วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ยุทธการเกตตีสเบิร์ก สงครามกลางเมืองอเมริกัน

สงครามกลางเมืองอเมริกัน





สงครามกลางเมืองอเมริกัน เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัฐเกษตรกรรมทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่มีการทำไร่ขนาดใหญ่ใช้แรงงานทาสนิโกร กับรัฐอุตสาหกรรมทางเหนือ ระหว่าง ค.ศ.1861 - 1865 (พ.ศ.2404 - 2408) สงครามนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 600,000 คน ทำให้เกิดความเสียหายและความยุ่งยากหลายประการ แต่ก็มีผลดีที่ต่อมามีการเลิกทาสและรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ได้


เหตุการณ์สำคัญตามลำดับ คือ



ค.ศ. 1860

อับราฮัม ลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
เซาธ์์ แคโรไลนาแยกตัวออกเพราะไม่พอใจผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี
การทำข้อตกลงคิสเตนเดน (Crittenden Compromise) ล้มเหลว เท่ากับเป็นการสิ้นสุดความพยายามครั้งสุดท้าย
ที่จะยังคงรวมกันเป็นสหภาพ (Union) 




ค.ศ. 1861

ฝ่ายสมาพันธรัฐยิงเรือของฝ่ายสหภาพ พยายามปลดปล่อยฟอร์ท ซัมเตอร์ (Fort Sumter) ที่เมืองชาร์ลสตัน
(เซาท์ แคโรไลนา) ทำให้เรือของฝ่ายสหภาพต้องถอย
มิสซิสซิปปี แยกตัว (9 มกราคม) ตามมาด้วยฟลอริดา (10 มกราคม) อลาบามา (11 มกราคม) จอร์เจีย
(19 มกราคม) หลุยส์เซียนา (26 มกราคม) และเท็กซัส (1 กุมภาพันธ์)
บรรดารัฐที่แยกตัวออกได้ส่งผู้แทนเข้าประชุมที่เมืองมองต์โกเมอรี จัดตั้งสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate
States of America) และเลือกตั้งนายพล เจฟเฟอร์สัน เดวิส เป็นประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีเดวิส ประกาศเกณฑ์ทหารอาสาสมัคร 20,000 คนเข้าประจำการ (3 เมษายน)
กองทัพฝ่ายสมาพันธ์นำโดยนายพลโบรีการ์ด (Beauregard) ระดมยิงฟอร์ท ซัมเตอร์จนต้องยอมแพ้ เป็นการ
เปิดฉากสงครามกลางเมือง ที่มีความรุนแรงยิ่งขี้น (12 - 14 เมษายน)
ประธานาธิบดีลินคอล์น ประกาศเกณฑ์ทหารอาสาสมัคร 75,000 คน (15 เมษายน) ดำเนินการปิดล้อมท่าเรือของ
ฝ่ายรัฐที่แยกตัวออก (19 เมษา) แต่ไม่สามารถสกัดการส่งสินค้าจากต่างประเทศที่ส่งเข้ามาถึงรัฐที่ถูกปิดล้อม
ได้ทั้งหมด
เวอร์จิเนียถอนตัวออกจากสหภาพ (17 เมษา) ตามด้วยอาร์คันซัส (6 พฤษภา) เทนเนสซี (7 พฤษาคม)
และนอร์ท แคโรไลนา (11 พฤษภา)
กองทัพฝ่ายสมาพันธรัฐเผชิญหน้าฝ่ายสหภาพ เริ่มการสู้รบที่บุล รัน (bull Run) (21 กรกฎา) ทางตอนเหนือของ
รัฐเวอร์จิเนีย การสู้รบที่บุลรันทำให้ฝ่ายเหนือคิดเรื่องที่จะยุติสงครามกลางเมืองโดยเร็ว ด้วยการปิดล้อมฝ่ายใต้
ทางเรือ คุมย่านแม่น้ำมิสซิสซิปปี (เพื่อเป็นการแยกฝ่ายใต้ออกจากกัน) และเข้ายึดเมืองริชมอนด์ เมืองหลวงของ
สมาพันธรัฐฝ่ายใต้
ฝ่ายสมาพันธรัฐก็ยึดเมืองสปริงฟิลด์ (Springfield) ในมิสซูรีภายหลังการรบที่วิลสัน ครีก (Wilson's Creek)
(10 สิงหาคม)
พลเอก จี. แมคเคลลัน (General G.McCelan) เป็นผู้บัญชาการกองทัพสหภาพและจัดตั้งกองทัพแห่งโปโตแมค
(Army of Potomac) ขึ้น
กองทัพสหพันธรัฐปิดล้อมเรืออังกฤษ (8 พฤศจิกายน) จนเกือบนำไปสู่การเกิดสงครามระหว่างประเทศ 




ค.ศ. 1862

ฝ่ายสหภาพบุกเคนตักกี้กับเทนเนสซี ยึดได้ฟอร์ท เฮนรี (Fort Henry) กับฟอร์ท โดเนลสัน (Fort Donelson)
(6 - 16 กุมภาพันธ์) ฝ่ายสมาพันธ์ถอนตัวจากเมืองแนชวิลล์ (Nashville)
ฝ่ายสหภาพเปิดฉากรุง โดยนายพลแกรนท์ของฝ่ายเหนือรุกไล่ฝ่ายใต้ทางตอนใต้ของรัฐเทนเนสซี มีชัยในการรบ
นองเลือดที่ชิโลห์ (Shiloh) (6-7เมษา) ฝ่ายใต้สูญเสียแม่ทัพสำคัญคนหนึ่ง คือ นายพล เอ จอห์นสตัน
(Gen. A. Johnston) 




ค.ศ. 1863

ลินคอล์นประกาศกฎหมายเลิกทาสในวันที่ 1 มกราคม (Emancipation Proclaimation)
กองทัพฝ่ายเหนือรุกไปทางตะวันออก นายพลลี (Gen. R.E. Lee) ของฝ่ายใต้รุกขึ้นทางเหนือเข้าสู่เพนซิลวาเนีย
(มิถุนายน) แต่ถูกนายพลจี เมเอด (Gen.G.Meade) ของฝ่ายสหภาพเอาชนะได้ในการรบที่เกตติสเบิร์ก
(Battle of Gettysburg) ในเพนซิลวาเนีย ถือเป็นสงครามแห่งชัยชนะในสงครามกลางเมือง เมื่อนายพลลีต้องถอย
กลับไปเวอร์จิเนีย 




ค.ศ. 1864

นายพลแกรนท์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสหภาพ (มีนาคม) ขณะที่นายพล ดับเบิลยู
เชอร์แมน (Gen. W. Sherman) เป็นแม่ทัพฝ่ายตะวันตก กองทัพของนายพลแกรนท์ปะทะกับกองทัพนายพลลี
ในเวอร์จีเนีย ส่วนกองทัพของนายพลเชอร์ แมนมีหน้าที่รุกรบกองทัพของนายพลจอห์นสตันที่แอตแลนตา
นายพลลีของฝ่ายใต้เริ่มถอย เพราะไม่สามารถป้องกันปีเตอร์สเบิร์ก (Petersburg) ในการสู้รบเป็นเวลาถึง 10
เดือน แม้จะพยายามโจมตีแนวหลังของฝ่ายสหภาพแต่ก็ทำไม่สำเร็จ
นายพลดี ฟาร์รากัตเอาชนะกองเรือฝ่ายสมาพันธรัฐที่อ่าวโมบายล์ (5 สิงหาคม)
ประธานาธิบดีลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง (พฤศจิกายน) 




ค.ศ. 1865

มีการร่างข้อตกลง 13 ข้อ ยกเลิกการมีทาสในสหรัฐอเมริกา ผ่านรัฐสภาอเมริกัน (1 กุมภาพันธ์) และมีผลบังคับ
ใช้เดือนธันวาคม
นายพลลี ถูกบังคับให้ยอมจำนนที่แอพโพแมตทอก คอร์ทเฮาส์ (Appomattox Courthouse) เป็นการยุติสงคราม
กลางเมือง (9 เมษายน)
(14 เมษายน) ประธานาธิบดีลินคอล์นถูกลอบ...หาร 



สงครามกลางเมืองอเมริกัน 2

สงครามกลางเมืองอเมริกัน





ชุดเครื่องแบบสีน้ำเงินเป็นพวกทหารม้าฝ่ายเหนือ
ส่วนชุดสีเทาเป็นพวกทหารฝ่ายใต้




ระหว่างปีค.ศ.1861-1865 ประเทศสหรัฐอเมริกาถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยสงครามกลางเมืองอันดุเดือดรุนแรงระหว่างสมาพันธรัฐอเมริกาซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของรัฐต่างๆ ทางใต้ (Confederacy) หรือที่เรียกว่า ฝ่ายใต้ กับสหภาพ (Union) หรือพวกรัฐฝ่ายเหนือซึ่งนำโดยประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)


ต้นเหตุของสงครามครั้งนี้เกิดจากกฎหมายที่ว่าด้วยการใช้แรงงานทาสที่แตกต่างกัน โดยถ้าเป็นทางฝ่ายใต้นั้นการใช้แรงงานทาสจะเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายในขณะที่ทางฝ่ายเหนือกลับกลายเป็นสิ่งตรงกันข้าม ความขัดแย้งด้านความคิดดังกล่าวนี้เองที่นำไปสู่การฆ่าฟันกันเองระหว่างคนในชาติ และเมื่อประธานาธิบดีลินคอล์นขึ้นดำรงตำแหน่งแล้ว เขาก็ต้องการใช้มีการยกเลิกการใช้แรงงานทาสทั่วประเทศจึงทำให้เกิดความขัดแย้งจนลุกลามเป็นสงครามกลางเมือง

การต่อสู้ดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายเหนือยังผลให้เกิดการเลิกทาสทั่วประเทศและสร้างความเชื่อมั่นว่าประเทศอเมริกายังคงรวมเป็นชาติเดียวกันอยู่


สมรภูมิรบแห่งเกททิสเบิร์ก (Battle of Gettysburg)






ภาพวาดสมรภูมิรบแห่งเกททิสเบิร์กที่เต็มไปด้วยการนองเลือดและความสับสนอลหม่าน



วันที่ 1-3 กรกฎาคม ปีค.ศ.1863 นายพลโรเบิร์ต อี.ลี (General Robert E. Lee) ของฝ่ายใต้ได้เข้าโจมตีกองทัพฝ่ายเหนือของ นายพลจอร์จ เมิด (General George Meade) ที่รุกเข้ามาใกล้เกททิสเบิร์ก รัฐเพนซิลวาเนีย (Pennsylvania)


จุดสำคัญของการรบในครั้งนี้ก็คือ การเข้าตะลุมบอนของพิคเก็ท (Pickett) ก่อนที่สงครามจะจบลงด้วยการสูญเสียอย่างประเมินค่ามิได้ของทั้งสองฝ่ายและความปราชัยของนายพลลีและทหารฝ่ายใต้ที่ต้องถอนกำลังกลับไปยังเวอร์จิเนีย (Virginia)

ฝ่ายเหนือและทางใต้ (North and South)





สงครามกลางเมืองนั้นเป็นการสู้รบกันระหว่างรัฐทางเหนือ ซึ่งมีทั้งหมด 23 รัฐกับทางใต้ที่มี 11 รัฐ ส่วนดินแดนในสหภาพอื่นได้เปลี่ยนมาเป็นรัฐหลังจากเกิดสงคราม

นอกจากนี้แล้วยังเกิดสงครามใหญ่ๆ ขึ้นอีกหลายที่ด้วยกันอย่างเช่น ที่เมืองเกททิสเบิร์กซึ่งได้รบกันทางภาคตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้

สารคดี History กึ่งภาพยนต์ 6 ตอน
Gettysburg part1
Gettysburg part2
gettysburg part3
gettysburg part4
Gettysburg part5
Gettysburg part6

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กานดา นาคน้อย: ประชาชนชอบสิทธิ์ มหาประชาชนชอบอภิสิทธิ์


การปฎิเสธหลักการ 1 คน 1 เสียงโดยอธิการบดีนิด้าและการชี้นำโดยปัญญาชนบางกลุ่มว่าคนไม่มีปริญญาไม่ควรมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งบ่งบอกว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีสำนึกทางชนชั้นอย่างเข้มข้น   เทียบเท่ากับสังคมอเมริกันในยุคที่มีนโยบายแบ่งแยกสีผิวที่มลรัฐในภาคใต้  
ในยุคนั้นผู้พิพากษาและนายอำเภอเข้าร่วมขบวนการ“เคเคเค”เพื่อข่มขู่ไม่ให้คนดำซึ่งเป็นลูกหลานอดีตทาสเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับการที่ผู้นำม็อบนกหวีดเรียกประชาชนที่สนับสนุนตนว่าเป็น“มหาประชาชน”   และแกนนำบางคนชี้นำว่าผู้เข้าร่วมม็อบนกหวีดคือประชาชนที่มีคุณภาพเหนือกว่าเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ
ประชาชนเหนือประชาชน
ระบอบประชาธิปไตยไม่มี“มหา”ประชาชน   ไม่มีประชาชนที่เหนือประชาชน   มีแต่ประชาชนที่มีสิทธิทางการเมืองเท่าเทียมกันความเท่าเทียมทางการเมืองไม่รับประกันว่าทุกคนจะมีรายได้และทรัพย์สินเท่ากันแต่รับประกันว่าเด็กปั๊มและอธิการบดีได้รับสิทธิคุ้มครองในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวกันคนขับรถแท็กซี่และคนขับรถเฟอร์รารี่มีสิทธิได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมเท่ากันแม่บ้านและไฮโซหมื่นล้านมีสิทธิไปออกเสียงเลือกตั้งเท่ากัน   ระบอบประชาธิปไตยไม่แบ่งแยกถี่ยิบว่าใครมีจุลสิทธิ์ อภิสิทธิ์  หรือมหาอภิสิทธิ์   การเลือกตั้งไม่ใช่ทั้งหมดของระบอบประชาธิปไตยแต่เป็นพื้นฐานของประชาธิปไตย
รัฐธรรมนูญคือกติกาสูงสุด
สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้พัฒนาได้เพราะประชาชนมีคุณภาพเหมือนกัน 2 ประการ  คือเคารพกติกาและขยัน   ถ้าการศึกษาไทยไม่สอนให้คนไทยเคารพกติกาไทยก็พัฒนาไม่ได้   ในระบอบประชาธิปไตยกติกาสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ   ไม่ว่าจะเกลียดชังอดีตนายกฯทักษิณอย่างไรคนมีการศึกษาก็ปฎิเสธความจริง 2 ประการไม่ได้   ประการแรกคือความจริงที่ว่าอดีตนายกฯทักษิณไม่มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญปีพศ. 2540 และ 2550   ประการที่สองคือความจริงที่ว่ามีการแก้รัฐธรรมนูญ 2550 ในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์
ถ้าคนมีการศึกษามีคุณภาพจริงก็ควรยอมรับว่าการปฎิรูปก่อนเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์คือการฉีกรัฐธรรมนูญอันเป็นกติกาสูงสุด
ถ้าคนมีการศึกษามีคุณภาพจริงก็ควรยอมรับว่าการฉีกรัฐธรรมนูญคือการล้มล้างการปกครองในมาตรฐานอารยประเทศ
ถ้าคนมีการศึกษามีคุณภาพจริงก็ควรโต้ตอบผลงานวิจัยที่พบว่าการซื้อเสียงไม่มีบทบาทในการตัดสินผลการเลือกตั้งระดับชาติในประเทศไทยด้วยผลงานวิจัยที่อุดมด้วยสถิติ  
ความไม่โปร่งใสคือรากฐานปัญหาทุจริต  
ไม่มีประเทศใดในโลกนี้แก้ปัญหาทุจริตด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญ การแก้ปัญหาทุจริตในประเทศที่พัฒนาแล้วยึดหลักการโปร่งใสโดยเฉพาะความโปร่งใสในกระบวนการยุติธรรมเนื่องจากกระบวนการยุติธรรมเป็นตัวตัดสินว่าอะไรเรียกว่าทุจริต   ดังนั้นผู้พิพากษา  อัยการและตำรวจต้องโปร่งใสด้วย   ไทยแก้ปัญหาทุจริตไม่ได้ตราบใดที่ไม่มีการปฎิรูปตุลาการ   จะสัมมนาด้วยงบประมาณหมื่นล้านไปอีกศตวรรษก็แก้ปัญหานี้ไม่ได้ถ้าไม่ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมดิฉันมั่นใจว่าหน่วยงานปราบทุจริตในไทยทราบดีแต่ไม่หยิบยกมาโต้เถียงกันในที่สาธารณะ    
ในสหรัฐฯความโปร่งใสเป็นมาตรฐานที่ใช้กับผู้ใช้ภาษีทุกอาชีพไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง  อาจารย์  อธิการบดี  อัยการ  ผู้พิพากษา  ฯลฯ   กฎหมายบังคับให้พนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตั้งแต่ภารโรงยันอธิการบดีต้องเปิดเผยรายได้ต่อผู้เสียภาษี   ข้อมูลรายได้ดังกล่าวหาได้ง่ายตามอินเตอร์เน็ตหรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น  รายได้ข้าราชการทั้งในระดับมลรัฐและระดับประเทศก็เปิดเผยต่อผู้เสียภาษีเช่นเดียวกัน อัยการสูงสุดระดับมลรัฐมาจากการเลือกตั้ง  ในบางมลรัฐผู้พิพากษามาจากการเลือกตั้งด้วย   อัยการสูงสุดของประเทศและผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งทำหน้าที่คล้ายศาลรัฐธรรมนูญโดนตรวจสอบโดยรัฐสภา   ข้อมูลการพิพากษาคดีเป็นข้อมูลสาธารณะที่ผู้เสียภาษีเข้าถึงและถกเถียงได้โดยไม่ต้องกลัวข้อหาหมิ่นศาล
การปลูกฝังค่านิยมด้านความโปร่งใสก็ต้องทำกันทุกระดับ นักศึกษาอเมริกันให้แต้มอาจารย์เพื่อประเมินผลอย่างโปร่งใสเหมือนร้านอาหารและโรงแรมไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ผู้น้อยหรือศาสตราจารย์รางวัลโนเบล  เช่น พอล ครูกแมนได้แต้ม3.2 ดาวจากแต้มสูงสุด 5 ดาว (ที่มา http://www.ratemyprofessors.com/ShowRatings.jsp?tid=243005)  คนไข้ให้แต้มหมอเพื่อประเมินผลเหมือนผู้จำหน่ายสินค้าและบริการอื่นๆ(ตัวอย่าง http://www.healthgrades.com/provider-search-directory/search?q=Cardiology&search.type=Specialty&loc=New+York%2c+NY)   ทุกอาชีพโดนประเมินผลเหมือนกัน   ไม่มีอาชีพใดมีอภิสิทธิ์เหนืออาชีพอื่น
ในกรณีของไทย   นายสุเทพ เทือกสุบรรณเรียกร้องให้ปฎิรูปการเมืองก่อนเลือกตั้ง   แล้วทำไมไม่มีการประเมินผลว่าคณะกรรมการปฎิรูปประเทศไทยในยุคที่นายสุเทพเป็นรองนายกฯได้แต้มกี่ดาว?การเสนอแนวทางการแก้รัฐธรรมนูญก่อนวันเลือกตั้งน่าจะโปร่งใสกว่าการเลื่อนวันเลือกตั้งเพื่อปฎิรูปโดยบุคคลที่ไม่รู้ว่ามีผลงานกี่ดาว
สื่อมวลชนก็ต้องโปร่งใส   ข่าวจากสื่อมวลชนตะวันตกตีพิมพ์ด้วยชื่อผู้รายงานข่าวชัดเจน   ทำให้ผู้รายงานข่าวต้องระมัดระวัง   ต้องตรวจสอบความจริงและรับผิดชอบผลงานของตน   สื่อมวลชนไทยใช้มาตรฐานนี้เวลารายงานข่าวภาษาอังกฤษเพื่อให้ดูทัดเทียมกับมาตรฐานสากล    แต่ไม่ได้ใช้มาตรฐานเดียวกันเวลารายงานข่าวภาษาไทย    สื่อมวลชนไทยควรปฎิรูปตัวเองเพื่อให้โปร่งใสขึ้น  หนังสือพิมพ์ควรลงชื่อนักข่าวที่เขียนข่าว   อย่ามัวแต่เรียกร้องความโปร่งใสจากอาชีพอื่น
ประชาชนชอบเลือกตั้ง  มหาประชาชนชอบแต่งตั้ง 

ดิฉันไม่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งในฐานะพลเมืองไทยด้วยเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้   แต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ดิฉันจะออกเสียงผ่านสถานกงศุลและจะไม่เลือกทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์   เนื่องจากดิฉันไม่ต้องการพรรคการเมืองที่เล่นการเมืองด้วยม็อบอย่างซ้ำซากและไม่คำนึงถึงชีวิตและเลือดเนื้อของฐานเสียง   และดิฉันคิดว่านี่คือกระบวนการเดียวที่จะป้องกันไม่ให้เกิดสงครามกลางเมืองเหมือนสงครามกลางเมืองที่จังหวัดชายแดนในภาคใต้
ดิฉันขอเชิญชวนทุกคนที่เชื่อว่าคนไทยทุกคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสายพันธุ์เดียวกันร่วมกันปฎิเสธระบอบมหาประชาชนด้วยการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง   เสียงเดียวฟังดูน้อยอาจทำให้รู้สึกว่าไม่คุ้มค่าจากการเดินทางไปลงคะแนน    แต่ถ้าคนอเมริกันทุกคนคิดแบบนั้นสหรัฐฯจะไม่ใช่ประเทศที่คนไทยมาศึกษาแล้วกลับไทยไปเป็นอธิการบดี

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แมกนาคาร์ตา กฏบัตรแห่งเสรีภาพ ต้นแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย

แมกนาคาร์ตาและการแสวงหาเสรีภาพของมนุษย์

รัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)
ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับฏฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้
รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย
ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก

ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 ขุนนางและพระราชาคณะจำนวน 25 คน ได้บังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสารที่เรียกว่า "มหากฎบัตร" (The Great Charter, Magna Carta) ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางและพระสงฆ์ โดยในมหากฎบัตรได้กำหนด ถึงการจัดองค์กรและการบริหารอำนาจของสภาสูง (Magnum Concillium) และกำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะเก็บภาษีบางอย่าง ตามที่กำหนดไว้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงมิได้ จะจับกุมคุมขังบุคคลได้ก็ต่อเมื่อ มีคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย มหากฎบัตรนี้ นักกฎหมายบางท่านเห็นว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก
รัฐธรรมนูญในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ในภาษาของประเทศทั้งสอง คำว่ารัฐธรรมนูญต่างใช้คำว่า Constitution ซึ่งแปลว่า การสถาปนา หรือการจัดตั้ง ซึ่งหมายถึงการสถาปนาหรือจัดตั้งรัฐนั่นเอง โดยทั้งสองประเทศมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร
ท่ามกลางภูมิประเทศอันงดงามแห่งแคว้นเซอร์เรย์ในอังกฤษ มีแม่น้ำเทมส์ไหลผ่าน. ในทุ่งหญ้าแห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำสายนี้มีอนุสาวรีย์พร้อมด้วยคำจารึกที่เป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นเกือบแปดร้อยปีมาแล้ว. ที่นี่ ณ ทุ่งหญ้ารันนีมีด พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ (ครองราชย์ปี 1199-1216) ทรงเผชิญหน้ากับเหล่าขุนนางที่เป็นศัตรูผู้มีอิทธิพล ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่โกรธแค้นเนื่องจากถูกกษัตริย์กดขี่. เหล่าขุนนางเรียกร้องให้กษัตริย์บรรเทาความคับแค้นใจของตนโดยให้สิทธิ์บางอย่าง. เนื่องจากถูกกดดันอย่างหนัก ในที่สุดกษัตริย์จึงได้ประทับตราของพระองค์ลงในเอกสารซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า แมกนาคาร์ตา (มหากฎบัตร).
เพราะเหตุใดเอกสารฉบับนี้จึงได้รับการพรรณนาว่าเป็น “เอกสารทางกฎหมายฉบับที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ตะวันตก”? คำตอบจะเผยให้เห็นเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการแสวงหาเสรีภาพของมนุษย์.
ข้อบังคับของขุนนาง
พระเจ้าจอห์นทรงมีปัญหากับคริสตจักรโรมันคาทอลิก. พระองค์แข็งข้อต่อโปปอินโนเซนต์ที่ 3 โดยไม่ยอมรับสตีเฟน แลงตันเป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี. ผลก็คือ คริสตจักรเพิกถอนการสนับสนุน และขับกษัตริย์ออกจากศาสนา. แต่พระเจ้าจอห์นพยายามขอการคืนดีกัน. พระองค์ยอมยกอาณาจักรแห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ให้แก่โปป. ฝ่ายโปปก็คืนอาณาจักรเหล่านั้นให้แก่พระเจ้าจอห์นโดยที่กษัตริย์ต้องปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อคริสตจักรและจ่ายค่าบรรณาการประจำปี. บัดนี้ พระเจ้าจอห์นจึงตกอยู่ใต้อำนาจโปป.
ความลำบากทางการเงินทำให้กษัตริย์มีปัญหามากขึ้นอีก. ระหว่างการครองราชย์ 17 ปี พระเจ้าจอห์นเรียกเก็บภาษีจากเจ้าของที่ดินเพิ่มอีก 11 ครั้ง. ความวุ่นวายทั้งหมดเรื่องคริสตจักรและเรื่องการเงินทำให้มีการเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่ากษัตริย์เป็นผู้ที่ไม่น่าไว้วางใจ. บุคลิกภาพของพระเจ้าจอห์นก็ดูเหมือนไม่ได้ช่วยบรรเทาความกังวลดังกล่าวเลย.
ในที่สุด ความไม่สงบก็ปะทุขึ้น เมื่อเหล่าขุนนางจากทางเหนือของประเทศไม่ยอมจ่ายภาษีอีกต่อไป. พวกเขาเดินขบวนมาที่ลอนดอนและประกาศยกเลิกการสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์. จากนั้นทั้งสองฝ่ายได้โต้เถียงกันมาก โดยที่กษัตริย์ประทับอยู่ในพระราชวังที่วินด์เซอร์ และเหล่าขุนนางตั้งค่ายอยู่ทางตะวันออกในเมืองใกล้ๆที่ชื่อสเตนส์. การเจรจาลับทำให้ทั้งสองฝ่ายมาเผชิญหน้ากันที่ทุ่งรันนีมีด ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองทั้งสอง. ในวันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน 1215 ณ ทุ่งหญ้าแห่งนี้ พระเจ้าจอห์นประทับตราในเอกสารซึ่งมีข้อบังคับ 49 ข้อ. เอกสารนี้ขึ้นต้นว่า ‘นี่คือข้อบังคับที่เหล่าขุนนางต้องการและได้รับการยินยอมโดยกษัตริย์.’
เสรีภาพภายใต้กฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ความไม่ไว้วางใจในเจตนาของพระเจ้าจอห์นก็ปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว. ท่ามกลางความรู้สึกต่อต้านอย่างมากต่อกษัตริย์และโปป กษัตริย์ได้ส่งทูตไปหาโปปที่กรุงโรม. โปปออกกฤษฎีกาทันทีเพื่อประกาศว่าข้อตกลงรันนีมีดเป็นโมฆะ. ส่วนที่อังกฤษสงครามกลางเมืองก็ปะทุขึ้นอย่างรวดเร็ว. แต่ในปีต่อมา พระเจ้าจอห์นก็สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน และเจ้าชายเฮนรี พระโอรส ซึ่งมีพระชนมายุได้เก้าพรรษา ก็ขึ้นครองราชย์แทน.
ผู้สนับสนุนพระเจ้าเฮนรีวัยเยาว์จัดให้มีการออกข้อตกลงรันนีมีดอีกครั้ง. ตามที่กล่าวในหนังสือเล่มเล็กแมกนาคาร์ตา ข้อตกลงฉบับแก้ไขนี้ถูก “เปลี่ยนด้วยความเร่งรีบจากเครื่องมือต่อต้านทรราชไปเป็นแถลงการณ์ซึ่งผู้ที่เดินสายกลางอาจถูกโน้มน้าวให้สนับสนุนผลประโยชน์ [ของกษัตริย์].” มีการออกข้อตกลงนี้อีกหลายครั้งระหว่างรัชกาลของพระเจ้าเฮนรี. เมื่อกษัตริย์องค์ต่อมาคือ พระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 1 ประกาศรับรองกฎบัตรแมกนาคาร์ตาอีกครั้งในวันที่ 12 ตุลาคม 1297 จึงมีการรวมกฎบัตรนี้เข้ากับประมวลกฎหมายในที่สุด ซึ่งก็คือรายการเอกสารที่มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อสาธารณชน.
กฎบัตรนี้จำกัดอำนาจของกษัตริย์. กฎบัตรนี้กำหนดว่า บัดนี้กษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเช่นเดียวกับพลเมืองทุกคนของพระองค์. วินสตัน เชอร์ชิลล์ นักประวัติศาสตร์และนายกรัฐมนตรีของอังกฤษผู้มีชื่อเสียงแห่งศตวรรษที่ 20 กล่าวว่า แมกนาคาร์ตาทำให้มี “ระบบการตรวจสอบและการถ่วงดุลอำนาจ ซึ่งจะให้อำนาจที่จำเป็นแก่กษัตริย์ แต่ก็ป้องกันทรราชหรือคนโง่เขลาไม่ให้ใช้อำนาจอย่างผิดๆ.” เป็นอุดมการณ์ที่สูงส่งจริงๆ! แต่กฎหมายนี้มีความหมายอย่างไรต่อสามัญชน? ในตอนนั้น แทบไม่มีความหมายเลย. แมกนาคาร์ตาให้รายละเอียดเฉพาะเรื่องสิทธิของ “เสรีชน” เท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วเป็นพวกชนชั้นสูงและในตอนนั้นเป็นเพียงชนกลุ่มน้อย.*
สารานุกรมบริแทนนิกา ชี้ให้เห็นว่า “นับตั้งแต่ช่วงต้นๆในประวัติศาสตร์” แมกนาคาร์ตา “กลายเป็นสัญลักษณ์และการเรียกร้องให้ต่อต้านการกดขี่ และผู้คนแต่ละรุ่นตีความว่ากฎบัตรนี้เป็นการปกป้องเสรีภาพของตนที่ถูกคุกคาม.” เพื่อชี้ถึงนัยสำคัญนี้ การประชุมรัฐสภาของอังกฤษแต่ละสมัยจะเปิดด้วยการรับรองแมกนาคาร์ตาอีกครั้ง.
ทนายความในอังกฤษสมัยศตวรรษที่ 17 ใช้มาตราต่างๆในแมกนาคาร์ตาเป็นพื้นฐานสำหรับสิทธิต่างๆ เช่น การพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุน, ฮาบีอัส คอร์ปัส,* ความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย, การไม่มีสิทธิ์จับกุมตามอำเภอใจ, และการที่รัฐสภาจะเป็นฝ่ายควบคุมการเก็บภาษี.
การแสวงหาดำเนินต่อไป
ลอร์ดบิงแฮม ผู้เป็นประธานศาลสูงสุดแห่งอังกฤษและเวลส์ตั้งแต่ปี 1996 ถึง 2000 ยอมรับว่า “หลายครั้งในอดีต ความสำคัญของแมกนาคาร์ตาตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่กล่าวในกฎบัตรนั้นจริงๆมากเท่ากับสิ่งที่คิดกันว่ามีกล่าวในกฎบัตรนั้น.” ถึงกระนั้น ในเวลาต่อมาแนวคิดเรื่องเสรีภาพที่ผูกโยงกับกฎบัตรนี้ก็ได้แพร่เข้าไปในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ.
ผู้ตั้งถิ่นฐาน ซึ่งออกจากอังกฤษในปี 1620 โดยมุ่งหน้าไปยังอเมริกา ได้นำแมกนาคาร์ตาไปด้วยฉบับหนึ่ง. ในปี 1775 เมื่ออาณานิคมของอังกฤษในอเมริกาก่อการกบฏเพื่อต่อต้านการเก็บภาษีทั้งๆที่ไม่ให้พวกเขามีผู้แทนในรัฐสภา สภาในที่ซึ่งปัจจุบันคือรัฐแมสซาชูเซตส์ได้ประกาศว่า การเก็บภาษีเช่นนั้นเป็นการฝ่าฝืนแมกนาคาร์ตา. ที่จริง ตราสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของรัฐแมสซาชูเซตส์ที่ใช้กันในตอนนั้นเป็นรูปผู้ชายซึ่งมือข้างหนึ่งถือดาบและมืออีกข้างหนึ่งถือแมกนาคาร์ตา.
เมื่อเหล่าผู้แทนจากชาติที่เพิ่งก่อตั้งประชุมกันเพื่อร่างรัฐธรรมนูญสำหรับสหรัฐอเมริกา พวกเขายึดมั่นกับหลักการของเสรีภาพภายใต้กฎหมาย. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิแห่งสหรัฐได้มาจากการยอมรับหลักการดังกล่าวด้วย. ด้วยเหตุนี้ ในปี 1957 เพื่อเป็นการยอมรับแมกนาคาร์ตา สมาคมเนติบัณฑิตแห่งอเมริกาจึงได้ตั้งอนุสาวรีย์ที่รันนีมีดโดยมีคำจารึกว่า “เพื่อรำลึกถึงแมกนาคาร์ตา—สัญลักษณ์แห่งเสรีภาพภายใต้กฎหมาย.”
ในปี 1948 เอเลนอร์ รูสเวลต์ รัฐสตรีชาวอเมริกัน ได้ช่วยร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โดยหวังว่าปฏิญญาฉบับนี้จะกลายเป็น “แมกนาคาร์ตาสากลสำหรับมวลมนุษย์ทุกหนแห่ง.” ที่จริง ประวัติความเป็นมาของแมกนาคาร์ตาแสดงให้เห็นชัดเจนว่ามนุษยชาติปรารถนาเสรีภาพมากเพียงใด. แม้ว่าจะเป็นความปรารถนาอันสูงส่ง แต่สิทธิมนุษยชนพื้นฐานของมนุษย์ก็ยังถูกละเมิดในหลายประเทศ. รัฐบาลของมนุษย์ได้แสดงให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่าไม่สามารถรับประกันเสรีภาพสำหรับทุกคน. นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่พยานพระยะโฮวาหลายล้านคนในปัจจุบันทะนุถนอมเสรีภาพที่สูงส่งกว่าภายใต้กฎหมายของรัฐบาลที่ต่างไป นั่นคือราชอาณาจักรของพระเจ้า.
คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงสิ่งที่น่าทึ่งเกี่ยวกับพระเจ้าคือ “พระวิญญาณของพระยะโฮวาอยู่ที่ใด เสรีภาพก็อยู่ที่นั่น.” (2 โกรินโธ 3:17ล.ม.) ถ้าคุณสนใจอยากทราบว่าราชอาณาจักรของพระเจ้าจะให้เสรีภาพชนิดใดแก่มนุษยชาติ ขอเชิญถามพยานพระยะโฮวาเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อพวกเขามาเยี่ยมคุณครั้งต่อไป. คุณอาจพบว่าคำตอบเป็นเรื่องที่น่าทึ่งและให้เสรีภาพ.
“แม้ว่าในปี 1215 คำ ‘เสรีชน’ มีความหมายจำกัด แต่พอถึงศตวรรษที่สิบเจ็ด คำนี้หมายรวมถึงผู้คนเกือบทุกคน.”—ประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตก (ภาษาอังกฤษ).
เป็นคำภาษาลาตินที่หมายความว่า “คุณควรมีสิ่งที่จับต้องได้” ข้อบัญญัติฮาบี
มหากฎบัตร
แมกนาคาร์ตา (ภาษาลาตินแปลว่า “มหากฎบัตร”) เดิมมีชื่อว่า “ข้อบังคับของเหล่าขุนนาง.” พระเจ้าจอห์นประทับตราของพระองค์ในเอกสารที่มี 49 มาตรานี้. ในช่วงไม่กี่วันถัดมา ความตกลงนี้ได้รับการขยายเป็น 63 มาตรา และกษัตริย์ก็ประทับตราในเอกสารอีกครั้ง. การออกกฎบัตรอีกครั้งในปี 1217 มีกฎบัตรที่สองที่เล็กกว่าออกคู่กันด้วยซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้. นับแต่นั้นมา มีการเรียกข้อบังคับนี้ว่า แมกนาคาร์ตา.
ทั้ง 63 มาตราแบ่งออกเป็นเก้าหมวด ซึ่งมีเรื่องที่เกี่ยวกับความคับแค้นใจของเหล่าขุนนาง, การปฏิรูปกฎหมายและความยุติธรรม, และเสรีภาพของคริสตจักร. มาตราที่ 39 ซึ่งเป็นพื้นฐานทางประวัติศาสตร์สำหรับเสรีภาพของพลเมืองอังกฤษ อ่านว่า “ไม่มีเสรีชนคนใดอาจถูกจับหรือถูกจำคุก, หรือถูกยึดสิทธิหรือทรัพย์สิน, หรือถูกประกาศว่าเป็นบุคคลนอกกฎหมายหรือถูกเนรเทศ, หรือถูกริบฐานะของตนในทางอื่นใด, ทั้งเราจะไม่ใช้กำลังกับเขา, หรือสั่งให้ผู้อื่นทำเช่นนั้น เว้นแต่มีการพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายจากผู้ที่เทียบเท่ากับเขาหรือโดยกฎหมายของประเทศ.”