และศรีกรุง ได้ลงประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนวนหนึ่ง ตามที่กองบังคับคดีทางแพ่ง กระทรวงยุติธรรมแจ้งมา.

คำประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น โดยทั่วไปก็มิได้ทำให้ผู้อ่านมีความรู้สึกอันใดนัก เว้นแต่ผู้ที่เคยเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นมาก่อน, แต่การลงประกาศครั้งนี้เป็นเรื่องที่ต่างออกไป.

ข้าวของจำนวนไม่น้อยที่จะได้เริ่มขายตั้งแต่วันที่ ๘ มกราคม ๒๔๘๕ เป็นต้นไปนั้น มิได้เป็นของราษฎรทั่วไปคนใดคนหนึ่งที่ล้นพ้นไปด้วยหนี้, หากเป็นพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี อดีตพระมหากษัตริย์และพระราชินี ผู้ทรงตกเป็นจำเลยในคดีที่กระทรวงการคลังฟ้องร้องเมื่อสามปีก่อนและบัดนี้ทรงแพ้คดี.

สำหรับประวัติการเมืองไทย, คดีนี้เป็นคดีประวัติศาสตร์. เป็นความจริงที่ว่าเหตุการณ์ภายหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ไม่ได้เป็นไปถึงขนาดที่พวกบอลเชวิคได้เคยกระทำแก่ราชวงศ์โรมานอฟ, แต่ในประเทศที่อำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ดำรงมาช้านาน, ในประเทศที่ยังมีผู้เห็นว่าราษฎรโง่แม้จะเป็นคนชาติเดียวกัน, การณ์เช่นนี้ย่อมไม่เป็นเรื่องที่ผู้ใดจะอาจคิดได้ว่าวันหนึ่งจะเกิดขึ้น.

อีกหลายสิบปีต่อมา, ในงานเขียนเรื่องชีวิตเหมือนฝัน, คุณหญิงมณี สิริวรสาร ซึ่งในระหว่างที่เกิดคดีดังกล่าวนั้นเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี, ได้ย้อนเล่าถึงเรื่องนี้ว่า :

“การฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ นั้น ทุกคนทราบดีว่ามีการเมืองเป็นต้นเหตุ คือรัฐบาลต้องการกลั่นแกล้ง และให้ผู้ที่ไม่ทราบเรื่องราวเกลียดชังเจ้านายและระบอบกษัตริย์ เพราะทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องกับศาลและกฎหมายย่อมทราบดีว่า พระมหากษัตริย์ย่อมจะทรงใช้เงินจากกรมพระคลังข้างที่ได้ เพราะทรงมีสิทธิและอำนาจที่จะใช้จ่ายในกรณีใดๆ ก็ได้ หรือจะพระราชทานเงินแก่ผู้ใดก็ได้”

ข้อความย่อๆ ดังกล่าวนี้ย่อมเป็นการง่ายแก่ผู้อ่านที่จะเข้าใจและคิดเห็นไปตามนั้น. อย่างไรก็ตาม, ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่, ในความเป็นจริงนั้นคดีฟ้องร้องที่เกิดขึ้นนี้ก็หาได้เกิดขึ้นและเป็นไปอย่างรวบรัดดังกับที่ข้อความสั้นๆ เพียงเท่านี้จะชวนให้นึกเห็นไปไม่, หากมีที่มาก่อนหน้านั้นหลายปี.
และการที่จะทราบเรื่องราวดังกล่าว เราจะต้องย้อนกลับไปดูที่มาของเรื่องและสภาพแวดล้อมของที่มานั้น, นั่นก็คือ, ตั้งแต่ในช่วงแรกๆ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา.

๑.หลังจากที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกต้องพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว, และโดยเฉพาะภายหลังกรณีกบฏบวรเดชในปี ๒๔๗๖, ความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระมหากษัตริย์ กับ “คณะราษฎร” ในฐานะรัฐบาลของประเทศมิได้ราบรื่นนัก.

แรกสุดทีเดียวคณะราษฎรเห็นว่า พระองค์ได้ทรงหนุนช่วยฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชด้านการเงิน ดังปรากฏในหลักฐานการโอนเงินสองแสนบาท ที่ศาลพิเศษซึ่งตั้งขึ้นเมื่อหลังเหตุการณ์นั้นได้นำมาใช้ประกอบคำพิพากษา.

จริงอยู่, ในเวลาต่อมา ม.จ.พูนพิศมัยทรงอ้างว่า ผู้ที่โอนเงินให้นั้นเป็นผู้อื่น หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรง “รับบาป” แทน, แต่น่าเสียดายที่ต่อหน้าศาลในเวลานั้นข้ออ้างเช่นว่านี้ก็มิได้มีผู้ใดยกขึ้นมา.

แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร และไม่ว่าแต่ละฝ่ายจะรู้สึกอย่างไร, ข้อความจริงหนึ่งก็มีว่า แต่นั้นมาพระราชดำริของพระองค์ กับความคิดเห็นของฝ่ายรัฐบาล และรวมไปถึงมติของรัฐสภาดูเหมือนจะไม่เคยผสานกันได้ไม่ว่าจะในประเด็นใด. ลักษณาการเช่นนี้ได้ดำเนินและขยายตัวไป กระทั่งทรงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติในปลายปี ๒๔๗๗ เป็นที่สุด ขณะประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ.

ข้อที่ทรงคับข้องพระราชหฤทัยมีอยู่หลายประการ, ซึ่งทั้งหมดนั้นทำให้พระองค์ทรงรู้สึกเสมอว่า ทรงถูกจำกัดให้เพียงแค่ “ลงพระปรมาภิไธย” เท่านั้น, ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเองก็รู้สึกว่าตนได้อนุโลมตามพระราชประสงค์เป็นส่วนมากแล้ว และสามารถตอบข้อที่ทรงข้องพระราชหฤทัยนั้นได้ทุกประการทั้งต่อพระองค์เองและต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. ในการประชุมสภาสมัยที่ ๒ ในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๗๗, กล่าวคือ ก่อนที่จะทรงสละราชสมบัติหนึ่งเดือน, พระยาพหลฯ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในช่วงแห่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงนั้นถึงกับกล่าวว่า “เราอยากจะให้ท่านแน่พระทัยว่า ‘กูอยากจะเอาอะไรที่มันไม่ขัดรัฐธรรมนูญแล้วมันก็ให้’ นี่เราแสดงใจนักเลงอย่างนี้แหละ.”

ก่อนหน้าการประชุมสภาครั้งนี้, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชโทรเลขลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๔๗๗ ถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (พระยศในขณะนั้น) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์. ในพระราชโทรเลขนั้นทรงยกตัวอย่างถึงเรื่องที่ทำให้พระองค์จะทรงทนต่อไปมิได้, นั่นก็คือ, เรื่องพระราชบัญญัติอากรมรดก ซึ่งทรงเห็นว่ารัฐบาลทำให้พระองค์ “เซ็น” ด้วยวิธีหลอกลวง, กับเรื่องคดีพระพิบูลย์ไอศวรรย์ฟ้องร้องพระคลังข้างที่ ซึ่งทรงกล่าวว่า ถ้าพระคลังข้างที่แพ้พระองค์ก็จะทรงสละราชสมบัติ. เมื่อมองโดยรวมบางทีเราจะเห็นว่าตัวอย่างที่ทรงยกมานี้ (ในขณะที่ทรงกล่าวว่า “เรื่องอื่นก็ยังมีอีกมากมาย”) เป็นแต่เพียงฟางเส้นสุดท้าย และมิได้มีอะไรมากไปกว่านั้น.
ในความเป็นจริง, ทั้งสองกรณีนี้โดยตัวของมันเองมิใช่เรื่องเล็กน้อย; ที่สำคัญก็คือมันจะเป็นเรื่องโยงใยไปถึงคดีฟ้องร้องอันเป็นประวัติการณ์ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น. การที่จะเชื่อมโยงไปนั้นก็ด้วยสาเหตุสำคัญที่ว่า, กรณีทั้งสองนี้เกี่ยวพันกับเงินก้อนหนึ่งในพระคลังข้างที่อันเป็นที่มาของเรื่องทั้งหมด.

คดีพระพิบูลย์ไอศวรรย์นั้นมีอยู่ว่า, เดิมพระพิบูลย์ไอศวรรย์เป็นคนหนึ่งที่ได้รับพระราชทานพินัยกรรมจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖, ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนกฎหมายที่อังกฤษ. เมื่อกลับเข้ามารับราชการในกระทรวงยุติธรรม, ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ กรมพระคลังข้างที่ก็ได้ตัดเงินปีตามพระราชพินัยกรรมนั้นเสีย. แต่พระพิบูลย์ฯ เห็นว่าพระราชพินัยกรรมมิได้ระบุเช่นนั้น, และเห็นเอาว่าเมื่อได้รับพระราชทานแล้วก็จะต้องได้รับพระราชทานตลอดไป แม้ตนจะได้รับราชการมีเงินเดือนแล้วก็ตาม. ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ระยะหนึ่ง พระพิบูลย์ฯ ก็ได้ยื่นฟ้องพระคลังข้างที่, เรียกร้องเงินเลี้ยงชีพที่ถูกยกเลิกไป.

คดีพระพิบูลย์ฯ นี้แม้มิได้เป็นเรื่องที่ใครจะนำมากล่าวขวัญอย่างเอิกเกริกเลื่องลือต่อมาเช่นกรณีนายถวัติ ฤทธิเดช ฟ้องร้องว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงหมิ่นประมาทราษฎร, แต่ก็เป็นเรื่องกระทบกระเทือนพระองค์ไม่น้อย, หาไม่ก็คงไม่ทรงมีพระราชดำรัสถึงเช่นนั้น. อันที่จริงคดีเช่นนี้ก็มิได้มีเพียงคดีเดียว และบรรดาผู้ที่ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ล้วนแต่เป็นคนในราชสำนักทั้งสิ้น.

ในเรื่องนี้ ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าว่า, เมื่อได้มีการตัดทอนเงินพระราชทานในสมัยรัชกาลที่ ๗ นั้น บรรดาพวกที่ถูกลดถอนก็พากันโกรธเคืองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ว่า ทรงลบล้างพระราชพินัยกรรม. พอเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วพระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็เป็นผู้นำฟ้องต่อศาลก่อนเป็นรายแรก โดยมีเจ้าพระยารามราฆพเป็นรายถัดมา. ครั้นที่สุดเมื่อศาลตัดสินว่าที่ทรงชี้ขาดเช่นนั้นเป็นเรื่องในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์, เรื่องจึงได้สงบลงเท่านั้น.

ส่วนในเรื่องพระพิบูลย์ฯ นี้ ขณะนั้นยังมิได้มีการตัดสิน. ในพระราชโทรเลขถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยืนยันว่า : “หม่อมฉันได้ทูลมาแล้วว่า หม่อมฉันจะไม่กลับจนกว่าคดีนี้จะได้เสร็จไป เพราะหากคดีนี้พระคลังข้างที่แพ้หม่อมฉันก็จะสละราชสมบัติ หม่อมฉันสัญญาไม่ได้ว่าจะไม่สละราชสมบัติ และไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะเจรจากันต่อไป จนกว่าคดีนี้จะเสร็จไป…”

ทางฝ่ายรัฐบาลเองเมื่อได้ทราบความในพระราชโทรเลขเช่นนี้ก็ได้มีหนังสือถึงเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ หัวหน้าคณะตัวแทนที่รัฐบาลส่งไปเข้าเฝ้าที่อังกฤษ, ให้กราบบังคมทูลว่าคดีนี้เป็น “เรื่องเกี่ยวแก่อำนาจตุลาการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะสั่งศาลมิได้ เพราะเป็นการผิดต่อรัฐธรรมนูญ แล้วจะทำให้ต่างประเทศขาดความไว้ใจในศาล ซึ่งกระทบถึงสัญญาทางพระราชไมตรีโดยทั่วๆ ไป.”

ข้อที่ทรงตั้งเงื่อนไขถึงขนาดว่า หากคดีนี้กรมพระคลังข้างที่แพ้ พระองค์ก็จะทรงสละราชสมบัตินั้นเป็นที่กังขากันอยู่ เพราะไม่มีผู้ใดจะอาจทราบพระราชประสงค์ได้. โดยที่ในเวลาเดียวกันนั้นเองได้ทรงตั้งข้อคัดค้านรัฐบาลในเรื่องพระราชบัญญัติป้องกันรัฐธรรมนูญว่าไม่เป็นการยุติธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา, ในที่ประชุมสภาฯ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๗๗, พระพินิจธนากร ผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่จึงกล่าวอภิปรายว่า : “ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะขอให้ทรงเลิกพระราชบัญญัติป้องกันรัฐธรรมนูญนั้น ข้าพเจ้ายังไม่ทราบว่ามีพระราชประสงค์อันใดแน่นอน คือข้าพเจ้ามีความฉงนเป็นอันมากในคติตอนหนึ่งซึ่งเกี่ยวแก่ผลประโยชน์ของท่าน คือในเรื่องพระพิบูลย์ไอศวรรย์ในตอนหนึ่งท่านบอกว่า เพราะเหตุว่าเราใช้การพิจารณาโดยไม่มีศาลไม่มีอะไร ท่านไม่พอพระราชหฤทัย แต่ว่าในเรื่องพระพิบูลย์ไอศวรรย์ถ้าท่านแพ้ท่านก็จะลาออก เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าผู้มีสติปัญญาอันน้อยไม่ทราบพระราชประสงค์ของท่านอันใดเลย.”
นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง.

เรื่องที่สำคัญกว่าเรื่องพระพิบูลย์ไอศวรรย์ คือเรื่องพระราชบัญญัติอากรมรดก. ตอนหนึ่งในพระราชโทรเลขที่ทรงมีถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ ที่ได้อ้างถึงมาข้างต้นนั้น, ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า :
“เขา (คณะรัฐบาล) ได้ทำให้หม่อมฉันเซ็นพระราชบัญญัติอากรมฤดกโดยวิธีหลอกลวง เขาได้ทำให้หม่อมฉันเข้าใจว่าจะเสนอพระราชบัญญัติใหม่ แถลงความหมายแห่งพระราชสมบัติส่วนพระมหากษัตริย์ตามนัยที่หม่อมฉันได้วางไว้ให้ออกใช้เป็นกฎหมายโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้ ดั่งที่นายกรัฐมนตรีได้แจ้งไปตามโทรเลขของท่านลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม (๒๔๗๗) ร่างพระราชบัญญัตินี้ควรร่างขึ้นได้ภายในเวลาครึ่งชั่วโมง

แทนที่จะได้ทำเช่นนั้นกลับตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อร่างพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งจะทำให้หม่อมฉันอยู่ในฐานะเช่นเดียวกับฐานะของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ สภาพการณ์เช่นนี้หม่อมฉันจะยอมรับไม่ได้ สภาพการณ์ของทรัพย์สมบัติของกรมพระคลังข้างที่ในประเทศสยามไม่เหมือนกับพระราชทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์อังกฤษ หม่อมฉันเห็นว่าเป็นการพยายามที่จะดึงเอาความครอบครองกรมพระคลังข้างที่ไปจากหม่อมฉัน วิธีการเช่นนี้อาจเป็นที่พึงพอใจสำหรับผู้อื่นได้แต่ไม่ใช่สำหรับหม่อมฉัน และหม่อมฉันก็คงจะต้องทักท้วงพระราชบัญญัตินี้อีก…”

ที่มาของเรื่องนี้มีอยู่ว่า, ในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๔๗๗ รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติอากรมรดกและรับมรดก ซึ่งเมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแล้วก็ได้ลงมติให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย. อย่างไรก็ตาม, พระองค์ก็มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยโดยทันที, หากได้พระราชทานร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้กลับคืนมาให้สภาฯ พิจารณาอีกครั้ง, โดยทรงขอให้เพิ่มบทบัญญัติยกเว้นการเก็บอากรมรดกจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ให้ชัดแจ้งว่าไม่ต้องเสียอากรมรดก. พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะให้เติมข้อความต่อไปนี้ลงในร่างพระราชบัญญัติ :

“พระราชทรัพย์สินใดๆ ที่เป็นพระราชมฤดกไปยังผู้อื่นนอกจากผู้สืบราชสมบัติต้องเสียอากรมฤดก นอกจากนั้นเป็นพระราชทรัพย์ฝ่ายพระมหากษัตริย์ไม่ต้องเสียอากรมฤดก”

คณะรัฐมนตรียืนยันว่า ตามร่างพระราชบัญญัตินี้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ต้องเสียอากรมรดกอยู่แล้ว. เมื่อที่ประชุมสภาฯ ได้พิจารณาและลงมติด้วยคะแนนลับ ยืนยันตามร่างเดิมด้วยคะแนนเสียง ๑๓๒ ต่อ ๘๙ นายกรัฐมนตรีจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยอีกครั้งหนึ่ง. ในการนี้ทางรัฐบาลได้ให้หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ (พระยศในขณะนั้น) ไปอังกฤษเพื่อกราบบังคมทูลถวายรายงานด้วยว่า ร่างพระราชบัญญัตินั้นตรงกับพระราชประสงค์แล้ว คือจะไม่เรียกเก็บอากรจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์, และรัฐบาลจะร่างกฎหมายยกเว้นอากรดังกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในที่สุดได้ทรงยอมลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไปได้.

หลังจากนั้นมารัฐบาลก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติยกเว้นการเก็บอากรมรดกจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่ชัดเจนตามพระราชประสงค์, ดังสำเนาหนังสือที่รัฐบาลได้มีไปกราบบังคมทูลต่อไปนี้ :

ที่ ก. ๔๕๐๘/๒๔๗๗ สำนักนายกรัฐมนตรี
วันที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗
ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

ตามที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมีพระราชประสงค์ให้สภาผู้แทนราษฎรแก้ไขร่างพระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช ๒๔๗๖ เติมความลงให้ปรากฏชัดเจนในการยกเว้นพระราชสมบัติฝ่ายพระมหากษัตริย์ไม่ต้องเสียอากร แต่สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมปรึกษาลงมติยืนตามมติเดิมนั้น ในการอภิปรายของผู้แทนราษฎรก็ได้แสดงเห็นพ้องด้วยกับรัฐบาลว่า พระราชสมบัติฝ่ายพระมหากษัตริย์ไม่ต้องเสียอากรมฤดกเหมือนกันแต่เพื่อที่จะให้หลักฐานแน่นอนตามพระราชประสงค์ รัฐบาลจึ่งได้ดำริร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่พระราชสมบัติฝ่ายพระมหากษัตริย์ (Crown Property) ขึ้นอีกฉะบับหนึ่ง โดยมี๑. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เปนประธาน๒. หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ๓. เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์๔. พระยาวิกรมรัตนสุภาษ๕. เซอร์รอเบอร์ต ฮอลแลนด์๖. พระดุลยธารณ์ปรีชา ไวท์๗. นายชาลส์ เลเวกส์เปนกรรมาธิการของคณะรัฐมนตรี พิจารณาหลักการและยกร่างเป็นพระราชบัญญัติเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายคำมั่นว่าจะจัดการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้ต่อสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมสามัญปีนี้ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไปควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ข้าพระพุทธเจ้า

(ลงนาม)นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนานายกรัฐมนตรี

จากหนังสือนี้, ต่อมาในเดือนตุลาคมก็ได้ทรงมีพระราชโทรเลขกลับมามีความดังที่ยกมาข้างต้นนั้น. เพราะเหตุที่ทรงกล่าวว่าถูกหลอกลวงให้เซ็น, นายกรัฐมนตรีจึงขอให้ ม.จ.วรรณไวทยากร วรวรรณ ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯ. ในคำชี้แจงนั้น, ม.จ.วรรณไวทยากรก็ได้ทรงเล่าถึงการเข้าเฝ้า และย้ำในข้อที่ว่าพระมหากษัตริย์จะไม่ต้องเสียอากรมรดก, ซึ่งเป็นข้อที่มีพระราชประสงค์จะให้เป็นดังนั้น และรัฐบาลเองก็ต้องการให้เป็นดังนั้นอยู่แล้ว.

ถ้าเช่นนั้นปัญหาที่ทำให้ถึงกับต้องทรงออกพระโอษฐ์ว่าทรงถูก “หลอกลวง” คืออะไร?

อันที่จริงข้อความในพระราชโทรเลขนั้นเองก็ได้แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า หัวใจของปัญหาไม่ได้อยู่ที่พระราชบัญญัติอากรมรดกเลย, ไม่ได้อยู่ในข้อที่ว่าพระมหากษัตริย์จะต้องเสียอากรมรดกหรือไม่; นั่นไม่ใช่ปมขัดแย้งที่แท้ แม้ดูเสมือนว่าจะเป็น. แท้จริงหัวใจสำคัญของปัญหานั้นอยู่ที่สิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำ, นั่นก็คือ, “ดำริร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่พระราชสมบัติฝ่ายพระมหากษัตริย์ (Crown Property) ขึ้นอีกฉบับหนึ่ง”; พระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้, แทนที่จะร่างขึ้นง่ายๆ “ภายในเวลาครึ่งชั่วโมง” ตาม “นัย” ที่ทรงวางไว้, กล่าวคือ มีเนื้อเพียงว่าพระมหากษัตริย์ไม่ต้องเสียภาษี, รัฐบาลกลับตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างขึ้นมาใหม่ อันจะทรง “ยอมรับไม่ได้”.

พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์เพียงข้อความประโยคเดียว, ไม่ใช่พระราชบัญญัติใหม่ทั้งฉบับที่จะเข้าไปยุ่มย่ามกับพระราชทรัพย์ในพระคลังข้างที่!

พระราชบัญญัติฉบับใหม่ที่เกิดขึ้นมาโดยมิได้ทรงมีพระราชประสงค์, กับยังมีเนื้อหาที่ทรงเห็นว่าต่อไปอีกมิช้ามินานจะทำให้พระองค์ต้องทรง “อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับฐานะของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ” ฉบับนี้แหละ คือพระราชบัญญัติที่จะเรียกกันในเวลาต่อมาว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์”.

และคดีฟ้องร้องยึดพระราชทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นในอีก ๗ ปีข้างหน้าก็เริ่มขึ้นจากหวอดนี้เอง. คดียึดพระราชทรัพย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ”

ก่อนที่จะได้กล่าวถึงเนื้อหาของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวต่อไป ยังมีสิ่งที่ควรจะได้กล่าวถึงไว้ในที่นี้ด้วย.

ในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นกรณีขึ้นนี้, นอกจากพระราชโทรเลขที่อ้างถึงมาข้างต้นนั้นแล้ว ก็ยังมีเอกสารสำคัญอีก ๒ ฉบับที่ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรง. เอกสารทั้งสองฉบับนี้มิได้เป็นเอกสารทางราชการ, หากเป็นพระราชบันทึกที่ทรงทำขึ้นพระราชทานพระยาราชวังสันเป็นการส่วนพระองค์ ในช่วงเดือนกันยายนของปี ๒๔๗๗, กล่าวคือ ก่อนหน้าที่จะมีพระราชโทรเลขมาเล็กน้อย, เมื่อพระยาราชวังสันกราบบังคมทูลขอเป็นคนกลางระหว่างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับคณะรัฐบาล.

ความตอนหนึ่งในพระราชบันทึกฉบับที่ ๑ มีว่า :

“มีข่าวว่าจะเปลี่ยนรูปโครงการณ์ของกระทรวงวังใหม่ให้เหมือนราชสำนักอังกฤษ เรื่องนี้ได้ยินว่ารัฐบาลจะเก็บเป็นความลับจนกว่าฉันจะกลับถึงกรุงเทพฯ แล้วจึงจะดำเนินการ ซึ่งเดาได้ว่าการเปลี่ยนเหล่านี้คงจะเป็นไปในทางที่ฉันจะไม่พอใจ จึงต้องรอให้ได้ตัวไปขังไว้ในเมืองไทยเสียก่อนจึงจะดำเนินการ ในเรื่องนี้ต้องขอให้รัฐบาลเลิกล้มความดำริ หรือมิฉะนั้นต้องส่งโครงการณ์ที่คิดจะเปลี่ยนแปลงนี้มาให้ทราบเสียก่อนฉันกลับ มิฉะนั้นจะไม่กลับ…”

ส่วนพระราชบันทึกที่ ๒ ซึ่งตอนต้นเป็นเรื่องภาษีมรดก และตอนปลายเป็นเรื่องผู้ที่จะสืบราชสมบัติต่อไปหลังจากที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว, มีความตอนหนึ่งว่า :

“พระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ซึ่งอาจยินดียอมรับตำแหน่ง และฉันได้ทราบแน่นอนว่า มีความคิดความเห็นอยู่หลายอย่างในทางที่จะทำให้พระมหากษัตริย์กับคณะราษฎรหมดข้อบาดหมางกันได้ และดำเนิน Policy บางอย่างที่จะเป็นที่พอใจของคณะราษฎร เช่นจะยกสมบัติของพระคลังข้างที่ให้รัฐบาล และขอเงินก้อนประจำปีแทน จะเลิกทหารรักษาวังและยอมให้รัฐบาลตั้งข้าราชการในราชสำนักตามใจ วิธีการเหล่านี้ล้วนเป็นของที่ฉันเองยอมไม่ได้ และจะต้องวิวาทกับรัฐบาลอีกต่อไปอย่างแน่นอน เว้นแต่รัฐบาลจะผ่อนผันตาม”

“ข่าว” ที่ทรงได้รับนั้นจะทรงได้โดยทางใดหรือจะมีรายละเอียดมากน้อยเพียงไรไม่ปรากฏ. อย่างไรก็ดี, ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นเอง หลังจากได้ทราบความจากพระราชโทรเลขและพระราชบันทึกทั้งสองฉบับนี้แล้ว, รัฐบาลก็ได้ส่งคณะผู้แทนอันประกอบด้วยเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ, หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ และนายดิเรก ชัยนาม ไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ประเทศอังกฤษ.

นายดิเรก ชัยนาม ได้ทำบันทึกการเข้าเฝ้าถึงรัฐบาลว่า :

“ทรงรับสั่งว่าเรื่องหลักการ Crown Property เป็นอย่างไร คณะผู้แทนได้กราบบังคมทูลว่า ก่อนออกมาคราวนี้ได้มีการประชุมกรรมการครั้งที่ ๑ แล้ว ได้วางหลักการตามที่คณะรัฐมนตรีได้ถวายความเห็น ซึ่งได้ทรงเห็นชอบแล้ว คือ๑. พระราชทรัพย์ซึ่งจะตกทอดไปยังผู้สืบสันตติวงศ์นั้นไม่ต้องเสียภาษี๒. ที่ตกไปยังผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้สืบสันตติวงศ์นั้นต้องเสียเวลานี้คณะกรรมการได้ตกลงให้ Sir Robert Holland กับ M. L’evesque ไปจัดการร่างเบื้องต้นมา มิได้จัดการอย่างพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ การที่มิได้ร่างโดยเร็วก็เพราะเป็นพระราชบัญญัติที่ยากมาก และรัฐบาลหวังว่าถ้าเสด็จกลับไปร่วมมือในการร่างพระราชบัญญัตินี้ก็จะเป็นการเรียบร้อย แต่ในขั้นนี้อาจทำได้โดยวางหลักการไว้และทำ Inventory บัญชีสำรวจภายหลังก็ได้ ก็ทรงพอพระราชหฤทัยต่อจากนั้นได้ทรงรับสั่งว่า เหตุผลในการที่พระองค์ทรง Veto พระราชบัญญัตินั้นมีอยู่สองข้อ (๑) เป็นการทำลายฐานะของพระมหากษัตริย์ (๒) การใดที่ไม่ต้องด้วยความประสงค์ของราษฎรทั่วไปแล้ว ในสองข้อนี้จะต้อง Veto นอกจากนี้แล้วจะไม่ทรงใช้เลย”
การเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลคราวนี้ถึงจะไม่มีผลมากนัก แต่ก็ไม่ถึงกับล้มเหลวไปเสียทีเดียว, เพราะหลังจากนั้นมาเรื่องพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ก็มิได้เป็นประเด็นอีก, หากเป็นเรื่องอื่นและเรื่องอื่นต่อไป. ถึงที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้เสด็จกลับ และก็ทรงสละราชสมบัติในอีกสองเดือนต่อมา.

ข้อที่ทรงย้ำไว้ในหลายที่ว่ารัฐบาลกำลังจะทำให้พระองค์อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกษัตริย์อังกฤษด้วยการดึงเอาความครอบครองกรมพระคลังข้างที่ไปจากพระองค์นั้น ได้กลายเป็นข้อที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางท่านยกขึ้นมาอภิปรายอย่างรุนแรงอย่างถึงขั้นก้าวร้าว. ร.ท.ทองคำ คล้ายโอภาส ผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีถึงกับกล่าวว่า “…ที่นี้พระราชบันทึกของพระองค์ พระองค์ต้องการให้ประเทศเรามีการปกครองอย่างประชาธิปไตยอย่างประเทศอังกฤษแท้ๆ แต่พระองค์ก็บอกไว้ในนั้นเอง บอกแย้งในนั้นเองว่าจะให้ฉันทำอย่างพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษไม่ได้ ทีการปกครองละก้อจะเอาอย่างอังกฤษ แต่ไม่อยากจะเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ เพราะฉะนั้นก็เหลือที่จะทนทานเหมือนกัน.”

นั่นเป็นถ้อยคำที่ก้ำเกิน, แต่กระนั้นมันก็เป็นหลักฐานที่สะท้อนให้เราเห็นถึงบรรยากาศส่วนหนึ่งของเวลานั้น.

ประการหนึ่งที่เราต้องเข้าใจก็คือว่า, การที่ทรงรู้สึกว่ารัฐบาลกำลังจะดึงเอาความครอบครองพระคลังข้างที่ไปจากพระองค์เช่นนี้มิได้เป็นข้อที่ทรงรู้สึกเพียงเมื่อเกิดเรื่องนี้ขึ้นเท่านั้น, หากทรงระแวงพระราชหฤทัยมาตั้งแต่วันแรกๆ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินแล้ว, เพราะมีข่าวลือว่ารัฐบาลจะริบทรัพย์เจ้า. และไม่ใช่แต่ข่าวลือเท่านั้น, ตอนหนึ่งในคำประกาศของคณะราษฎรเองที่ว่า “เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น” นั้นก็มีกังวานอันน่าพรั่นพรึงอยู่.

ย้อนหลังไปสองปี, เมื่อตัวแทนของคณะราษฎรเข้าเฝ้าในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้ทรงมีพระราชปรารภในเรื่องนี้. ในเอกสารที่เจ้าพระยามหิธร ซึ่งทำหน้าที่ราชเลขาธิการได้บันทึกไว้ในวันนั้น มีความตอนหนึ่งว่า :

“ได้ทรงทราบข่าวเรื่องจะยึดเงินไม่ทราบว่าจะทำจริงหรือไม่เพียงไร ถ้าจะริบทรงขอลาออกเสียก่อน เพราะจะยอมเป็นหัวหน้าบอลเชวิคร่วมมือริบทรัพย์ญาติด้วยไม่ได้ เป็นยอมตาย ที่คณะราษฎรจะคิดหาเงินจากคนมั่งมีด้วย Taxation นั้นทรงยอมได้ แต่ในประกาศของคณะราษฎรที่พูดออกมานั้นทำให้ต่างประเทศมีความสงสัย ทรงขอบอกว่าเมืองไทยจะทำอย่างเมืองจีนไม่ได้ และจะเปรียบกับอาฟกานิสตานก็ไม่ได้ เพราะภูมิประเทศผิดกัน เมืองไทยประเทศใกล้เคียงเอาเรือรบมาเมื่อไรก็ได้ จึงทรงขอทราบว่าคณะราษฎรได้คิดดังนั้นจริงหรือ

พระยามโนปกรณ์ฯ กราบบังคมทูลว่า คณะราษฎรไม่ได้คิดดังนั้นเลย คิดจะหาเงินโดยทางภาษีกับทาง internal loan เท่านั้น

มีพระราชดำรัสว่า เมื่อได้รับคำยืนยันว่าไม่ริบทรัพย์ จะจัดทางภาษีและทางกู้เงินในประเทศจะทรงช่วยได้ พระคลังข้างที่มีอยู่ ๖ ล้านจะยอมให้…”

จากวันที่ ๓๐ มิถุนายนมาจนถึงเดือนมีนาคมปลายปี ๒๔๗๕ ข่าวลือทำนองนี้ก็ยังไม่ได้จางไป. ในพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๗๕ ถึงพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต พระราชโอรสบุญธรรม, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงเล่าถึงข่าวลือต่างๆ ที่กำลังแพร่สะพัด-อย่างน้อยก็ในหมู่เจ้านาย-ว่า :

“ข่าวลือหลังนี้ที่น่าเชื่อก็มีมาก และที่เหลวก็มี เสียงลือที่มีมาก็ว่าจะจับฉันเซ็นอะไรต่างๆ ในงานฉัตรมงคล เช่น เซ็นให้คณะราษฎรเปน dictator ถึงกับเตรียม cabinet ไว้แล้วด้วยซ้ำ เสียงลืออันนี้จึงน่าเชื่อมาก และพวกคณะราษฎรก็กลัวพวกคณะชาติจะลุกขึ้นเล่นอะไรเต็มทีแล้ว นอกจากนี้ก็ว่าจะให้ฉันยกพระคลังข้างที่ให้แก่ชาติให้หมด แล้วให้ abdicate เขาจะประกาศเปน republic และจะจับพวกเจ้าและตัวฉันขังไว้เปนตัวประกัน บางเสียงก็ว่าจะจับพวกเจ้าฆ่าให้หมด ซึ่งเห็นจะพูดมากไป เพราะถ้าทำดังนั้นฝรั่งก็เข้ามาแน่ พวกเจ้ากลัวกันมาก เลยหนีจากกรุงเทพเปนจำนวนมาก ข้าราชการที่หนีไปก็มีบ้าง”

และในพระราชหัตถเลขาฉบับเดียวกันนั้นเองก็ยังทรงกล่าวต่อไปอีกว่า,
“ฉันฉุนเหลือเกิน อยากเล่นบ้าอะไรต่างๆ จัง แต่กลัวนิดหน่อยว่าพวกเจ้าจะถูกเชือดคอหมดเท่านั้นเอง”, และ, “เราอยู่ที่นี่ก็คิดแปลนอะไรกันต่างๆ จนหัวยุ่งเสมอ แต่เรื่องแปลนเหล่านี้จะไม่เล่าเพราะกลัวถูกเปิดหนังสือ…”

ทั้งหมดนั้นมาจาก “ข่าว” ที่ทรงได้รับ, และทั้งหมดนั้นก็คือเรื่องที่ทรงกังวลพระราชหฤทัยมาจนตลอดรัชกาล.

ข้อที่ว่าทรง “อยากเล่นบ้า” ไม่ใช่เรื่องสำคัญในที่นี้, และปัญหาที่ว่า “ข่าว” นั้นจะจริงหรือเท็จก็ไม่ใช่ประเด็นที่เราจะต้องอภิปราย, ประเด็นสำคัญในที่นี้ก็คือเรื่องเงินจำนวน ๖ ล้านบาทในพระคลังข้างที่ที่ทรงมีพระราชดำรัสกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ นั้น.

ตรงนี้ต้องขยายความว่า, ที่มาของเงินจำนวนนี้คือ, เดิมในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ เงินก้อนนี้มีอยู่ ๑๐ ล้านบาท; ในเวลานั้นที่ปรึกษากระทรวงการคลังได้กราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิบัติ ๒ ประการ, คือ หนึ่ง ให้ซื้อที่ดินฝั่งธนบุรีตั้งแต่ปากคลองมอญลงไปเอาไว้เป็นของพระคลังข้างที่ โดยเก็บเอากำไรในภายหลัง, หรือสอง, ฝากในธนาคารต่างประเทศ. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกประการหลัง. ครั้นล่วงมาถึงในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงถอนมา ๔ ล้านบาท จึงเหลือเพียง ๖ ล้านบาทดังกล่าว.

จากกองเงินจำนวน ๖ ล้านบาทนี้เอง ที่พระพิบูลย์ไอศวรรย์ฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงชีพจากพระคลังข้างที่, และก็จากเงินกองเดียวกันนี้เองที่ทรงเห็นว่า หากพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ก็จะยกให้กับรัฐบาลเสีย.

แต่ข้อเท็จจริงข้อหนึ่งที่ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดในเวลานั้นทราบ-เว้นแต่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว-ก็คือ, ในช่วงเวลาที่ทรงมีปัญหาคับข้องพระราชหฤทัยในคณะราษฎรอย่างรุนแรงในปี ๒๔๗๗, ไม่ว่าจะในเรื่องพระพิบูลย์ไอศวรรย์ฟ้องร้องเรียกเงินเลี้ยงชีพจากพระคลังข้างที่ก็ดี, ในเรื่องรัฐบาลกำลังจะออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ก็ดี, รวมไปถึงเรื่อง “Policy” ของพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ก็ดี, เงินจำนวนดังกล่าวเกือบจะไม่เหลืออยู่ในบัญชีกรมพระคลังข้างที่แล้ว!

การร่อยหรอนั้นได้เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๕ เป็นต้นมา…

จริงอยู่, ภายในสัปดาห์แรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองยังทรงมีพระราชดำรัสกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาว่า ทรงยินดีจะให้รัฐบาลกู้เงินก้อนนี้ไปใช้บำรุงประเทศ, ทว่าหลังจากนั้นมาอีก ๑๘ วัน, ก็ได้ทรงเริ่มโอนเงินที่ฝากไว้ในต่างประเทศในนามกรมพระคลังข้างที่นี้เข้าบัญชีส่วนพระองค์เป็นระยะๆ. ผู้ที่เอาใจใส่ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ อาจสนใจที่จะเทียบวันเวลาว่า, ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๔๗๕, หรือก็คือก่อนหน้าวันที่จะทรงเริ่มโอนเงินที่ฝากไว้ในนามพระคลังข้างที่ ๒ สัปดาห์, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ฯ ต้องเสด็จออกนอกประเทศไปแล้ว.

จำนวนเงินโดยละเอียดนั้นเราจะกล่าวถึงอีกครั้งในตอนข้างหน้า, ต่อไปนี้เป็นเพียงจำนวนโดยคร่าวๆ เท่านั้น, คือ :

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๗๕ หนึ่งแสนสามหมื่นบาทเศษ,วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๗๕ สามแสนสองหมื่นบาทเศษ,วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๔๗๕ หนึ่งล้านหนึ่งแสนบาทเศษ,วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๔๗๕ ห้าแสนสี่หมื่นบาทเศษ,วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๔๗๕ เก้าหมื่นห้าพันบาทเศษ,วันที่ ๖ กันยายน ๒๔๗๕ สามแสนหนึ่งหมื่นบาทเศษ,วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๔๗๕ ทรงโอนเงินที่จะต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลอังกฤษ เข้าบัญชีของพระองค์หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นบาทเศษ,วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๗๕ ทรงถอนเงินจากบัญชีพระคลังข้างที่ไปทำประกันสามแสนบาท,วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๗๕ ทรงถอนเงินจากบัญชีพระคลังฯ ไปทำประกันอีกหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทเศษ,รายการสุดท้ายคือ, ในวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๗๗ ทรงโอนเงินก้อนสุดท้ายจากพระคลังข้างที่เข้าบัญชีส่วนพระองค์เป็นจำนวนเงินหนึ่งล้านบาทเศษ.

ที่พระพินิจธนากรอภิปรายในสภาฯ ว่า “ในเรื่องพระพิบูลย์ไอศวรรย์ถ้าท่านแพ้ท่านก็จะลาออก เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าผู้มีสติปัญญาอันน้อยไม่ทราบพระราชประสงค์ของท่านอันใดเลย” นั้น, “สติปัญญาอันน้อย” ของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ผู้นี้บางทีจะอยู่ตรงที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงข้อนี้นั่นเอง.

แม้พระยาพหลฯ จะได้กราบบังคมทูลไว้ในเดือนสิงหาคม ๒๔๗๗ แล้วว่า “จะจัดการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้ต่อสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมสามัญปีนี้”, แต่ในทางเป็นจริงการณ์ก็มิได้เป็นไปโดยเร็วเช่นนั้น. การที่พระราชบัญญัติว่าด้วยทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ฉบับนี้ต้องล่าช้านั้น, หากกล่าวตามที่คณะผู้แทนรัฐบาลได้กราบบังคมทูลเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้า ณ ที่ประทับในอังกฤษในเดือนธันวาคม ก็คือ “การที่มิได้ร่างโดยเร็วก็เพราะเป็นพระราชบัญญัติที่ยากมาก.”

นอกจากความที่ “ยากมาก” แล้ว, เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องกันมาก็ทำให้การร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ต้องยืดเยื้อออกไปอีก, โดยในเดือนมีนาคมของปีนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสละราชสมบัติ. ในที่สุดร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงได้ยื่นเข้าสู่สภาฯ เอาในเดือนสิงหาคม ๒๔๗๘ และได้ประกาศใช้ในปีถัดมา. พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙”, โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นต้นไป.
ไม่มีใครทราบว่าพระราชบัญญัติที่จะโอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้ไปอยู่ในความดูแลของรัฐบาลฉบับนี้หรือไม่ ที่ทำให้กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องปลงพระชนมชีพพระองค์เองในอีกราวสองเดือนหลังนั้น, เพราะไม่อาจทรงทนต่อแรงกดดันจากรอบข้างต่อไปได้.ใจความสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้มีดังนี้ :

“มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” หมายความว่าทรัพย์สินหรือสิทธิอันติดอยู่กับทรัพย์สิน ซึ่งมีอยู่หรือเกิดขึ้นในส่วนใดๆ แห่งราชอาณาจักร ถ้าก. ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้นเป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วในเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และพระองค์ทรงมีสิทธิที่จะจำหน่ายสิ่งนั้นได้ก่อนครองราชสมบัติข. ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้นได้ตกมาเป็นของพระองค์ในเมื่อหรือภายหลังแต่เวลาที่ครองราชสมบัติโดยทางใดๆ จากบรรดาพระราชบุพการีใดๆ หรือกับบุคคลใดๆ ซึ่งไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรนี้ค. ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้นได้มาหรือซื้อมาจากเงินส่วนพระองค์“ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” หมายความว่าทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่าพระราชวัง

“ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” หมายความว่าทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้ว

มาตรา ๕ ทรัพย์สินส่วนพระองค์, ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคนั้นให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวังทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวไว้ในวรรคก่อน ให้อยู่ในความดูแลรักษาของกระทรวงการคลัง โดยปรึกษาคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และกรรมการอีก ๔ นายซึ่งจะได้ตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุมัติมาตรา ๖ รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในความดูแลรักษาของกระทรวงการคลังตามความในมาตรา ๕ วรรค ๒ นั้น เมื่อได้หักรายจ่ายที่จ่ายตามข้อผูกพันอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน (รวมทั้งบำเหน็จบำนาญถ้ามี) เงินค่าใช้สอย เงินการจร และเงินลงทุนอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินพระราชกุศลออกแล้ว ให้นำทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงใช้จ่ายในฐานที่ทรงเป็นประมุข

มาตรา ๗ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุมัติเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

มาตรา ๘ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ย่อมไม่อยู่ในข่ายแห่งความยกเว้นดังกล่าว”

เรื่องการเก็บภาษีในทรัพย์สินของพระเจ้าแผ่นดินนี้ ควรจะได้กล่าวลงไว้เสียด้วยว่ามิได้เป็นของใหม่แต่อย่างใด, หากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงมีพระราชดำริมาก่อนแล้วเป็นเวลานาน. ในคำบรรยายกฎหมายปกครองของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ในปี ๒๔๗๔ ก็ได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นตัวอย่างถึงเรื่องการเสมอภาคในหน้าที่, โดยกล่าวอ้างอิงไว้ว่า :

“ในเรื่องนี้ควรระลึกถึงพระมหากรุณาในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๖ ซึ่งได้พระราชทานลายพระราชหัตถเลขามายังเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าดังนี้

(สำเนาลายพระราชหัตถเลขา)
ที่ ๓/๔๙
วันที่ ๑๕ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๑

ถึงเจ้าพระยายมราชด้วยแต่ก่อนๆ มาการเก็บภาษีที่ดินและโรงร้าน กรมพระคลังข้างที่ยังไม่ได้เคยเสียภาษีให้กับเจ้าพนักงานสรรพากรเลย บัดนี้ฉันมาไตร่ตรองดูเห็นว่าทรัพย์สมบัติของฉันทั้งหลายที่เป็นส่วนตัว ก็เท่ากับเป็นทรัพย์สมบัติของคนธรรมดาคนหนึ่ง แต่เหตุใดฉันมาเอาเปรียบแก่คนทั่วไป ซึ่งดูไม่เป็นการสมควรเลย ส่วนของของผู้อื่นจะไปเก็บเอากับเขา ของของเราจะเกียดกันเอาไว้ เพราะคนธรรมดาทั่วไปใครมีทรัพย์สมบัติเป็นที่ดินหรือโรงร้าน เมื่อถึงคราวที่เจ้าพนักงานจะเก็บภาษีเขาก็ต้องเสียภาษีให้กับเจ้าพนักงานตามส่วนมากและน้อยของทรัพย์สมบัติที่เขามีอยู่ ตัวฉันเองถ้านอกจากในทางราชการแล้ว ฉันก็ถือว่าฉันเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ทรัพย์สมบัติของฉันที่มีอยู่ก็นับว่าเป็นส่วนมาก ถ้ารัฐบาลจะแบ่งผลประโยชน์ของฉันที่ได้มาจากทรัพย์สมบัติทั้งหมดนั้นบ้าง ฉันมีความยินดีเต็มใจที่จะเฉลี่ยให้เป็นการอุดหนุนชาติและบ้านเมืองอย่างคนสามัญด้วยเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอให้เจ้าพระยายมราชเก็บภาษีอากรในที่ดินและโรงร้าน ซึ่งนับว่าเป็นสมบัติของส่วนตัวฉันเอง อย่างเช่นที่ได้เคยเก็บมาจากคนอื่นๆ ทั่วไปนั้น

สยามินทร์”

การที่รัฐบาลเข้าไปจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้นมานี้ มีเรื่องที่ควรจะได้กล่าวถึงอยู่สองเรื่อง ซึ่งแม้จะมิได้เกี่ยวข้องกับคดียึดพระราชทรัพย์ แต่ก็เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินส่วนนี้เพื่อประโยชน์แห่งตนของคนกลุ่มหนึ่งที่มีส่วนถือครองอำนาจในเวลานั้น.

เรื่องแรกเป็นเรื่องอื้อฉาวที่จะเรียกกันต่อมาว่า “กรณีที่ดินพระคลังข้างที่” ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้ไม่นานนัก.

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นายเลียง ไชยกาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ได้ยื่นกระทู้ถามรัฐบาลเมื่อปรากฏว่าได้มีการขายที่ดินอันเป็นของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้กับผู้ก่อการบางคนกับพรรคพวก ด้วยราคาที่ถูกอย่างผิดปรกติ. บุคคลที่ซื้อที่ดินเหล่านี้มีหลวงพิบูลสงคราม, หลวงยุทธศาสตร์โกศล, นายวิลาศ โอสถานนท์, พระดุลยธารณ์ปรีชาไวท์ เป็นต้น. ถ้าจะกล่าวตามที่ ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน หรือ “ท่านชิ้น” ทรงชี้ให้เห็นไว้ในบทความเรื่อง “The Development of Siamese Politics” แล้ว, บรรดาพวกที่ซื้อที่ดินนั้นก็เป็นพวกที่สังกัดอยู่ในกลุ่มของหลวงพิบูลสงครามเสียเป็นส่วนมาก.

ผลจากการตั้งกระทู้และการเปิดอภิปรายทั่วไปคราวนี้ก็คือ รัฐบาลพระยาพหลฯ ต้องลาออกในวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๔๘๐ และคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งรู้เห็นยินยอมในการซื้อขายที่ดินส่วนนี้ต้องถูกประณามอย่างหนักจนต้องลาออกในที่สุด.

เรื่องต่อมาคือเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวง. ในงานเขียนสำหรับเสนอต่อรัฐบาลอังกฤษเพื่อเตรียมการสร้างขบวนการเสรีไทยในต่างแดนเรื่องเดียวกับที่อ้างข้างต้นนั้น, ม.จ.ศุภสวัสดิ์ฯ ได้ทรงกล่าวถึงการวางแผนเพื่อก้าวขึ้นมามีอำนาจของหลวงพิบูลสงครามในสมัยรัฐบาลพระยาพหลฯ ว่า, หลวงพิบูลฯ ได้จัดการส่งคนของตนเข้าควบคุมกรมกองต่างๆ ของรัฐบาล, ตลอดจนให้ทหารชั้นผู้น้อยเป็นข้าหลวงหรือตำแหน่งสูงอื่นๆ ที่ควบคุมการเงิน. และในส่วนของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่เพิ่งจัดระเบียบกันใหม่ๆ นั้น…

“สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของนายทหารชั้นผู้น้อยคนหนึ่ง, ซึ่งเขาผู้นั้นได้สั่งให้สร้างตึกใหม่ๆ ที่ใหญ่โตขึ้นมา โดยอ้างว่าเพื่อความงดงามของบ้านเมือง, และผลจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงของเขาก็คือ บรรดาตึกเหล่านั้นอยู่ได้ไม่ถึงห้าปีก็ค่อยพังลงมาทีละตึกสองตึก. การสร้างถนนหนทางและสิ่งอื่นๆ ก็ทำกันขึ้นมาในแบบเดียวกัน. อย่างไรก็ดี, ในการนี้หลวงประดิษฐ์ [มนูธรรม] และพระยาทรง [สุรเดช] กับพวกสานุศิษย์หาได้มีส่วนรู้เห็นด้วยไม่.”

ทั้งสองเรื่องนี้คือเรื่องที่พลอยตามมากับการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ในช่วงแรก, และก็คือเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอหลังการปฏิวัติ ไม่ว่าจะในที่ใดและสมัยใด.

กลับมาที่เรื่องการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์-เมื่อทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลังดังที่พระราชบัญญัติกำหนดไว้ดังกล่าว, กระบวนการปฏิบัติงานต่อมาของรัฐบาลก็คือ ตั้งกรรมการชุดหนึ่งขึ้นตรวจสอบบัญชี. ในการตรวจสอบนั้นเอง, คณะกรรมการชุดนี้ก็ได้พบว่าเงินหลายจำนวนถูกสั่งจ่ายไปโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ครั้งยังมิได้สละราชสมบัติ. เมื่อการตรวจสอบจบสิ้นลง,ในปี ๒๔๘๒ กระทรวงการคลังก็ได้มอบเรื่องราวให้แก่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ได้ทรงโอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไปเป็นของส่วนพระองค์โดย “ไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ.”

อัยการยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒, โดยในวันที่ ๑๓ กันยายนปีเดียวกันนั้นก็ได้ยื่นคำร้องขอแก้คำฟ้อง. การแก้นั้นเข้าใจว่าจะแก้ในส่วนรายละเอียดของวันที่และจำนวนเงิน, เพราะเมื่อเทียบกันระหว่างความที่ปรากฏในคำฟ้องลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม กับที่ปรากฏในตอนต้นของคำพิพากษาลงวันที่ ๓๐ เดือนกันยายน ปี ๒๔๘๔ มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง.

เพื่อความสะดวกสำหรับในที่นี้จะขอคัดส่วนต้นของคำพิพากษาซึ่งเป็นการสรุปคำฟ้องมาลงไว้แทน, ดังนี้ :

“โจทก์ยื่นคำฟ้องลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๔๘๒ แลยื่นคำร้องขอแก้คำฟ้องในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๘๒ ประมวลเป็นใจความว่า ในระหว่างที่จำเลยที่ ๑ เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ และจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นพระชายาทรงเป็นพระบรมราชินี จำเลยได้โอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไปเป็นพระนามของจำเลยทั้งสองโดยจำเลยไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินไทยชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๔ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ

ก. คอนโซลส์อังกฤษราคา ๑๐๐,๐๐๐ ปอนด์ ซึ่งกรมพระคลังข้างที่ได้ซื้อไว้แต่ครั้งในรัชชกาลที่ ๕ และเป็นทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ตกทอดตลอดมา มีชื่อพนักงานฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงก์ กรุงลอนดอนเป็นผู้ถือไว้ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้จัดการโอนให้พนักงานฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงก์ กรุงลอนดอนเป็นผู้ถือไว้ในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนในขณะโอน ๑,๐๘๙,๓๖๑ บาท ๗๐ สตางค์

ข. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงก์ กรุงลอนดอน ๕๐,๐๐๐ ปอนด์ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนในขณะโอน ๕๔๔,๖๘๐ บาท ๘๕ สตางค์

ค. เงินภาษีรายได้จากคอนโซลส์อังกฤษ ซึ่งกรมพระคลังข้างที่ได้เสียให้แก่เจ้าพนักงานประเมินภาษีของอังกฤษ แล้วภายหลังเรียกคืนมาเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นจำนวนเงิน ๑,๐๔๕ ปอนด์ ๑๔ ชิลลิงส์ ๗ เพนส์ อันเป็นเงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ แต่หม่อมเจ้าดำรัสดำรง เทวกุล อัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนในขณะนั้นได้นำฝากไว้ในพระนามของจำเลย ซึ่งจำเลยทรงเห็นชอบด้วย คิดเป็นเงินไทยตามอัตราในขณะฝาก ๑๑๓,๘๐๐ บาท ๗๑ สตางค์

ง. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะแนชชั่นแนลซิตี้แบงก์ กรุงนิวยอร์ค จำนวน ๓๖๗,๖๕๓ เหรียญ ๘๔ เซ็นต์ ในนามกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเวลาโอน ๑,๑๓๑,๒๔๒ บาท ๕๘ สตางค์

จ. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงก์ กรุงลอนดอน จำนวน ๑๑,๙๕๑ ปอนด์ ๘ ชิลลิงส์ ๘ เพ็นส์ ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนขณะโอน ๑๓๐,๑๙๔ บาท ๓๔ สตางค์

ฉ. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะชาร์เตอร์แบงก์ กรุงลอนดอน จำนวน ๒๘,๕๕๔ ปอนด์ ๓ ชิลลิงส์ ๓ เพ็นส์ ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนขณะโอน ๓๑๑,๐๕๘ บาท ๑๑ สตางค์

ช. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะแนชชั่นแนลแบงก์ กรุงลอนดอน จำนวน ๒๙,๔๓๐ ปอนด์ ๖ ชิลลิงส์ ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนขณะโอน ๓๒๐,๖๐๒ บาท ๔๒ สตางค์

ซ. เงินทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ได้ฝากไว้ณะชาร์เตอร์แบงก์ สิงคโปร์ จำนวน ๗๕,๐๗๗ เหรียญ ๕๙ เซ็นต์ ในนามของกรมพระคลังข้างที่ จำเลยได้โอนไปฝากในพระนามของจำเลยเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ คิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนขณะโอน ๙๕,๐๓๔ บาท ๙๒ สตางค์ครั้นเมื่อจำเลยที่ ๑ ได้สละราชสมบัติในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ แล้ว จำเลยถือเอาทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของจำเลย ไม่คืนหรือใช้ให้แก่โจทก์ หรือทบวงการเมืองใดๆ ที่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์

ฌ. ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ จำเลยได้ทำสัญญาประกันพระชนมชีพไว้กับบริษัทแมนูแฟกเจอเรอส์ไลฟ์อินชัวรันส์ โดยวิธีส่งเงินครั้งเดียวองค์ละแสนเหรียญอเมริกัน จำเลยได้เอาเงินอันเป็นทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์จ่ายไปเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท

ญ. และในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้นเอง จำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาประกันพระชนมชีพไว้กับบริษัทเดียวกันนั้นเป็นจำนวนเงิน ๑๗,๐๐๐ ปอนด์ โดยส่งเงินครั้งเดียวเป็นจำนวนเงิน ๑๔,๗๖๑ ปอนด์ โดยจำเลยที่ ๑ ได้เอาเงินอันเป็นทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์จ่ายไปเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นจำนวน ๑๕๙,๘๒๐ บาท ๒๖ สตางค์จำเลยได้มีคำสั่งให้บริษัทจ่ายเงินที่จำเลยควรได้รับตามสัญญาเข้าในบัญชีเงินฝากของจำเลยณะธนาคารในกรุงลอนดอนและกรุงนิวยอร์ค เป็นการกระทำให้เกิดผลโอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์มาเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของจำเลย โดยไม่มีอำนาจอันชอบด้วยกฎหมายทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่จำเลยโอนและจ่ายไปเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของจำเลยดังกล่าวแล้วทั้งหมดรวมเป็นจำนวน ๔,๑๙๕,๘๙๕ บาท ๘๙ สตางค์ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนหรือใช้ให้แก่โจทก์ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ และจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อีกร้อยละ ๗ ๑/๒ ต่อปี นับแต่วันที่โอนและจ่ายจนถึงวันฟ้อง เป็นจำนวนทั้งหมด ๒,๐๒๕,๓๕๑ บาท ๗๐ สตางค์

โจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวนนี้กับดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์ และให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗ ๑/๒ ต่อปี ในต้นเงินกับดอกเบี้ยที่ค้างถึงวันฟ้องตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ”

ทั้งหมดนี้รวมเป็นเงิน ๖,๒๒๑,๒๔๗ บาท ๕๙ สตางค์.นอกจากฝ่ายโจทก์จะได้ฟ้องมีเนื้อหาดังที่คัดมานี้แล้ว, ในคำฟ้อง โจทก์ยังยื่นฟ้องอีกว่า :

“๑. ปรากฏว่าเมื่อวันที่ ๑๑ เดือนนี้ จำเลยที่ ๑ ได้โอนขายที่ดินโฉนดที่ ๔๕๓๒๐ อำเภอดุสิต พระนคร ของจำเลยให้แก่ ม.จ.รัตยากร วิสุทธิ ไปเป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท

๒. และเมื่อวันที่ ๑๒ เดือนเดียวกัน จำเลยที่ ๑ ให้ผู้ไปขอกรมที่ดินและโลหกิจ พระนครและธนบุรี ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินอีก ๘ แปลง ตามบัญชีที่ได้แนบมาข้างท้ายนี้ ให้แก่ ม.จ.อุปลีสาณ ชุมพล ราคา ๑๒๘,๓๒๐ บาท

๓. การกระทำของจำเลยดังกล่าวในฟ้อง เป็นการตั้งใจโอนของจำเลยไปให้พ้นอำนาจศาล ซึ่งจะออกบังคับเอากับจำเลย และเพื่อฉ้อโกงโจทก์ และนอกนั้นตัวจำเลยก็อยู่นอกจากอำนาจศาล

๔. เพราะฉะนั้นเป็นการจำเป็นที่โจทก์ต้องร้องขอต่อศาล เพื่อจัดการให้มีวิธีคุ้มครองตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๕๔ มิให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ โดยสั่งให้ยึดทรัพย์หรือ
อายัดทรัพย์สินของจำเลยไว้ทั้งหมด รวมทรัพย์ของบุคคลภายนอก ซึ่งครบกำหนดที่จะชำระแก่จำเลยด้วย

๕. และโดยที่มีกรณีฉุกเฉิน ถ้าศาลจะดำเนินการพิธีพิจารณาภาควิสามัญ จะเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์มากมาย โดยจำเลยกำลังพยายามจะโอนทรัพย์ของจำเลยเอง และจำเลยอยู่นอกอำนาจศาล ฉะนั้นขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองตามคำขอของโจทก์ข้อ ๔ โดยมิชักช้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งมาตรา ๒๖๖-๒๖๗ นั้น”

คำร้องให้ยึดทรัพย์จำเลยโดยเกรงว่าจำเลยจะทำการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินนี้ ทางศาลแพ่งอันมีพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ (สุข เลขยานนนท์) เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งไม่เห็นด้วย จึงมีคำสั่งให้ยกฟ้องคำร้องเสีย. อีก ๓ วันต่อมาทางฝ่ายโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอยึดทรัพย์จำเลยอีกครั้งหนึ่ง โดยในคราวนี้ได้ยื่นเป็นคำร้องธรรมดา แต่ศาลแพ่งก็สั่งให้ยกคำร้องของโจทก์อีก. โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งของศาลแพ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาให้กลับคำสั่งของศาลแพ่ง.

เมื่อศาลสั่งอนุญาตตามคำร้องของโจทก์เช่นนั้น, นาวาอากาศเอกหลวงกาจสงคราม (เทียน เก่งระดมยิง) รัฐมนตรีผู้หนึ่งในคณะรัฐบาลเวลานั้น และมีตำแหน่งเป็นกรรมการตรวจรับงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็นำเจ้าหน้าที่กองหมายและเจ้าหน้าที่รัฐบาลเข้าวังศุโขทัย. และนับแต่วาระนั้นเป็นต้นมาสำนักงานผลประโยชน์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ตกอยู่ในความควบคุมของกองหมายโดยคำสั่งศาลตลอดมาจนถึงวันพิพากษาคดี.

คุณหญิงมณี สิริวรสาร กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า :

“เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยึดทรัพย์ของจำเลยจนหมดสิ้นแล้ว ฝ่ายจำเลยก็หมดกำลังทรัพย์ทางกรุงเทพฯ ที่จะต่อสู้คดีอีกต่อไป และเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า พระสุทธิอรรถฯ ผู้พิจารณาคดีนี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจและเป็นอิสระตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หลังจากที่ได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์เสียสองครั้งแล้วก็มีอันเป็นไป คือถูกย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็ถูกคำสั่งให้ปลดออกจากราชการในเวลาต่อมาโดยปราศจากความผิดใดๆ…”

ฝ่ายจำเลยจะหมดกำลังทรัพย์อย่างที่คุณหญิงมณีกล่าวหรือไม่ เราไม่ทราบ, แต่ความจริงมีอยู่ว่าฝ่ายจำเลยสู้คดี และสู้ตลอดมาจนศาลพิพากษา. ในการต่อสู้คดีนี้ฝ่ายจำเลยมีหม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล เป็นตัวแทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมีมิสเตอร์ V.H. Jakes ชาวอังกฤษ ซึ่งเปิดสำนักงานทนายความอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นทนายความ. ส่วนทางอังกฤษพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงปรึกษาวิธีการต่อสู้คดีกับมิสเตอร์ R.D. Craig ที่ปรึกษากฎหมายของพระองค์ และร่วมบริษัทว่าความบริษัทเดียวกันกับมิสเตอร์เจกส์ ด้วย. ไม่ช้าไม่นานต่อมาที่ปรึกษากฎหมายของพระองค์ก็มายังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมมือกับทนายที่นี่ในประเด็นสำคัญบางประเด็น แล้วนำไปกราบบังคมทูลรูปคดีแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่อังกฤษ.

คำให้การต่อสู้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ตามที่ปรากฏในคำพิพากษา มีดังนี้ :

“จำเลยทั้งสองให้การต้องกันรับว่า โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๔๗๙ และจำเลยที่ ๑ ได้เคยเสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ และได้สละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ จำเลยที่ ๒ เป็นพระราชชายาของจำเลยที่ ๑ และได้ทรงเป็นพระบรมราชินีในระหว่างที่จำเลยที่ ๑ เสวยราชสมบัติ ข้ออ้างของโจทก์นอกจากที่กล่าวแล้วจำเลยขอปฏิเสธนอกจากนี้จำเลยทั้ง ๒ ให้การต่อสู้ว่า

๑. การกระทำที่โจทก์ฟ้องได้กระทำในระหว่างที่จำเลยที่ ๑ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ ๑ ในขณะที่เป็นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ฉะนั้นโจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ไม่ได้

๒. หากได้มีการกระทำผิดดังโจทก์ฟ้องซึ่งจำเลยขอปฏิเสธ ก็เป็นความผิดในลักษณะลาภมิควรได้ หรือมิฉะนั้นต้องถือว่าเป็นความผิดในลักษณะละเมิด ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

๓. โจทก์อ้างว่าผู้ครอบครองทรัพย์สินรายพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายได้ถูกจำเลยรบกวนและแย่งในการปกครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ที่อ้างว่ามีสิทธิครอบครองทรัพย์สินที่ว่านี้มิได้นำความขึ้นฟ้องร้องยังโรงศาลภายใน ๑ ปี ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

๔. บรรดาทรัพย์สินต่างๆ ที่โจทก์อ้างว่าได้โอนหรือฝากไว้ในพระนามของจำเลย ถ้ามีจริงจำเลยก็ได้ครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลา ๕ ปีกว่า จำเลยจึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ว่านี้ตามกฎหมายแล้วก่อนโจทก์นำคดีขึ้นฟ้องร้อง

๕. หากจะถือว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ และได้มีการโอนและใช้ทรัพย์สินตามที่กล่าวในฟ้อง การโอนและการใช้นี้เป็นไปตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงานรัฐบาล คำสั่งนี้ย่อมผูกมัดโจทก์ จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ

๖. แม้จะปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ได้เป็นผู้จัดการโอนและใช้ทรัพย์สินดังโจทก์อ้าง จำเลยที่ ๑ ก็มีอำนาจเต็มบริบูรณ์ที่จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย

๗. สำหรับเงินภาษีรายได้จากคอนโซลส์อังกฤษ ซึ่งเรียกคืนมาได้ตามกฎหมายอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษยอมคืนเพียงแต่ให้จำเลยที่ ๑ เองเท่านั้น จะไม่ยอมคืนให้แก่รัฐบาลแห่งประเทศไทย หรือโจทก์ หรือบุคคลอื่นใดเลย โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และหามีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินนี้ไม่

๘. หากจะถือว่าจำเลยได้จัดการโอน และเข้าครอบครองและรับทรัพย์ที่กล่าวในฟ้องโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ก็ดี (ซึ่งจำเลยขอปฏิเสธ) และฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยก็ได้กระทำเช่นนั้นโดยสุจริต เชื่อว่ามีสิทธิตามกฎหมายที่จะทำได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเพียงแต่ส่วนแห่งทรัพย์สินที่ยังคงมีอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง และจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยเลย

๙. จำเลยที่ ๒ ต่อสู้อีกข้อหนึ่งว่า จำเลยที่ ๒ มิได้เกี่ยวข้องกับการจัดการโอนทรัพย์สินตามคำฟ้องของโจทก์แต่อย่างใดๆ เลย ทั้งมิได้รับทรัพย์สินใดๆ ซึ่งจำเลยไม่ชอบที่จะได้รับ”

คดีนี้ใช้เวลาอยู่ ๒ ปีเศษ. ในวันที่ ๓๐ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ศาลก็ได้ตัดสินให้พระองค์ทรงแพ้คดี; พระองค์จะต้องคืนเงินจำนวน ๖,๒๒๑,๒๔๗.๕๙ บาทให้กับพระคลังข้างที่.

แต่พระองค์ก็ไม่อาจทรงทราบได้ถึงผลการตัดสิน เพราะก่อนหน้านั้น ๔ เดือน, ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พระองค์ได้เสด็จสวรรคตไปแล้วในประเทศอังกฤษ, คงเหลือแต่เพียงสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี จำเลยที่ ๒ เพียงพระองค์เดียว…

อีก ๓๒ ปีให้หลังนับแต่วันที่ศาลได้ตัดสินให้ทรงแพ้คดี, สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่นักข่าว, ดังปรากฏในหนังสือ เบื้องแรกประชาธิปตัย ว่า :

“ก่อนที่จะเสด็จไปอังกฤษในหลวงจึงทำหนังสือมอบให้ว่า ให้เอาเงินที่สะสมไว้นั้นมาทดแทนที่จะทรงเบิกเงินแผ่นดินที่มีอยู่ในเมืองนอกเป็นการชดเชยกัน เงินที่อยู่ในเมืองนอกนั้นเป็นเงินกองกลางสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์จะเบิกมาใช้ได้ ที่ในหลวงต้องทรงทำเช่นนี้ก็เพราะไม่ทราบว่าจะต้องประทับอยู่นานเท่าใด เงินที่จะเอาติดตัวไปก็น้อย และเมื่อไปแล้วจะให้ส่งไปก็ส่งไม่ได้ เงินในเมืองนอกที่ว่านี้มีมาแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะฉะนั้นเงินส่วนของวังศุโขทัยที่ว่านี้ก็เป็นเงินที่ใช้ทดแทนกันนั่นเอง แต่แล้วก็กลายเป็นเรื่องถึงฟ้องร้องกันในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นแล้วเอกสารของในหลวงที่ทรงไว้เกี่ยวกับการทดแทนกันก็หากันไม่พบ ไม่มีใครรู้ว่ามันหายไปไหน”

ด้วยเวลาที่ผ่านไปหลายสิบปีบางทีจะทำให้ทรงจำรายละเอียดคลาดเคลื่อนไปบ้าง, กล่าวคือ, เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปอังกฤษในช่วงปลายปี ๒๔๗๖ นั้น ได้ทรงทยอย “เบิกเงินแผ่นดินที่มีอยู่ในเมืองนอก” มาก่อนหน้านั้นแล้วถึง ๑๘ เดือน, หาใช่ “ที่จะทรงเบิก” ไม่.

อย่างไรก็ตาม, เหตุผลข้อนี้ก็มิได้มีการแถลงในศาล-ไม่ว่าจะโดยพระองค์เองหรือโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. น่าเสียดายว่า, ไม่มีใครรู้ว่าเอกสารของในหลวงหายไปไหน, หาไม่การณ์ก็คงจะไม่เป็นไปถึงเช่นนี้. กระนั้นก็ดี, แม้ทางฝ่ายโจทก์จะมิได้เห็นและทางฝ่ายจำเลยเองก็มิได้อ้างถึงเอกสารนี้, หากการปฏิบัติตามวิธีกฎหมายก็มีผลเช่นกัน, นั่นก็คือ, รัฐบาลได้ยึดวังศุโขทัยและทรัพย์สินที่ประเมินราคารวมกันได้ราว ๖ ล้านไว้เป็นการทดแทนเงินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโอนจากบัญชีพระคลังข้างที่ไปไว้ในพระนามของพระองค์.

๕.เมื่อศาลได้ตัดสินให้ทรงแพ้คดีแล้ววังศุโขทัยซึ่งทางรัฐบาลตีราคาไว้ ๓ ล้านบาทก็ถูกยึด, และการ “ริบทรัพย์” อื่นๆ เพื่อนำไปขายทอดตลาดก็ตามมา, ดังประกาศต่อไปนี้ :

(ครุฑ)ประกาศขายทอดตลาดกองบังคับคดีทางแพ่ง

เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยในคดี ระหว่างกระทรวงการคลัง โจทก์ สมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่ ๑ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีที่ ๒ จำเลย ตามคำสั่งศาลแพ่ง ที่กองบังคับคดีทางแพ่งกระทรวงยุตติธรรม ตั้งแต่วันที่ ๘ ถึงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๔๘๕ เริ่มขายเวลา ๙.๓๐ นาฬิกา ทุกวัน.ทรัพย์ที่จะขายคือ :- สิ่งของ ทอง นาก เงิน รูปพรรณประดับเพ็ชร์ พลอย มรกต ทับทิม เช่น แหวน เข็มขัด หีบบุหรี่ ซองบุหรี่ พาน โถปริก กะโถน เชี่ยนหมาก เป็นต้น กับสิ่งของอื่นๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งหุ้นบริษัทรถไฟแม่กลองจำกัด หุ้นบริษัทไฟฟ้าไทยจำกัด หุ้นบริษัทไทยประกันภัยจำกัด ซึ่งจะขายในวันที่ ๑๘ มกราคม ผู้ใดต้องการทราบรายละเอียดจะขอดูได้ที่กองบังคับคดีทางแพ่งในเวลาราชการ
ประกาศมา ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔

สารกิจปรีชา หัวหน้ากองบังคับคดีทางแพ่ง

ประกาศขายทอดตลาดฉบับนี้ทางกองบังคับคดีทางแพ่งได้ส่งให้หนังสือพิมพ์ ๓ ฉบับ คือ ข่าวภาพ, ศรีกรุง และ ประชาชาติ, โดยกำหนดให้ ข่าวภาพ ลงโฆษณาในวันที่ ๒๕, ๒๖, ๒๗ ธันวาคม, ศรีกรุง ลงวันที่ ๒๙, ๓๐, ๓๑ ธันวาคม, ส่วน ประชาชาติ จะลงในฉบับหลังปีใหม่ไปแล้ว คือฉบับวันที่ ๑, ๒ และ ๓ มกราคม.

นอกจากประกาศทางสาธารณะนี้แล้ว ทางกองบังคับคดีทางแพ่งยังได้จัดทำบัญชีรายการสิ่งของที่จะขายโดยละเอียดด้วย. บัญชีนี้ได้ส่งไปยังบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือทางฝ่ายตัวแทนโจทก์มีหลวงกาจสงคราม, นายแนบ พหลโยธิน, พระยาชาติเดชอุดม, และนายร้อยโทขุนนิรันดรชัย ผู้ดูแลสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, เป็นต้น, ส่วนทางฝ่ายจำเลยมี ม.จ.อุปลีสาณ ชุมพล และพระยาศรีวิสารวาจา ผู้จัดการมรดกของจำเลย.

ตามบัญชีนี้นอกจากหุ้นบริษัทจำนวน ๖ รายการแล้ว ก็มีทรัพย์สินต่างๆ อีก ๑๔ หีบ แบ่งเป็น ๒๘๘ รายการ. ทรัพย์สินทั้งหมดได้แบ่งขายตามบัญชี, ดังนี้ :

ขายวันที่ ๘-๙-๑๐ มกราคม รวม ๙๕ รายการวันที่ ๑๑-๑๒-๑๓-๑๔ รวม ๑๐๙ รายการวันที่ ๑๕-๑๖-๑๗ รวม ๘๔ รายการวันที่ ๑๘ ขายหุ้นบริษัทจำนวน ๖ รายการ, รวม ๒,๕๐๗ หุ้น, คิดเป็นเงิน ๒๐๕,๕๖๐ บาท.

ตรงนี้จะต้องชี้แจงว่า การแบ่งของออกเป็น ๒๘๘ รายการนั้น มิได้หมายความว่าจะมีวัตถุเป็นจำนวนเท่ากัน; บางรายการประกอบด้วยของมากกว่าหนึ่งชิ้น, เช่นเป็นสร้อยจำนวน ๑๓ สาย หรือแหวน ๑๔ วง, เป็นต้น. อนึ่ง, บรรดาของที่จะขายนี้ล้วนเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น.การที่จะคัดรายการทรัพย์สินที่ถูกขายทอดตลาดทั้งหมดมาลงไว้ในที่นี้ เป็นเรื่องที่เกินวิสัย เพราะนอกจากจะมีจำนวนมากแล้ว, แต่ละรายการก็ยังมีคำบรรยายลักษณะไว้สั้นบ้างยาวบ้างอีกด้วย. อย่างไรก็ตาม, เพื่อให้เป็นตัวอย่าง, ในที่นี้จะขอคัดมาแต่ ๑๐ รายการแรกที่ประกาศขายในวันที่ ๘ มกราคม, ดังนี้ :

“๑. ขันทองลายพระพุทธรูป หนักประมาณ ๖๕๕ กรัม ๑ ขัน, ๒. พานลาวทอง หนักประมาณ ๕๔๕ กรัม ๑ พาน, ๓. กะโถนทองคำลงยาปากกะจับ หนักประมาณ ๒๖๕ กรัม ๑ ใบ, ๔. ขันทองคำลงยามีพานทองคำลงยารอง หนักประมาณ ๔๘๕ กรัม ๑ ที่, ๕. กล่องหมากทองคำหลังมีตราจุลจอมเกล้า จ.ป.ร.ประดับเพ็ชร์ ๑ ดวง หนักประมาณ ๘๘ กรัม รวม ๒ สิ่ง, ๖. พานทองคำลงยามีโถปริก ๗, ปริกทองคำลงยา ๑ หนักประมาณ ๑,๑๗๕ กรัม ๑ ที่, ๗. พานทองคำลงยากลีบบัวลายเทพพนม หนักประมาณ ๑,๒๘๕ กรัม ๑ พาน, ๘. หีบบุหรี่ทองคำรูปสี่เหลี่ยมมีประดับพลอยสีต่างๆ ทั่วทั้งหีบ มีเท้าสี่เท้า หนักประมาณ ๑,๔๘๐ กรัม ๑ หีบ, ๙. ซองบุหรี่ทองคำฝาด้านหนึ่งฝังเพ็ชร์ทั้งลูก ๔ เม็ด กับทับทิมเป็นขอบรอบ จารึกว่า “สุขุมาลย์มารศรี” หนักประมาณ ๑๖๓ กรัม ๑ ซอง, ๑๐. กฤชด้ามและฝักทองคำด้ามเป็นหัวนกหนักประมาณ ๓๖๕ กรัม ๑ เล่ม ฯลฯ”

อย่างไรก็ตาม, ในชั้นสุดท้ายการขายทอดตลาดก็มิได้เกิดขึ้น. หลังจากที่หนังสือพิมพ์ข่าวภาพ และศรีกรุง ได้ลงประกาศแจ้งความติดต่อกันมาหลายวันแล้วนั้นเอง ทางกองบังคับคดีฯ ก็มีหนังสือลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๘๔ ขอให้ศรีกรุงระงับการลงแจ้งความในวันที่ ๓๑ ธันวาคมเสีย และให้หนังสือพิมพ์ประชาชาติที่จะรับช่วงลงแจ้งความในวันที่ ๑, ๒, และ ๓ มกราคม ยกเลิกการลงแจ้งความนั้นเสียทั้ง ๓ วัน.ในวันที่ ๕ มกราคม ๒๔๘๕ ทางกองบังคับคดีทางแพ่งก็ออกประกาศตามมาอีกฉบับหนึ่ง, ดังนี้ :

(ครุฑ)ประกาศกองบังคับคดีทางแพ่ง

ด้วยเจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีระหว่าง กระทรวงการคลัง โจทก์ สมเด็จพระปกเกล้าฯ จำเลย ซึ่งกำหนดขายเริ่มแต่วันที่ ๘ มกราคม ๒๔๘๕ เป็นต้นไปนั้น ไว้จนกว่าจะได้ประกาศให้ทราบภายหลังประกาศมา ณ วันที่ ๕ มกราคม ๒๔๘๕

สารกิจปรีชาหัวหน้ากองบังคับคดีทางแพ่ง

นับแต่วันที่มีประกาศงดการขายเป็นต้นมาก็มิได้มีประกาศใดตามหลังมาอีก. นอกจากจะสันนิษฐานเอาว่าประเทศกำลังอยู่ในภาวะสงครามแล้ว, เราก็ไม่ทราบเหตุผลอื่นใดอีกที่ทำให้รัฐบาลตัดสินใจไม่นำทรัพย์สินเหล่านั้นมาขายทอดตลาด. อย่างไรก็ตาม, ในเวลานั้นวังศุโขทัยก็ตกเป็นของรัฐแล้ว. ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๕ เป็นต้นไปกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นใหม่ก็ได้ขอเช่าวังแห่งนี้จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ในอัตราเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท) เพื่อใช้เป็นที่ทำการ จนกระทั่งย้ายออกไปในอีกแปดปีต่อมา.

๖.จากวันที่ศาลได้พิพากษาให้ทรงแพ้คดีมาจนสิ้นสงคราม, เหตุการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป.ในหนังสือเจ้าฟ้าประชาธิปก ราชันผู้นิราศ ของเขา, “นายหนหวย” ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า :

“วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ ขณะนั้นเป็นรัฐบาลของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐบุรุษอาวุโสได้บันดาลให้เกิดสัญญาประนีประนอมประวัติศาสตร์ขึ้นระหว่างรัฐบาลกับจำเลยที่ ๒ ในคดีที่รัฐบาลเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคือสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี และกองมรดกผลประโยชน์ทั้งหลายของเจ้าฟ้าประชาธิปก มีสาระสำคัญว่า บรรดาทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหลายที่ผูกพันกันอยู่นั้น เป็นอันให้เลิกแล้วต่อกัน รัฐบาลได้มาแล้วเท่าไรก็เอาเท่านั้น

นอกจากนี้นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน รัฐบุรุษอาวุโสยังได้แสดงความจริงใจเปิดเผยต่อบุคคลหลายคนและหนังสือพิมพ์ว่า จะคืนวังศุโขทัยที่ตกเป็นของรัฐตามคำพิพากษาคืนให้แก่จำเลยที่ ๒ ซึ่งยังดำรงพระชนมชีพอยู่ ยิ่งไปกว่านี้ในฐานะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน นายปรีดี พนมยงค์ ดำริจะอัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับคืนประเทศไทย ได้มีการติดต่อเป็นทางการสมานรอยร้าวในอดีตกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเป็นที่เรียบร้อยและรู้กันทั่วไป”

อันที่จริง, นอกจากเรื่องจะอัญเชิญพระบรมอัฐิกลับเมืองไทยแล้ว นายปรีดียังมีปรารถนาให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงเข้ามาเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คณะใหม่ด้วย. อย่างไรก็ตาม, ความพยายามของนายปรีดี พนมยงค์ ก็ไม่ประสบผล. การรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๐ โดยพลโทผิน ชุณหะวัน กับพรรคพวกทำให้นายปรีดีต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ และไม่มีโอกาสกลับมามีบทบาททางการเมืองอีก.

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับถึงประเทศไทยในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม. และหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขได้ย้ายออกไปในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ แล้ว, ทางราชการก็ได้ถวายวังศุโขทัยคืนแด่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเพื่อเป็นที่ประทับต่อไป.

การที่รัฐบาลถวายวังศุโขทัยคืนนี้มิได้มีผู้ใดคัดค้าน. อย่างไรก็ตาม, อีกหลายสิบปีต่อมาคุณหญิงมณี สิริวรสาร ได้ “บันทึก” สถานะของวังนี้ไว้โดยตั้งใจจะให้ “เป็นประวัติศาสตร์” ที่คนทั่วไปพึงได้รับรู้, ว่า :

“ดิฉันต้องขอบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ว่า ตามพระราชพินัยกรรมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ซึ่งได้ทรงยกร่างไว้ก่อนเสด็จฯ ออกจากประเทศไทยนั้น พระองค์ท่านได้ทรงยกวังศุโขทัยซึ่งเป็นที่ประทับและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ มอบให้พระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ องค์เดียวอย่างสิ้นเชิง โดยมีเงื่อนไขว่า ให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงมีสิทธิประทับได้ตลอดพระชนมชีพ เมื่อสวรรคตแล้วให้วังศุโขทัยตกเป็นของพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ หรือทายาทของพระองค์เจ้าจิรศักด์ฯ โดยสิทธิขาด”

หากจะให้ “ประวัติศาสตร์” ชัดเจนยิ่งขึ้น เราก็ต้องขยายความว่า, “ทายาทของพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ” ก็คือ “หม่อมมณี” หรือที่จะรู้จักกันในเวลาต่อมาในนามของคุณหญิงมณี สิริวรสาร นั่นเอง!

๗.หลังจากที่เสด็จกลับมาประทับ ณ วังศุโขทัยแล้ว สิ่งต่อมาที่สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีต้องทรงกระทำก็คือ จัดการแบ่งพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์นั้นให้เป็นไปตามพระราชพินัยกรรมที่ทรงทำไว้แต่ก่อน. ผู้ที่อยู่ในฐานะทายาทมีส่วนแบ่งในพระราชทรัพย์นั้นคือสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี กับพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต พระราชโอรสบุญธรรม. อย่างไรก็ตาม, ในเวลานั้นพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ ได้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว เพราะฉะนั้นผู้ที่จะมีส่วนแบ่งในพระราชทรัพย์นั้นคือ “หม่อมมณี”.

เราไม่ทราบว่าในการทำพระราชพินัยกรรมนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายท่านใด หรือว่าทรงกำหนดไปตามพระราชดำริของพระองค์เอง, แต่การณ์ก็เป็นไปอย่างที่หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล ผู้จัดการพระราชมรดกนั้นทรงกล่าว คือ พระราชพินัยกรรมส่วนมากเป็นโมฆะ เพราะขัดกับหลักกฎหมายไทย. ในชั้นสุดท้ายท่านผู้จัดการพระราชมรดกก็ต้องใช้วิธีแบ่งพระราชทรัพย์ทั้งหมด-เว้นแต่วังศุโขทัย-ออกเป็นสองส่วน และใช้วิธีการจับสลาก.
วังศุโขทัย(ภาพและเรื่อง:วิกิพีเดีย)

คุณหญิงมณีเล่าถึงการแบ่งพระราชทรัพย์ในคราวนั้นไว้ดังนี้ :

“เมื่อไปถึงวังศุโขทัยและก่อนที่จะมีการจับสลากท่านอุปลีสาณได้พาดิฉันไปในห้องที่ท่านทรงทำงานอยู่ และยื่นเอกสารที่เป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสมเด็จฯ และดิฉัน ให้ดิฉันลงนามในสัญญาซึ่งมีข้อความว่า ในการแบ่งพระราชมรดกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ระหว่างสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีและดิฉัน ซึ่งเป็นผู้แทนของพระองค์จิรศักดิ์ฯ นั้น ดิฉันให้สัญญาว่าจะยอมทำตามเงื่อนไขของสัญญา…ที่ดินที่ต้องจับสลากมีอยู่ด้วยกัน ๒๒ แปลง แต่เหลือ ๒๐ แปลง เพราะเหตุว่ามี ๒ แปลงที่สมเด็จฯ ไม่มีพระราชประสงค์ให้จับสลาก คือแปลงที่เป็นที่ดินและสิ่งก่อสร้างอยู่หลังวังศุโขทัย ซึ่งมีโกดัง ๒ หลังสำหรับเก็บของ มีที่พักของพระญาติบางองค์และบริวารของสมเด็จฯ อาศัยอยู่ และเป็นที่ดินที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และเนื่องด้วยดิฉันเองก็อยากได้ที่ดินเปล่าไว้ปลูกบ้าน สมเด็จฯ จึงทรงมีรับสั่งให้แลกเปลี่ยนกัน คือดิฉันได้รับที่ดินเปล่า ๑๐ ไร่ที่ถนนเพลินจิตแทนที่ดินแปลงนี้ ซึ่งสมเด็จฯ ก็ทรงพอพระทัยมากที่ที่ดินติดกับวังศุโขทัยได้มาเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์

ส่วนอีก ๒๐ แปลงนั้นหม่อมเจ้าอุปลีสาณทรงเตรียมสลากไว้ในพานทองและทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จฯ ทรงจับก่อน ๑๐ ครั้ง เมื่อทรงจับแล้วสลากที่เหลือก็เป็นของดิฉัน โฉนดที่ดินที่มีราคาแพงที่สุดเป็นที่ดินถนนทรงวาด ตำบลราชวงศ์ มีที่ดินประมาณสามไร่ ซึ่งสมเด็จฯ ทรงจับได้ และทุกคนที่วังศุโขทัยก็แสดงความดีใจที่สมเด็จฯ ทรงจับสลากที่ดินที่ดีที่สุดตรงถนนทรงวาดไว้ได้ ส่วนดิฉันได้สลากที่ดินที่มีค่ารองลงมา เป็นที่ดินเจ็ดไร่ครึ่ง ซึ่งเป็นโรงสีและตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีค่าและราคาไล่เลี่ยกับที่ถนนทรงวาดที่ดินอีกแปลงหนึ่งที่ถือว่ามีราคามาก เป็นที่ดินมีตึกแถวที่คลองหลอด มีเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ตัดแบ่งคนละครึ่ง ซึ่งสมเด็จฯ ทรงได้ ๑๐ ไร่ ที่อยู่ข้างโรงเรียนราชินี ส่วนดิฉันได้ ๑๐ ไร่ ที่ติดกับบ้านหม้อ ต่อไปเป็นตึกใหญ่สองแห่ง สมเด็จฯ ทรงจับได้ตึกใหญ่หลังแรกที่ถนนเพชรบุรี ส่วนดิฉันได้ตึกที่ถนนพญาไท ทั้งสองตึกนี้เจ้าของเดิมเป็นขุนนางที่ได้นำมาจำนองไว้กับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ในที่สุดก็หลุดและตกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ การจับสลากที่ดินได้ดำเนินไปจนจบสิ้นในเวลาไม่ถึงชั่วโมง

ต่อมาเป็นเรื่องของการแบ่งสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสิ่งของทั้งหมดเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในวังศุโขทัยแต่เดิม อาทิ เครื่องเรือน ถ้วยชาม พระพุทธรูป กระถางต้นไม้ ของกระจุกกระจิก และของขวัญที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายในหลวงรัชกาลที่ ๗ ท่านผู้จัดการผลประโยชน์ได้วางสิ่งของเหล่านี้เรียงรายไว้ แล้วทูลเชิญสมเด็จฯ ให้ทอดพระเนตร ถ้าทรงมีพระราชประสงค์สิ่งใดแล้วก็ทรงหยิบออกไปวางไว้ทางหนึ่ง แล้วให้ดิฉันเลือกเช่นเดียวกัน ส่วนที่เหลือก็ให้พ่อค้าจีนหลายรายมาจากบ้านหม้อมาคอยตีราคาประมูลกัน ใครประมูลได้ราคาสูงก็เป็นเจ้าของไป

วันหนึ่งๆ เราได้เงินสดจากการจำหน่ายสิ่งเหล่านี้เป็นจำนวนมากพอใช้ พอจบแล้วสมเด็จฯ และดิฉันก็รับแบ่งไปคนละครึ่ง ข้าวของในวังศุโขทัยมีมากมาย และการแบ่งด้วยวิธีนี้ได้ดำเนินไปถึงสามวันเต็มๆ…เป็นเวลาสามวันติดๆ กันที่ดิฉันนั่งรถออกจากบ้านไปดีมาดีพร้อมกับขุนเจนฯ กับเด็กรับใช้อีกหนึ่งคน และทุกวันเราก็ขนของที่เลือกไว้ใส่รถกลับบ้าน…”

นั่นคือสามวันสุดท้ายของเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะจากนั้นมาก็มิได้มีพระราชทรัพย์ใดอยู่ในพระนามของพระองค์อีก.