วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ท่านทราบหรือไม่ ? ข้อเสียของ รธน.50 ที่อาจจะยังไม่รู้ จากประชาธิปไตยที่ปลายอุโมงค์

ตอนที่ 1 (7 ต.ค. 54) MP3
http://www.mediafire.com/?1bfze4xbx8lcb7q
ตอนที่ 1 (7 ต.ค. 54) MP4
http://www.mediafire.com/?6as7c49x1x44fcx
ตอนที่ 2
MP3 http://www.mediafire.com/?f0sy2ry9ed349hg
MP4 http://www.mediafire.com/?0jk3j0vm7tccx66
ตอนที่3
MP3 http://www.mediafire.com/?sxi7c1mpyc3xeqt
MP4 http://www.mediafire.com/?9vvd4akypkmqy4z
ตอนที่4
MP3 http://www.mediafire.com/?667np6yla136v1j
MP4 http://www.mediafire.com/?mxahmxdk9lnddvb
ตอนที่5
MP3 http://www.mediafire.com/?q3uno2mzaawpeza
MP4 http://www.mediafire.com/?kzw4s7it9xjsvl8
ตอนที่6
MP3 http://www.mediafire.com/?a0mefdkej7jnd7a
MP4 http://www.mediafire.com/?9xsq3r00ho0d3h1
ตอนที่7
MP3 http://www.mediafire.com/?82g85019d4d8b6v
MP4 http://www.mediafire.com/?d4s3g7otwd7f4ym
ตอนที่8(จบ)
MP3 http://www.mediafire.com/?x0p99333s0hhopp
MP4 http://www.mediafire.com/?yhf55g3c8dhu53q

ย้อนรอยประวัติศาสตร์รัฐประหารไทย

ย้อนรอยประวัติศาสตร์รัฐประหารไทย แบบ MP3 ไว้ฟังในรถ


ตอนที่ 01 http://www.mediafire.com/?8sgujpmi271abac
ตอนที่ 02 http://www.mediafire.com/?pebgie7knrp3hbt
ตอนที่ 03 http://www.mediafire.com/?f9sprw79o68tm89
ตอนที่ 04 http://www.mediafire.com/?551unhk13oaote0
ตอนที่ 05 http://www.mediafire.com/?lgxyf532ga1acl8
ตอนที่ 06 http://www.mediafire.com/?68f6544iivcxxkt
ตอนที่ 07 http://www.mediafire.com/?25ui5mcwbg62p7n
ตอนที่ 08 http://www.mediafire.com/?zi1oyjp2kof28s2
ตอนที่ 09 http://www.mediafire.com/?4x1ywnjde4cua3h
ตอนที่ 10 http://www.mediafire.com/?zwpt2tzqffiuqs8

ตอนที่ 11 http://www.mediafire.com/?4dz8r1y3360d25c
ตอนที่ 12 http://www.mediafire.com/?32hgdw3cc57t9qw
ตอนที่ 13 ไม่มี
ตอนที่ 14 http://www.mediafire.com/?jje17usoefsw6ij
ตอนที่ 15 http://www.mediafire.com/?f28l7s9ms6cfqmg
ตอนที่ 16-1 http://www.mediafire.com/?vc0sqqm8zublaxg
ตอนที่ 16-2 http://www.mediafire.com/?3u5c9v03jp7v53t
ตอนที่ 17-1 http://www.mediafire.com/?z0s0lwno49cskhc
ตอนที่ 17-2 http://www.mediafire.com/?5i5iv3fmfs51ajv
ตอนที่ 18 http://www.mediafire.com/?fvar14www4myc58
ตอนที่ 19 http://www.mediafire.com/?2pz4h74n1uohf05
ตอนที่ 20 http://www.mediafire.com/?e2f3ui1s5g6mbb8
ตอนที่ 21-1 http://www.mediafire.com/?ar04upubuaa3idi
ตอนที่ 21-2 http://www.mediafire.com/?q3hxb449fkfq3pe
ตอนที่ 22-1 http://www.mediafire.com/?s8yoq83y7q83b05
ตอนที่ 22-2 http://www.mediafire.com/?hukxvnx664u2z3t
ตอนที่ 23-1 http://www.mediafire.com/?rdvsbcybtrkxtla
ตอนที่ 23-2 http://www.mediafire.com/?hgo76den23u22p5
ตอนที่ 24-1 http://www.mediafire.com/?zatkz1vi8vupy4c
ตอนที่ 24-2 http://www.mediafire.com/?g006y021s0mct50
ตอนที่ 25 http://www.mediafire.com/?j0iny4l267ib0q6 (จบ

 ย้อนรอยรัฐประหาร MP4 คุณภาพ
สบายตา สบายหู พอประมาณ

ตอนที่ 1 http://www.mediafire.com/?ocww35g5pkw5a2k
ตอนที่ 2 http://www.mediafire.com/?3fo864kbxc8h9s8
ตอนที่ 3 http://www.mediafire.com/?xuy7z6vkbu11zrq
ตอนที่ 4 http://www.mediafire.com/?jgld19098bk41ww
ตอนที่ 5 http://www.mediafire.com/?d1w52378paydzem
ตอนที่ 6 http://www.mediafire.com/?i14b56aa4y4133z
ตอนที่ 7 http://www.mediafire.com/?w8jgdy66f4jsucf
ตอนที่ 8 http://www.mediafire.com/?4q7uwcyw18atcgj
ตอนที่ 9 http://www.mediafire.com/?zrpz19s5duzjd20
ตอนที่ 10 http://www.mediafire.com/?f4m9u7p6st3n38b
ตอนที่ 11 http://www.mediafire.com/?5rn7dwhrc62f5qj
ตอนที่ 12 http://www.mediafire.com/?76j0153o66c0ybn
ตอนที่ 13 ไม่มี
ตอนที่ 14 http://www.mediafire.com/?joh52m65tsnglll
ตอนที่ 15 http://www.mediafire.com/?ifb612ey2uc2mdt
ตอนที่ 16-1 http://www.mediafire.com/?xkl8p1i3ifybt6a
ตอนที่ 16-2 http://www.mediafire.com/?v9ecvc59ot0sdsb
ตอนที่ 17-1 http://www.mediafire.com/?na9ee2h9iic8zec
ตอนที่ 17-2 http://www.mediafire.com/?y6w5r9avla4b2o1
ตอนที่ 18 http://www.mediafire.com/?g2s657i7g65e35n
ตอนที่ 19 http://www.mediafire.com/?4cs94ddckzrt4ww
ตอนที่ 20 http://www.mediafire.com/?43hlipfcj5a3znm
ตอนที่ 21-1 http://www.mediafire.com/?3udqqnddfdxece0
ตอนที่ 21-2 http://www.mediafire.com/?9ya77oxjs2pagwu
ตอนที่ 22-1 http://www.mediafire.com/?r09abac66e8gtqe
ตอนที่ 22-2 http://www.mediafire.com/?73aj57d23blok3j
ตอนที่ 23-1 http://www.mediafire.com/?t34vbiuff6d49a3
ตอนที่ 23-2 http://www.mediafire.com/?a7uiw6ac57318ay
ตอนที่ 24-1 http://www.mediafire.com/?z6861sa6zs5rx0f
ตอนที่ 24-2 http://www.mediafire.com/?vlt0gz0ek6vm5d3
ตอนที่ 25 http://www.mediafire.com/?5izzsqnligw8bz8

หลักคิดของนิติราษฏร์ในมุมมอง จาก Chaay goovara

   หลักคิดของนิติราษฏร์

       หลักการและข้อเสนอของนิติราษฎร์เพื่อกันให้พระมหากษัตริย์พ้นไปจากความขัดแย้ง จากหลักการ the king can do no wrong (กษัตริย์ทำอะไรก็ไม่ผิด) เช่น พระมหากษัตริย์ต้องไม่มีพระราชดำรัสสด
ในที่สาธารณะ การจะมีพระราชดำรัสดังกล่าวต้องมีผู้รับสนองฯ คือต้องผ่านการสกรีนคำพูดก่อน (เป็นเอกสาร) แล้วจึงทรงมีพระราชดำรัส ก็เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มใด ๆ นำไปคำใด ๆ หรือประโยค ๆ ใดในพระราชดำรัสไปอ้างเพื่อเข้าข้างฝ่ายตน เพื่อทำลายกลุ่มหรือฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามให้เกิดความเสียหาย ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพราะนั่นจะทำให้สถาบันหรือตัวพระองค์เองได้รับคำครหาได้ ดังนั้น หากได้รับการสกรีนคำพูดจากผู้รับสนองฯออกไปแล้ว ไม่ว่าใครจะนำไปอ้างก็ตาม ก็ถือว่าพระองค์ไม่ผิด เพราะผู้ผิดคือผู้รับสนองฯนั่นเอง
      ข้อต่อมาที่ว่า พระมหากษัตริย์ต้องสาบานว่าจะปกป้องรักษารัฐธรรมนูญก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง ก็เพราะว่า เป็นการป้องกันการทำรัฐประหารได้เป็นอย่างดี เพราะหากใครจะก่อการรัฐประหาร ก็ไม่สามารถบังคับพระองค์ให้ทรงลงพระปรมาภิไธยได้ เพราะการก่อรัฐประหารถือว่าเป็นการก่อกบฎในราชอาณาจักรเป็นความผิดทางอาญามีโทษถึงประหาร พระองค์สามารถปฏิเสธการรัฐประหารได้ โดยที่ผู้ก่อการจะหาความชอบธรรมจากพระปรมาภิไธย ไม่ได้เลย ซึ่งนี่เป็นการปกป้องพระมหากษัตริย์และสถาบันด้วยอีกทาง
         คณที่เข้ามา เกรียน ต่อต้านหรือเข้ามาด่าทอด้วยคำหยาบคาย เข้าใจเจตนารมณ์เพียงใด ผมเข้าใจว่าพวกคุณไม่ได้อ่านด้วยซ้ำและไม่ได้ทำความเข้าใจแม้แต่น้อย อย่าเพียงใช้อารมณ์ แต่ควรศึกษาหาข้อมูล ไม่มีใครคิดร้ายต่อประเทศนี้เมืองนี้กันหรอกครับสิ่งที่นิติราษฎร์เสนอเป็นคุณูประการยิ่งกับสถาบัน และประชาชนโดยรวม ถามว่าเมื่อคุณเป็นประชาชน คุณอยู่ในประเทศที่บอกว่าเป็นประชาธิปไตย หากคุณไม่ใช้สิทธิตรงนี้ก็ไม่มีใครว่า แต่คุณอย่าไปลดสิทธิของผู้อื่นและพลอยข่มขู่ หรือหยาบคาย หรืออคติต่อผู้อื่น หากคุณไม่เห็นด้วย ก็ควรกลับไปอ่านกลับไปฟังให้ละเอียด ทุกคลิป ทุกคำพูด แล้วคิดตามจากนั้นก็หาข้อมูลอันเป็นเหตุเป็นผลมาขัดแย้งในสิ่งที่นิติราษฎร์เสนอได้ แต่การใช้อคติและอารมณ์เถื่อน ๆ ดิบ ๆ ค้านหัวชนฝาแบบไม่รู้เหนือรู้ใต้ของพวกคุณนั่นแหละที่จะทำให้เกิดความแตกแยกบ้านเมืองเสียหาย รบกวนไปอ่านข้อเสนอนิติราษฎร์ ฟังทุกคลิปให้ครบทุกคำพูดทุกตัวอักษร ไม่ใช่ฟังแต่เนชั่น เอเอสทีวี ผู้จัดการแบบคำพูดเสี้ยม ๆ แล้วออกมาด่า อย่างไม่รู้ทิศรู้ทาง ถ้าคุณรักสถาบันจริง ๆ ลองศึกษา
ประวัติศาสตร์ดูนะครับ ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย ทำไม? เพราะอะไร? ผมบอกให้ทราบก็ได้ว่า พื้นฐานแรกสุดที่กษัตริย์อยู่ไม่ได้ ก็เพราะมีคนแบบพวกคุณนี่แหละที่ปากบอกว่ารัก แต่พฤติกรรมคือการทำลายสถาบันอย่างไม่รู้ตัว
    คนที่คัดค้านการแก้ไข ม.112 ก็ไม่ต่างจากพวกจะล้มสถาบันเสียเอง เพราะยิ่งไม่แก้ซึ่งกฎหมามาตรานี้ จะยิ่งทำให้สถาบันสั่นคลอน ทุกครั้งที่เกิดการจับกุม โดยลักษณะการจับกุมและผลกระทบที่ผู้ต้องหาในคดีที่ผ่านมาได้รับ จะถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในและต่างประเทศ ถ้าใครที่อยากคงมาตรานี้ไว้อย่างเข้มข้น ... ก็ยิ่งเป็นการทำให้สถาบันสะเทือนมาขึ้นเท่านั้น..
เครดิตจาก......คณ  Chirma  Godson
อ้างอิง...ลิงค์ นิติราษฏร์
http://www.enlightened-jurists.com/
แด่นิติราษฎร์ http://www.youtube.com/watch?v=AxLCp_wW8JI

                                      วรเจตน์ vs สมคิด คม ชัด ลึก 03 02 55



 


ดาวน์โหลดได้ที่นี่ http://www.mediafire.com/?dlrunr98md2i67o

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

จรรณยาบรรณของสื่อสารมวลชน

จรรณยาบรรณของสื่อสารมวลชน


ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจถึงจรรยาบรรณของสื่ออันได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์กันก่อน ในที่นี้ได้กล่าวถึงจรรยาบรรณสื่อโดย *อ้างอิงจาก “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน” เอกสารการสอน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 9-15) ดังนี้
1.จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์โดย สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
โดยได้กำหนด “จริยธรรมของสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2510 ไว้ดังนี้
• ความรับผิดชอบ (Responsibility) ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อผลประโยชน์อันชอบธรรมของปัจเจกชน สถาบัน ประเทศชาติ ศาสนา และราชบัลลังก์ (ตรงกับหลักพุทธศาสนาคือ กิจญาณ)
• ความมีเสรีภาพ (Freedom) ได้แก่ เสรีภาพที่มีความรับผิดชอบกำกับ (ตรงกับหลักธรรมในพุทธสาสนาคือ ปวารณา หรือ ธรรมาธิปไตย)
• ความเป็นไท (Independence) ได้แก่ ความไม่ตกเป็นทาสของใครทั้งกายและจิตใจ โดยอามิสสินจ้างอื่นใด(ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนาคือ ความไม่ตกเป็นทาสของอกุศลมูล)
• ความจริงใจ (Sincerity) ได้แก่ ความไม่มีเจตนาบิดเบือน ผิดพลาดต้องรีบแก้ไข (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ สัจจะ)
• ความเที่ยงธรรม (Impartiality) ได้แก่ ความไม่ลำเอียง หรือความไม่เข้าใครออกใคร (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ความไม่มีอคติ 4 ประการ หมายถึง “ฉันทาคติ” ลำเอียงเพราะรัก “โทสาคติ” ลำเอียงเพราะชัง “ภยาคติ” ลำเอียงเพราะกลัว “โมหาคติ” ลำเอียงเพราะหลง)
• ความมีน้ำใจนักกีฬา (Fair Play) ได้แก่ การปฏิบัติดีงาม ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เว้นแต่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ (ตรงกับหลักธรรมในพุทธศาสนา คือ สุปฏิบัติ)
• ความมีมารยาท (Decency) ได้แก่ การใช้ภาษาและภาพที่ไม่หยาบโลนและลามกอนาจาร หรือส่อไปในทางดังกล่าว (ตรงกับหลักพุทธศาสนาคือ โสเจยยะ หรืออาจารย์สมบัติ)

นอกจาก “จริยธรรมของสามาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” แล้ว ยังกำหนด “จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์” ไว้อีก 7 ข้อ คือ
• การส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ เป็นภารกิจอันมีความสำคัญเหนืออื่นใดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์
• การเสนอข่าว ภาพ หรือการแสดงความคิดเห็น ต้องเป็นไปด้วยความสุภาพ สุจริต ปราศจากความมุ่งหวังในประโยชน์ส่วนตนหรืออามิสสินจ้างใดๆ
• การเสนอข่าวต้องเสนอแต่ความจริง พึงละเว้นการต่อเติมเสริมแต่ง หากปรากฏว่าข่าวใดๆไม่ตรงต่อความจริงต้องรีบแก้ไขโดยเร็ว
• การที่จะให้ได้ข่าว ภาพ หรือข้อมูลอย่างใดๆมาเป็นของตน ต้องใช้วิธีการที่สุภาพและซื่อสัตย์
• ต้องเคารพต่อความไว้วางใจที่ได้รับมอบหมายจากการปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพของตน
• ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยถือเอาสาธารณประโยชน์เป็นสำคัญ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์ส่วนตน หรือหมู่คณะโดยมิชอบ
• ต้องไม่กระทำการใดๆอันเป็นการบั่นทอนเกียรติคุณของวิชาชีพหรือความสามัคคีของเพื่อนร่วมวิชาชีพ

2. จรรยาบรรณสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

โดยได้ตราประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายวิทยุและโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 แบ่งเป็น 5 หมวด คือ หมวดทั่วไป หมวดจรรยาบรรณในการเสนอข่าว หมวดจรรยาบรรณในการแสดงความเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ หมวดจรรยาบรรณในการประกาศโฆษณา หมวดความประพฤติ ในที่นี้จะยกหมวดว่าด้วยการเสนอข่าว มาเป็นหลักในการพิจารณาคือ
• ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งรู้อยู่แก่ใจว่าเป็นเท็จ ไม่ว่าลักษณะใดๆ
• ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งทำให้ประชาชนเสียขวัญ เกิดการแตกแยกกระทบกระเทือนความมั่นคงแห่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศ
• ไม่เสนอข่าวและภาพลามกอนาจาร ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
• ไม่เสนอข่าวลือและภาพไร้สาระ ชวนให้หลงเชื่องมงาย
• ไม่เสนอข่าวลือและภาพไร้สาระ
• ไม่สอดแทรกความเห็นใดๆของตนลงไปในข่าว
• ในกรณีคัดลอกข้อความจากหนังสือพิมพ์ หรือหนังสืออื่น ต้องแจ้งให้ทราบถึงแหล่งที่มาของข้อความนั้น
• ภาษาที่ใช้ในการเสนอข่าวและการบรรยายภาพต้องสุภาพ ปราศจากความหมายในเชิงเหยียดหยาม กระทบกระเทียบ เปรียบเปรย เสียดสี
• ไม่ใช้การเสนอข่าวและภาพเป็นไปในทางโฆษณาตนเอง
• ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งขัดกับสาธารณประโยชน์ของประชาชนและสังคมประเทศชาติ
• ไม่เสนอข่าวและภาพซ้ำเติม ระบายสี บุคคล องค์กร สถาบัน ซึ่งตกเป็นข่าว
• ไม่เสนอข่าวและภาพ ในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามลัทธิความเชื่อศาสนาใดๆ
• พึงให้ความเคารพต่อสิทธิของบุคคล องค์กร และสถาบันอื่นตามกฎหมาย
• พึงรับผิดและแก้ไขโดยเปิดเผยและไม่ชักช้าถ้าเกิดความเสียหายแก่บุคคล องค์กร หรือสถาบัน ในการเสนอข่าวผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
• พึงละเว้นจากการรับอามิสสินจ้างใดๆ ให้ทำหรือละเว้นการกระทำเกี่ยวกับการเสนอข่าวตรงไปตรงมา

หลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณขององค์กรสื่อที่ยกมาข้างต้นนั้น ได้รับรองสิทธิและเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อแต่ต้องเป็นไปโดยเคารพกฎ ระเบียบและไม่ละเมิดผู้อื่น ทั้งยังกำหนดให้สื่อยึดถือประโยชน์แห่งสาธารณะเป็นหลัก มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ให้เกียรติแก่ผู้อื่น เป็นที่น่าสังเกตว่าหลักจริยธรรมของสมาคมหนังสือพิมพ์ที่ออกมาเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว (พ.ศ.2510) และจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายวิทยุและโทรทัศน์ ที่ตราออกมาเมื่อ 13 ปีก่อน (พ.ศ.2538) ยังคงเป็นสิ่งที่สื่อโดยทั่วไปคำนึงถึงและให้ความสำคัญกันอยู่หรือไม่ หรือคิดไปว่าข้อกำหนดเหล่านั้นได้ถูกเปลี่ยนไปโดยนวัตกรรมใหม่ๆ ของสื่อเกิดขึ้นมากมายในปัจจุบันไปแล้ว?

สื่อสารมวลชนนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อพลวัตด้านต่างๆ ในสังคมมาโดยตลอด นับตั้งแต่หนังสือพิมพ์ถือกำเนิดขึ้นจนกระทั่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีในด้าน วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ก็ยิ่งทำให้บทบาทของสื่อสารมวลชนแพร่กระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้นประชาชน สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ในหลากหลายรูปแบบและยอมรับสื่อต่างๆเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวันสื่อสารมวลชนจึงกลายเป็นสถาบันที่มี บทบาทสำคัญยิ่งทั้งในแง่ของการให้ข้อมูลข่าวสารและการโน้มนำสังคมในด้าน ต่างๆ จนได้รับการยอมรับว่าสื่อมวลชนเป็นดัง “ฐานันดรที่สี่” (The Fourth Estate) ต่อจากพระมหากษัตริย์ ศาสนจักร และรัฐสภา

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

กบฏ" ที่ไม่ "ขบถ





"กบฏ" ที่ไม่ "ขบถ"!!?

ความเข้าใจในตนเองของ "คณะกู้บ้านกู้เมือง"

การ เข้าใจชุดกระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการปฏิวัติ ๒๔๗๕ กับการเผชิญหน้ากันครั้งสำคัญระหว่างฝ่ายคณะราษฎรกับฝ่ายต่อต้านนั้น การให้ความสำคัญกับการพิจารณาความคิด ความหมาย จุดยืนทางอุดมการณ์เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เกิดความกระจ่างขึ้น

สำหรับ งานเขียนที่นิยามความหมายของจุดยืนทางอุดมการณ์การเมืองในเวลาใกล้เคียงนั้น ทั้ง ม.ร.ว.ทรงสุจริต นวรัตน และ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน ให้ความหมายของคำว่า "อนุรักษ์นิยม หมายถึง พวกหัวเก่าเห็นว่าวิธีการเก่าๆ ที่ใช้นั้นดีอยู่แล้ว การแก้ไขเปลี่ยนแปลงมีแต่จะได้รับผลร้าย...พวกนี้ถือคติว่า ก่อนกระโดดจงมองดูให้ดี กล่าวโดยทั่วไปแล้ว พวกนับถือราชวงศ์คือ พวกรอยัลลิสม์ (Royalism) และโมนาคิสม์ (Monarchism) นับเป็นแขนงหนึ่งของพวกคอนเซอเวตีฟ หรือจะกล่าวว่า พวกคอนเซอเวตีฟพวกหนึ่งมาจากคตินับถือราชวงศ์ก็ได้" ทั้งนี้ "คอนเซอเวตีฟพวกนี้เห็นว่ากษัตริย์ทรงคุณแก่ประเทศ จึงสมควรสนับสนุนด้วยการถวายพระราชอำนาจ ความนับถือและเทิดทูนบูชา คติรอยัลลิสม์เห็นได้ชัดเจนในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ถึงแม้เลิกใช้ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชแล้ว คติรอยัลลิสม์ก็ยังมีอยู่"  ( ม.ร.ว.ทรงสุจริต นวรัตน และ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน. พรรคการเมืองสยามและต่างประเทศ. พระนคร : โรงพิมพ์เจตนาผล, ๒๔๘๑, หน้า ๒๐, ๒๘. )
ในงานบันทึกความทรงจำมากมายหลายชิ้นของเหล่าผู้เข้า ร่วมกับ "คณะกู้บ้านกู้เมือง" ซึ่งนำโดยพระองค์เจ้าบวรเดช ปี ๒๔๗๖ นั้น ไม่มีงานชิ้นใดที่บอกว่า พวกตนเป็น "ขบถ" ซึ่งก็เป็นเรื่องแน่นอนว่า ไม่มีใครยอมรับว่า การกระทำของตนไม่ถูกต้อง แต่ประเด็นที่น่าสนใจกว่าก็คือ สำหรับพวกเขาแล้ว พวกเขาให้ความหมายกับคำนี้อย่างไรต่างหาก การพิจารณาประเด็นดังกล่าวต้องการความละเอียดอ่อนพอที่จะเข้าใจความแตกต่าง ของการให้ความหมายของคำที่ "คณะกู้บ้านกู้เมือง" ใช้เพื่อสามารถเข้าใจฐานคิด จุดยืนของอุดมการณ์การเมือง และการกล่าวอ้างถึงความชอบธรรมของฝ่ายตน ซึ่งเป็นประเด็นที่โต้แย้งกันมาตลอด ตั้งแต่ช่วงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และการกลับมาอีกครั้งของการยืนยันตัวเองในการเป็น "นักประชาธิปไตย" และการเคลื่อนไหวทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ของคนเหล่านี้

คำ ว่า "ขบถ" ในอักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ (พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖) ให้ความหมายว่า "คิดจะทำร้ายเจ้าชีวิต" แต่สำหรับปทานุกรมของกรมตำรากระทรวงธรรมการ พ.ศ. ๒๔๗๐ คำว่า กบฏ คือ ความคดโกง พยศร้าย ล่อลวง ส่วนพจนานุกรมสำหรับนักเรียน ฉบับแก้ไขปรับปรุงของกรมตำรา กระทรวงธรรมการ พ.ศ. ๒๔๗๒ คำว่า กบฏ คือ ความคด ความโกง ความทรยศ การประทุษร้ายต่ออาณาจักร

จากความหมายข้าง ต้น สามารถสรุปความหมายได้ ๒ ความหมาย คือ คำว่า "ขบถ" ที่เก่าที่สุดนั้นแนวคิดสำคัญคือ การต่อต้านกษัตริย์ การคิดทำร้ายกษัตริย์ การช่วงชิงพระราชอำนาจ ซึ่งให้ความสำคัญกับบุคคลมากกว่า แต่สำหรับอีกความหมายหนึ่งซึ่งใหม่ขึ้นมาอีกนั้น จะให้ความหมายของคำดังกล่าวในเชิงนามธรรมภายใต้แนวคิดสมัยใหม่ที่มองหรือให้ ความสำคัญกับคำว่าอาณาบริเวณที่หมายรวมถึงสิ่งอื่นๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาตามแนวคิดรัฐสมัยใหม่ควบคู่มากขึ้น เช่น ดินแดน และรัฐบาล ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า คำว่า "กบฏ" มีความหมายเกี่ยวกับ การคิดคด ความโกง ความทรยศ การต่อต้านศูนย์กลางอำนาจ/รัฐบาล

เมื่อนำ "คำ" ดังกล่าวมาพิจารณาควบคู่กับบริบททางการเมืองหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ แล้วก็จะพบว่า รัฐบาลเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความเป็นรัฐสมัยใหม่ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญที่ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และมีการแบ่งแยกอำนาจ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงใช้อำนาจอธิปไตยการบริหารแทนประชาชนโดยรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นการต่อต้านรัฐบาลคือกบฏ แต่สำหรับ "คณะกู้บ้านกู้เมือง" แล้ว อย่างน้อยพวกเขาไม่เคยยอมรับว่าพวกเขาเป็น "ขบถ" ในความหมายที่คิดร้ายต่อกษัตริย์ หรือแย่งชิงพระราชอำนาจ แต่เป็น "การเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่"

ความเข้าใจต่อตนของพวกเขาในการยกทหาร ลงมา "ปราบขบถ" นั้นเป็นการต่อต้านรัฐบาล (ศูนย์กลางอำนาจ) แต่ไม่ได้ทรยศต่อพระมหากษัตริย์ ดังจะเห็นถึงตัวอย่างความรู้สึกนึกคิดของหลวงโหมรอนราญ ที่ได้บันทึกไว้ว่า "สำคัญที่สุดอยู่ในหัวใจของข้าพเจ้านั้น ซื่อสัตย์กตัญญูต่อพระมหากษัตริย์และพระบรมราชจักรีวงศ์อยู่ในสายเลือด จึงเกลียดชังผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินยิ่งนัก เพราะข้าพเจ้าถือว่านี้เป็นขบถ หมิ่นหยามและอกตัญญูต่อพระมหากษัตริย์ จึงตั้งใจว่าถ้ามีโอกาส จะลุกขึ้นต่อสู้และปราบปรามพวกขบถเหล่านี้ให้จงได้" ( หลวงโหมรอนราญ. "ชีวประวัติของข้าพเจ้า". อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันตำรวจโท หลวงโหมรอนราญ, หน้า ๔๕-๔๖. ในขณะที่รัฐบาลและฝ่ายสนับสนุนระบอบรัฐธรรมนูญ อย่างกุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้สะท้อนทัศนะต่อเหตุการณ์นี้ ว่า "ทำไมยังไม่ถึงเวลาที่จะเรียกเจ้าบวรเดชว่าอ้ายพวกกบฏ เจ้าบวรเดชกบฏต่อรัฐบาล กบฏต่อรัฐธรรมนูญ กบฏต่อมติมหาชน นี่เรายังเรียกกบฏไม่ได้อีกหรือ" ("ลาก่อนรัฐธรรมนูญ," ใน เทอดรัฐธรรมนูญ. ๒๔๗๖, หน้า ๒๘๖.)
แม้ว่าในช่วงปลายสงคราม รัฐบาลได้ประกาศพระราชกำหนดนิรโทษกรรมฯ แล้วก็ตาม แต่หลวงโหมรอนราญยังคงมีจุดยืนความคิดที่ไม่แตกต่างไปจากเดิมที่ว่าคณะราษฎร แย่งชิงพระราชสมบัติ เขายืนยันว่า "ข้าพเจ้าเห็นว่าพวกคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินยังมีอำนาจราช ศักดิ์ เป็นคณะรัฐบาลอยู่หลายคน ข้าพเจ้าไม่อยากอยู่ร่วมแผ่นดินกับพวกขบถเหล่านี้ [เน้นโดยผู้เขียนบทความ]" (  หลวงโหมรอนราญ. อ้างแล้ว. หน้า ๔๖. )

การ ตระหนักรู้ตนเองในการเป็นพวก "รอยัลลิสต์" นี้ แกนนำอีกคนหนึ่งในการยกกองทัพจากหัวเมืองครั้งนี้ คือพระยาศราภัยพิพัฒ ได้เล่าถึงความรู้สึกของเขาหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ไม่นานว่า เขาไม่หวาดวิตกในการมีรายชื่อที่จะถูกปลดจากราชการในฐานเป็น "พวกเจ้า" เลย แต่เขากลับเห็นว่าเป็นเรื่องน่าภูมิใจว่าเป็น "พวกเจ้า" เขาเห็นว่า สำหรับเขาแล้ว เมื่อพวกเจ้าตกอับ เขาก็พร้อมที่จะตกเหวตามไปด้วย  ( พระยาศราภัยพิพัฒ. ฝันจริงของข้าพเจ้า. พระนคร : เดลิเมล์, ๒๔๗๖, หน้า ๒-๓. )

หลัง การปฏิวัติไม่นาน เขาถูกปลดออกจากราชการ และได้ไปทำงานที่บริษัทสยามฟรีเพรสส์ ของหลุย คีรีวัต ต่อมาเขาได้เดินทางไปปีนังเข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เขาเล่าว่า เมื่อเขากลับมาได้ถูกจับจ้องจากคณะราษฎรมาก จนได้รับหนังสือตักเตือนจากหลวงพิบูลสงครามและหลวงศุภชลาศัย ไม่นานหลังจากนั้น เขาได้เดินทางไปท่องเที่ยวในจีนและญี่ปุ่นและได้เขียนสารคดีท่องเที่ยว ประกอบการวิจารณ์การเมือง ทำให้เราได้ทราบความคิดทางการเมือง หรือเค้าความคิดในรัฐธรรมนูญอุดมคติของพระยาศราภัยพิพัฒ คือ เขาชื่นชมกับรัฐธรรมนูญฉบับพระราชทานของจักรพรรดิเมจิของญี่ปุ่นที่บัญญัติ ให้พระองค์มีพระราชอำนาจมาก

และเขาเห็นว่าองค์จักรพรรดิมีการเตรียม การเป็นเวลานานเพื่อให้ประชาชนมีความพร้อม เขาประเมินว่าการที่องค์จักรพรรดิมีอำนาจสูงสุดแบบเอกาธิปไตยในรัฐธรรมนูญ นั้นมีความเหมาะสม เพราะพระองค์จะชี้ขาดปัญหาทั้งมวล โดยประชาชนจะรอคอยพระบรมราชโองการอย่างจงรักภักดี

และพระยาศราภัย พิพัฒได้ประเมินสภาพการณ์หลังการปฏิวัติว่า การปฏิวัติเป็นการนำความเสื่อมมาสู่สังคม โดยเขากล่าวถึงความเสื่อมโทรมของศีลธรรมเยาวชนว่า "จะเห็นได้จากพฤติการณ์และนิสัยเด็กหนุ่มของเราได้เสื่อมลงไปในระหว่างปีก ลาย [๒๔๗๕] กับปีนี้ [๒๔๗๖] เป็นอันมาก เพราะเสรีภาพปลุกให้เขาตื่นอย่างัวเงีย"

การจัดวางพระราชอำนาจในรัฐ ธรรมนูญที่ไม่เหมาะสมหลังการปฏิวัติให้สอดคล้องตามพระราชประสงค์ของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าฯ และเหล่าพระราชวงศ์ ทำให้เกิดการสนับสนุนงบประมาณจากพระคลังข้างที่ในการยกกองทัพจากหัวเมือง เป็นเหตุให้เกิด "คณะกู้บ้านกู้เมือง" เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๗๖ พร้อมกับการยื่นคำขาดต่อคณะราษฎร จากความพ่ายแพ้ของการโต้ "อภิวัฒน์" นี้ ทำให้พระองค์เจ้าบวรเดชและแกนนำต้องลี้ภัยไปยังเวียดนามและสิงคโปร์ ส่วนนายทหารระดับนำเสียชีวิตในที่รบ แนวร่วมจำนวนมากถูกจับขึ้นศาล และนำไปสู่การจับกุมผู้เกี่ยวข้อง ๖๐๐ คน โดยถูกส่งฟ้องศาลพิเศษ ๓๔๖ คน ถูกตัดสินลงโทษ ๒๕๐ คน ถูกปลดจากราชการ ๑๑๗ คน  (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. แผนชิงชาติไทย. หน้า ๑๘-๑๙.)

ใน ระหว่างคุมขังนักโทษทางการเมืองเหล่านี้ พวกเขาได้บันทึกความทรงจำและแต่งนิยายขึ้นจำนวนมากที่เล่าในลักษณะกลับหัว กลับหาง และภายหลังถูกนำมาเผยแพร่เมื่อได้รับการปลดปล่อย อย่างไรก็ตามบันทึกความทรงจำและนิยายเหล่านี้ ทำให้เราได้ทราบความรู้สึกนึกคิด ความคิดทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขาในเวลาต่อมา

ราชธรรมนูญ" กับ "ราษฎร์ธรรมนูญ

"ราชธรรมนูญ" กับ "ราษฎร์ธรรมนูญ"

ปัญหากำเนิด "ระบอบรัฐธรรมนูญ" และความขัดแย้งของขนาดพระราชอำนาจหลังการปฏิวัติ

ประเด็นหนึ่งในการรื้อสร้างการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ของ "การเมืองเรื่องเล่า" คือการกล่าวว่า การปฏิวัติของคณะราษฎรนั้นเป็นการ "ชิงสุกก่อนห่าม" โดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์พระราชทาน "รัฐธรรมนูญ" อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงก็คือ การร่าง "รัฐธรรมนูญ" นั้นเป็นการร่างลับตามพระราชประสงค์ของพระองค์ โดยมีน้อยคนที่รู้ นอกนั้นไม่เคยมีใครได้เห็นเอกสาร นอกจากพูดต่อกันมา มีขุนนางในระบอบเก่าคนหนึ่งนาม***พระยาศรีวิสารวาจา*** เท่านั้นที่รู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี

พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล, ๒๔๓๙-๒๕๑๑) บัณฑิตเกียรตินิยมทางกฎหมายจากออกซฟอร์ด บาร์ริสเตอร์มิดเดิลเทมเปิล อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศในระบอบเก่า รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสมัยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (๒๔๙๕-๒๔๙๖) รัฐมนตรี (๒๔๘๙, ๒๔๙๐-๒๔๙๑) สมาชิกวุฒิสภา (๒๔๙๒-๒๔๙๔) องคมนตรี (๒๔๙๕-๒๕๐๕) ประธานที่ปรึกษาราชการของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (๒๕๐๕-๒๕๐๖) ชีวประวัติ พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา, พิมพ์เป็นบรรณาการเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ๘ มิถุนายน ๒๕๑๑, พระนคร : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี.

เพราะเขามีส่วนร่วมในการร่าง และรู้ว่ามันมีสาระเช่นไร อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏหลักฐานถึงการบอกถึงสาระที่แท้จริงในฉบับร่างจากเขาตลอดช่วงชีวิต แม้ว่าเขาจะมีส่วนในการเป็นรัฐมนตรีหลังการปฏิวัติหลายครั้งจนกระทั่งถึง สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ตาม ในอีกแง่หนึ่งนี่อาจเป็นเรื่องปกติก็ได้หากมองจากจุดยืนทางการเมืองของเขา เพราะสำหรับพระยาศรีวิสารวาจาแล้วอาจเป็นการดีกว่า ถ้าจะปล่อยให้เรื่องเล่าการจะพระราชทานสิ่งที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญ" ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และการชิงสุกก่อนห่ามของคณะราษฎรนั้นให้คงอยู่ในสังคมต่อไป เพราะเรื่องเล่าแบบนี้มีผลบวกต่อสิ่งที่เขาชื่นชมและทำให้คนฟังเห็นถึงความไม่จำเป็นของการปฏิวัติ ๒๔๗๕

หลังการเปิดหอจดหมายเหตุแห่งชาติเมื่อปี ๒๕๑๘ ความกระจ่างแจ้งในสาระสำคัญของเอกสารที่ทรงให้ร่างขึ้น และถูกเรียกจากผู้ต่อต้านการปฏิวัติว่าเป็น "รัฐธรรมนูญ" อันจะพระราชทานให้กับปวงชนชาวสยามนั้นก็ได้ปรากฏขึ้น เมื่อมีการค้นพบเอกสารสำคัญ ๒ ชิ้น ชิ้นแรกคือ ร่างกฎหมาย ปี ๒๔๖๙ ฉบับพระยากัลยาณไมตรี ( (Francis B. Sayre) (ในต้นฉบับไม่ระบุชื่อกฎหมายและไม่ได้เรียกว่ารัฐธรรมนูญ) แถมสุข นุ่มนนท์. การเมืองและการต่างประเทศในประวัติศาสตร์ไทย. )

ซึ่งมีสาระสำคัญคือ สถาบันพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจสูงสุดในราชอาณาจักร ให้มีอภิรัฐมนตรีสภา และตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่เสนอนโยบายทั่วไปให้พระมหากษัตริย์ทรงตัดสินพระทัย และนายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้อำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ กล่าวโดยสรุปแล้วหมายความว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดทาง การบริหาร นิติบัญญัติและการแก้ไขกฎหมาย หรือนัยหนึ่งก็คือทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยนั่นเอง

เอกสารอีกชิ้นหนึ่งคือ สำหรับร่างกฎหมาย ปี ๒๔๗๔ ซึ่งเขียนโดยเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจา เอกสารนี้ใช้ชื่อว่าเค้าโครงร่างการเปลี่ยนรูปรัฐบาล (An Outline of Changes in the Form of the Government) มิได้ใช้คำว่ารัฐธรรมนูญ  ( หจช.ร.๗ ม.๑.๓/๑๔๒ "An Outline of Changes in the Form of the Government" )

ร่างฉบับนี้มีสาระสำคัญคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดทางการบริหารและการนิติบัญญัติ โดยมีพระราชอำนาจเหนือสภานิติบัญญัติ เหนือสภาอภิรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีกับคณะรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจสูงสุดในการแต่งตั้ง และถอดถอนสภาอภิรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ ส่วนที่มาของสภานิติบัญญัตินั้น อาจมาจากการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งก็ได้ แต่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการยุบสภา โดยสรุปแล้วพระมหากษัตริย์คือผู้ทรงอำนาจอธิปไตยอีกเช่นกัน ( โปรดดูเปรียบเทียบ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ มาตรา ๑ ระบุว่า อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย )

จากหลักฐานเหล่านี้ยืนยันว่า เป็นความจริงที่พระองค์ทรงเตรียมร่างกฎหมายเกี่ยวกับการปกครอง แต่จะเป็นประชาธิปไตยตามหลักประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรือไม่ ขอให้พิจารณาขนาดของพระราชอำนาจที่มีอย่างมากมายแล้วคงไม่ต้องเถียงกันอีกต่อไป

(สำหรับข้อกล่าวหาคณะราษฎรที่ชิงสุกก่อนห่ามในการนำการปฏิวัติทั้งๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะพระราชทาน "รัฐธรรมนูญ" นั้น เรื่องเล่าเหล่านี้ได้ผ่านไปสู่การตั้งคำถามต่อหลวงประดิษฐ์มนูธรรม แกนนำคนสำคัญของคณะราษฎรซึ่งเขาได้กล่าวว่า คณะราษฎรเพิ่งได้ทราบถึงสาระสำคัญในร่างกฎหมายหรือเค้าโครงร่างการเปลี่ยนรูปรัฐบาลจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ หลังการปฏิวัติไม่กี่วัน แต่อย่างไรก็ตามเขาเห็นเกี่ยวกับสาระสำคัญที่อยู่ภายในร่างว่า ปัญญาชนรับฟังสิ่งใดควรไตร่ตรองให้รอบคอบให้สามารถแยกแยะออกเป็นประเภทอย่างแจ่มชัดได้ เช่น "เมื่อจะรู้เรื่องปลาก็มิเพียงแต่เห็นว่าสัตว์น้ำนั้นมีเหงือกมีหางว่ายน้ำ ได้ก็เป็นปลาประเภทเดียวกัน คือ จะต้องรู้ว่า สัตว์น้ำนั้น เป็นปลาช่อน หรือปลาหมอ ฉันใดฉันนั้น เมื่อรับฟังว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้วก็ควรสอบถามผู้บอกเล่าว่า พระองค์จะพระราชทานรัฐธรรมนูญชนิดใด" (ปรีดี พนมยงค์. "บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎร และระบบประชาธิปไตย," ใน รัฐศาสตร์ ๑๔. ชมรมหนังสือยูงรำแพน, ๒๕๑๗, หน้า ๒๖๒-๒๖๓.)

การเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างรวดเร็วในเช้าวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้นเป็นเสมือนหนึ่งการปิดฉากระบอบเก่าลง พร้อมกับการสถาปนา "ระบอบรัฐธรรมนูญ" ขึ้นมาได้ (ภายหลังเรียกระบอบประชาธิปไตย ) มีการถกเถียงกันในการตีความกำเนิดรัฐธรรมนูญสยามว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากการตกลงกันระหว่างราษฎรและผู้ปกครอง ( ในสายตานักกฎหมายและครูกฎหมายร่วมสมัยอย่างเดือน บุนนาค หลวงประเจิดอักษรลักษณ์ และไพโรจน์ ชัยนาม ต่างประเมินตรงกันว่า รัฐธรรมนูญสยามนั้นเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้ปกครองกับราษฎร หาใช่การพระราชทานไม่ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงสามารถอธิบายถึงความชอบธรรมของที่มาสมาชิกสภาผู้แทนประเภท ๒ ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยคณะราษฎรได้ ในตำรากฎหมายขณะนั้นเห็นว่ากำเนิดรัฐธรรมนูญมี ๓ แบบ ดังนี้

แบบแรก ผู้ปกครองรัฐเป็นผู้ให้ (charter) ซึ่งเกิดจากเจตนาของผู้ปกครองฝ่ายเดียว ดังนั้นการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างพระราชอำนาจของผู้ปกครองจะอยู่สูงสุด เหนือสถาบันการเมืองอื่นๆ เช่น รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นฉบับเมจิ ค.ศ. ๑๘๘๙

แบบที่ ๒ ราษฎรเป็นผู้ร่างเองทั้งหมด หรือตั้งสภาราษฎรขึ้นเพื่อร่าง (convention) เช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ค.ศ. ๑๗๘๗

แบบสุดท้าย ผู้ปกครองกับราษฎรกัน (pact) เป็นการแสดงเจตนาร่วมกันหลังการปฏิวัติ เมื่อตกลงกันได้จึงจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญของอังกฤษ ค.ศ. ๑๖๘๘ รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๘๓๐ และรัฐธรรมนูญสยามฉบับวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ และฉบับวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. ความคิด ความรู้และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕. กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน, หน้า ๑๓-๑๕.)

หรือเกิดจากการพระราชทาน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในทางการเมือง

ฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติเห็นว่ากำเนิดรัฐธรรมนูญเป็นการตกลงกันระหว่าง ๒ ฝ่าย (มีเหตุแห่งการปฏิวัติ ฝ่ายปฏิวัติชนะ และตกลงกันได้) พระมหากษัตริย์ + คณะราษฎร รัฐธรรมนูญ = พระมหากษัตริย์ + สถาบันการเมือง (กรรมการคณะราษฎร-ต่อมาเรียกคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และศาล) + ประชาชน] พระมหากษัตริย์จึงทรงมีฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงอยู่เหนือการเมือง ตามหลักพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะที่ละเมิดมิได้เพื่อทรงจะไม่ถูกวิจารณ์ จากผลของการกระทำนั้นโดยตรง การกระทำใดๆ ของพระมหากษัตริย์จะต้องมีผู้สนองพระบรมราชโองการเสมอ ดังนั้นการแต่งตั้งสมาชิกสภาประเภท ๒ จึงเป็นอำนาจของสถาบันการเมืองเสนอให้ทรงแต่งตั้ง สำหรับสมาชิกประเภทแรกมาจากการเลือกตั้งของประชาชน

แต่สำหรับฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ (หรือพวกที่เรียกกันในเวลานั้นว่าพวก "รอยัลลิสต์") กลับเห็นว่า รัฐธรรมนูญสยามกำเนิดจากการพระราชทานจากพระมหากษัตริย์แต่ฝ่ายเดียว [(ไม่สมควรมีเหตุแห่งการปฏิวัติ (แม้จริงๆ แล้วจะมีการปฏิวัติ) เพราะจะพระราชทานอยู่แล้ว)  โปรดดูสาระสำคัญในร่างกฎหมายและเค้าโครงร่างการเปลี่ยนรูปรัฐบาลที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ จะพระราชทานฯ ข้างต้น

พระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญ = พระมหากษัตริย์ + สถาบันการเมือง + ประชาชน] พระมหากษัตริย์ต้องมีพระราชอำนาจทางการเมืองมากในลักษณะที่เท่าๆ หรือเหนือกว่ารัฐธรรมนูญ เพราะพระองค์ทรงเป็นที่มาแห่งกำเนิดรัฐธรรมนูญ เป็นที่มาแห่งอำนาจอธิปไตย ดังนั้นย่อมนำไปสู่ความเห็นว่าการแต่งตั้งสมาชิกประเภท ๒ ต้องเป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์อย่างสมบูรณ์ และสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องมิใช่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญแบบที่พวกแรกกำหนด

ด้วยความเข้าใจเช่นนี้ จึงนำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านการปฏิวัติ และการรื้อสร้างการปฏิวัติ ซึ่งจะกลายเป็นกระบวนการที่ยาวนานกระบวนการหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย

ความไม่สบพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงบันทึกความรู้สึกเมื่อแรกเห็น พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามว่า "หลักการของผู้ก่อการกับหลักการของข้าพเจ้านั้น ไม่พ้องกันเสียแล้ว...ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการฉุกเฉิน...ข้าพเจ้าจึงได้ยอม ผ่อนผันไปตามความประสงค์ของคณะผู้ก่อการในครั้งนั้นก่อน ทั้งนี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับหลักการเหล่านั้นเลย" (แถลงการณ์เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ, ๒๔๗๘, หน้า ๘๙.) และทรงเติมคำว่า "ชั่วคราว" ลงไป

ต่อพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ (ฉบับหลังการปฏิวัติใหม่ๆ) ในประเด็นคำเรียกขาน และการบัญญัติให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีเท่าๆ กับสถาบันการเมืองอื่น เช่น กรรมการคณะราษฎร สภาผู้แทนราษฎร และศาล ตลอดจนประเด็นเรื่องพระราชอำนาจ นำมาสู่การที่ทรงต่อรองกับคณะราษฎรว่า ทรงจะขอแก้ไข "เรื่องเล็กๆ เรื่องหนึ่ง" ซึ่งคณะราษฎรยินยอม หลังจากนั้นทรงเติมพระอักษรลงไปในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินว่า "ชั่วคราว" ก่อนจะทรงลงพระปรมาภิไธย  ยาสุกิจิ ยาตาเบ อดีตอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำสยาม (๒๔๗๑-๒๔๗๙) ผู้มีสายตาที่ละเอียดอ่อนและได้มีส่วนรับรู้เหตุการณ์ในช่วงนี้ เขาเห็นว่า การเติมคำว่า "ชั่วคราว" ลงไปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ นี้ เป็นการแก้ไขที่สำคัญอย่างยิ่ง หากเปรียบกับธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราวกับรัฐธรรมนูญฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ในประเด็นเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจ (นอกจากนี้เขาบันทึกเกี่ยวกับการรัฐประหารด้วยการปิดสภาผู้แทนฯ (๑ เมษายน ๒๔๗๖) ในสมัยพระยามโนปกรณ์ฯ ว่า เขาทราบว่ามีการเตรียมแผนการระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กับพระยามโนปกรณ์ฯ ในการปิดสภาผู้แทนฯ อย่างน้อย ๑ สัปดาห์ เพื่อกำจัดหลวงประดิษฐ์ฯ และพรรคพวก และเขาเห็นว่ารัฐบาลขณะนั้นโฆษณาเกินความจริงเกี่ยวกับร่างเค้าโครงการ เศรษฐกิจฯ เพื่อมุ่งประหารชีวิตทางการเมืองของหลวงประดิษฐ์ฯ และเป็นการสร้างความชอบธรรมในการรัฐประหารร่วมของพระยามโนปกรณ์ฯ กับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ โปรดดูเพิ่มเติมประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจในบันทึกความทรงจำของยาสุกิจิ ยาตาเบ (เขียน) เออิจิ มูราชิมา และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (แปล). การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในประเทศสยาม. หน้า ๒๐, ๔๔-๔๕.)

ผลแห่งการแก้ไขเรื่อง "เล็กๆ" นี้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ ฉบับ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นฉบับที่คณะผู้ร่างเกือบทั้งหมดมาจากขุนนางระบอบเก่า ประเด็นสำคัญที่มีการแก้ไขและเพิ่มเติมคือ การใช้คำว่าพระมหากษัตริย์ การใช้คำว่านายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี การบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะที่เคารพสักการะผู้ใดละเมิดมิได้ พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าอยู่เหนือการเมือง เป็นต้น การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ได้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา ประเด็นเรื่องที่มาของผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ อันมาจากแต่งตั้งโดยคณะราษฎรแทนที่จะเป็นพระราชอำนาจนั้นนำมาซึ่งความไม่พอ ใจเป็นอันมากในหมู่พระราชวงศ์และพวก "รอยัลลิสต์" ทั้งๆ ที่คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญเกือบทั้งหมดล้วนมาจากขุนนางระบอบเก่า และการร่างอยู่ใต้การปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับพระองค์ทั้งสิ้น

สภาวะความหวาดระแวงระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กับคณะราษฎรนั้นดำรงมาตลอดและปรากฏชัดเจนเมื่อพระองค์ให้เจ้าพระยาวรพงศ์ พิพัฒน์ เจ้ากรมสำนักพระราชวังจัดตั้งหน่วยราชการพิเศษขึ้น โดยเลือกพโยม โรจนวิภาต ข้าราชการสำนักพระราชวังซึ่งคลุกคลีกับวงการหนังสือพิมพ์เป็น "สายลับส่วนพระองค์" ในนาม "พ.๒๗" เพื่อทำหน้าที่รายงานความเคลื่อนไหวของคณะราษฎรและแวดวงหนังสือพิมพ์ให้พระองค์ทรงทราบเป็นการลับโดยตรง สำหรับ "พ.๒๗" เขาเห็นว่าวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็น "วันโลกาวินาศ"  ("อ.ก.รุ่งแสง" (พโยม โรจนวิภาต). พ.๒๗ สายลับพระปกเกล้าฯ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเกษม, หน้า ๒๒๙. (งานชิ้นนี้ พโยมเขียนเป็นตอนๆ ลงพิมพ์ครั้งแรกในฟ้าเมืองไทย ในช่วงปี ๒๕๑๓)

"พ.๒๗" ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี จนได้รับคำชมจากพระองค์ว่ารายงานลับของเขานั้นรู้ดี แต่ยังไม่ลึกพอ รายงานฉบับสุดท้ายของ "พ.๒๗" ก่อนการลี้ภัยของเขาก็คือ การรายงานว่า เกิดการเคลื่อนไหวของทหารที่หัวเมืองเมื่อต้นเดือนตุลาคม ๒๔๗๖ โดยมีพระองค์เจ้าบวรเดชทรงเป็นต้นคิดแผนการครั้งนี้