กานดา นาคน้อย
23 มีนาคม 2555
23 มีนาคม 2555
ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สื่อมวลชนบางสังกัดและนักวิชาการบางกลุ่มร่วมกันสร้างวาทกรรม “ทุนสามานย์” เพื่อโจมตีกลุ่มทุนในธุรกิจโทรคมนาคมของอดีตนายกทักษิณฯ ว่าเป็นกลุ่มทุนผูกขาดที่ชั่วช้าสามานย์ราวปิศาจ วาทกรรมนี้ พยายามสร้างความชอบธรรมให้รัฐประหาร ทั้งๆที่จริงแล้วกองทัพไทยคือกลุ่มทุนที่ผูกขาดหลายกิจการมา 55 ปี ถ้าเรานิยาม “ทุนสามานย์” ว่าเป็นทุนผูกขาดก็แปลว่ากองทัพไทยเป็นทุนสามานย์มานานกว่าครึ่งศตวรรษ ดังนั้นถ้าเปรียบทุนสามานย์ว่าเป็นปิศาจ ก็แปลว่าสื่อมวลชนและนักวิชาการที่สนับสนุนรัฐประหารชื่นชอบปิศาจหน้าเก่า ที่สิงประเทศมา 55 ปีมากกว่าปิศาจหน้าใหม่ที่สิงประเทศมาไม่ถึง 6 ปี
ทุนกองทัพไทยคือเอกลักษณ์ของทุนนิยมแบบไทยๆ
กองทัพบกภายใต้การนาของจอมพลสฤษดิ์ในตาแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเริ่ม ประกอบธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศตั้งแต่ปีพศ. 2500 กล่าวคือ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจถ่ายทอดรายการทางโทรทัศน์ ธุรกิจกระจายเสียงทางวิทยุ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการพนัน ส่วนกองทัพอากาศเริ่มธุรกิจการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศตั้งแต่ปีพศ. 2502
การขยายกิจการของกองทัพเข้าสู่ธุรกิจเหล่านี้ทำให้เกิดการสะสมทุน (Capital accumulation) ภายในกองทัพมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ปีพศ. 2500 กองทัพมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหมือนกลุ่มทุนอื่นๆในไทย ทำให้การป้องกันประเทศกลายเป็นกิจกรรมรองของกองทัพ กิจกรรมหลักของกองทัพคือการทำธุรกิจและทารัฐประหารเพื่อผลประโยชน์จากธุรกิจ ความเป็นกลุ่มทุนของกองทัพไทยคือปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ทำให้ไทยมีรัฐประหาร บ่อยจนติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก และทำให้ศักยภาพของอุตสาหกรรมอาวุธไทยต่ำมาก ไทยไม่มีวันกลายเป็นทุนนิยมสากลตราบใดที่ธุรกิจของกองทัพไม่โดนแปรรูปให้ เป็นเอกชน การแปรรูปธุรกิจของกองทัพสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการแปรรูปรัฐ วิสาหกิจด้วยซ้ำ
กองทัพสหรัฐฯไม่ใช่ต้นแบบโมเดลของทุนกองทัพไทย
แม้ว่ากองทัพไทยได้รับความช่วยเหลือทางการทหารจากกองทัพสหรัฐฯตั้งแต่ สงครามเกาหลีในปี 2493 กองทัพสหรัฐฯไม่ใช่ต้นแบบความเป็นกลุ่มทุนเพราะกองทัพสหรัฐฯไม่ใช่กลุ่มทุน กองทัพสหรัฐฯเกี่ยวข้องกับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆผ่านสัมปทานและการจัดซื้อ เหมือนกองทัพในประเทศทุนนิยมสากลอื่นๆเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาวุธ โทรคมนาคม หรือขนส่ง กองทัพในประเทศทุนนิยมสากลไม่ถือหุ้นธนาคารและไม่บริหารธนาคาร ไม่ถือหุ้นและไม่บริหารสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ ไม่บริหารสายการบินพาณิชย์หรือสนามบินพาณิชย์ ไม่บริหารบ่อนพนัน และไม่บริหารอสังหาริมทรัพย์ในเชิงพาณิชย์
แม้ว่าค่ายทหารในสหรัฐฯบางแห่งมีบริการสันทนาการและสนามกอล์ฟ บริการสันทนาการในค่ายทหารสหรัฐฯ มีลักษณะเดียวกับบริการสันทนาการในป่าสงวนแห่งชาติ คือมีที่ดินให้ตั้งแคมป์กลางแจ้งพร้อมบริการห้องน้ำสาธารณะ หรือบริการบ้านพักเคบินที่เรียบง่าย ค่ายทหารสหรัฐฯไม่มีบริการบ้านพักตากอากาศที่สะดวกสบายพร้อมห้องจัดเลี้ยง เหมือนโรงแรม นอกจากนี้ สหรัฐฯมีสนามกอล์ฟสาธารณะมากมาย มหาวิทยาลัยทั้งรัฐบาลและเอกชนที่สหรัฐฯจำนวนมากมีสนามกอล์ฟสาธารณะเช่น เดียวกัน ผู้เสียภาษีที่ไม่อยากจ่ายค่าใช้สนามกอล์ฟเอกชนที่ราคาแพงก็ใช้สนามกอล์ฟ สาธารณะที่ราคาถูกกว่าได้ แต่ผู้เสียภาษีในไทยมีทางเลือกแค่สนามกอล์ฟเอกชนที่ราคาแพงและสนามกอล์ฟใน ค่ายทหารเท่านั้น
ดิฉันไม่มีเจตนาสนับสนุนให้ไทยหันมาสร้างสนามกอล์ฟสาธารณะมากมายแบบ สหรัฐฯ เพราะสหรัฐฯมีพื้นที่ใหญ่กว่าไทยถึง 20 เท่า ประเด็นคือการแสวงหากำไรจากทรัพยากรที่ดิน กล่าวคือ กองทัพไทยแสวงหากำไรจากที่ดินมากกว่ากองทัพในประเทศทุนนิยมสากล ถ้าจะปฎิรูปกองทัพไทยให้หมดสภาพความเป็นกลุ่มทุนแบบกองทัพในประเทศทุนนิยม สากล ก็ต้องออกกฎหมายกำหนดให้กองทัพโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินบางส่วนคืนให้กรมที่ดิน หรือกรมป่าไม้ รวมทั้งโอนกรรมสิทธิ๋ให้สนามกอล์ฟและสนามกีฬาทหารกลายเป็นสนามสาธารณะ
ธนาคารทหารไทยคือฐานเงินทุนของทุนกองทัพไทย
ธนาคารทหารไทยเริ่มดำเนินกิจการในปี 2500 แต่จดทะเบียนเป็นธนาคารในปี 2499 ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่นักธุรกิจอเมริกันร่วมกันก่อตั้งหอการค้าอเมริกันใน ไทยเพื่อสนับสนุนให้บรรษัทข้ามชาติอเมริกันเข้ามาลงทุนในไทย ด้วยการผลักดันของจอมพลสฤษดิ์ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกธนาคารทหารไทยขอใบ อนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จากแบงค์ชาติและกระทรวงการคลังด้วยเหตุผล ว่ากองทัพต้องการมีธนาคารเพือทำธุรกรรมต่างๆของกองทัพรวมทั้งการชำระเงินใน การซื้อขายอาวุธ
ไม่มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ใดๆ สามารถสร้างความชอบธรรมให้แก่การก่อตั้งธนาคารทหาร กองทัพในประเทศทุนนิยมสากลรวมทั้งสหรัฐฯ ไม่ถือหุ้นธนาคาร ไม่บริหารธนาคาร และใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในการทำธุรกรรมรวมทั้งการซื้อขายอาวุธ สถาบันการเงินสำหรับทหารในประเทศทุนนิยมสากลจำกัดอยู่ในรูปแบบสหกรณ์ออม ทรัพย์เหมือนสถาบันการเงินของผู้เสียภาษีในวิชาชีพอื่นๆ แม้แต่องค์การระหว่างประเทศที่ผลักดันระบบทุนนิยมอย่างธนาคารโลกและกองทุน การเงินระหว่างประเทศก็จำกัดสถาบันการเงินเพื่อพนักงานให้อยู่ในรูปแบบ สหกรณ์ออมทรัพย์
สหกรณ์ออมทรัพย์ต่างจากธนาคารพาณิชย์อย่างไร? สหกรณ์ออมทรัพย์ระดมทุนด้วยเงินฝากจากสมาชิก(หรือผู้ถือหุ้น)และให้สินเชื่อ บุคคลแก่ สมาชิก ส่วนธนาคารพาณิชย์ระดมทุนด้วยเงินฝากจากใครก็ได้เพื่อปล่อยสินเชื่อทั้งสิน เชื่อบุคคลและสินเชื่อธุรกิจ ความแตกต่างอีกด้านที่สำคัญคือขนาด ธนาคารพาณิชย์เปิดสาขาได้ทั่วประเทศ แต่สหกรณ์ออมทรัพย์ผูกติดกับองค์กรวิชาชีพในระดับท้องถิ่นจึงเปิดสาขาทั่ว ประเทศไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ความสามารถในการระดมทุนของธนาคารพาณิชย์สูงกว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ มาก การก่อตั้งธนาคารทหารไทยเป็นการสร้างฐานเงินทุนให้แก่กองทัพและธุรกิจส่วน ตัวของทหาร
รัฐประหารและการผูกขาดธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในไทย
ธนาคารทหารไทยเริ่มดำเนินกิจการในปีที่จอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารล้มรัฐบาล จอมพลป.พิบูลสงคราม ปีถัดไปจอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารอีกครั้งและกลายเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลสฤษดิ์ได้ออกพรบ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 เพื่อให้รัฐบาลมีอำนาจไม่ให้ใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ในอนาคต ทำให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์โดนผูกขาดโดยกองทัพและครอบครัวไม่กี่ครอบครัว พรบ.ดังกล่าวเพิ่งได้รับการยกเลิกเมื่อปีพศ. 2551 นี้เอง [1] แม้พรบ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 โดนยกเลิกแล้ว จานวนธนาคารพาณิชย์ไทยไม่เคยมากกว่า 20 ตัวเลขนี้ต่ำกว่าในต่างประเทศมาก
ยกตัวอย่างสหรัฐฯและญี่ปุ่น ประชากรสหรัฐฯคิดเป็น 5 เท่าของประชากรไทย แต่จำนวนธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯมากกว่า 6,000 [2] คือมากกว่า 300 เท่าของไทย ในบางทศวรรษจำนวนธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯมากกว่า 10,000 ด้วยซ้า ต่อให้หักลบความแตกต่างของขนาดพื้นที่สหรัฐฯซึ่งมีพื้นที่ 20 ของไทย จำนวนธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯก็ยังมากกว่าไทยถึง 280 เท่า ในกรณีญี่ปุ่น ประชากรญี่ปุ่นคิดเป็น 2 เท่าของประชากรไทย แต่จานวนธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่นมากกว่า 120 [3] คือมากกว่า 6 เท่าของไทย นอกจากนี้พื้นที่ประเทศญี่ปุ่นก็เล็กกว่าไทยด้วย ที่สาคัญ ทั้งญี่ปุ่นและสหรัฐฯมีธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่นที่แข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ที่มีสาขาทั่วประเทศ
การแปรรูปธนาคารทหารไทยหลังวิกฤตการเงินพศ. 2540
ปัจจุบันกองทัพลดสัดส่วนการถือหุ้นธนาคารทหารไทยเหลือเพียง 2.15% [4] แต่ก็ยังนับว่าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 6 การลดสัดส่วนถือหุ้นของกองทัพไม่ได้เกิดความตั้งใจของกองทัพ กองทัพไม่เคยต้องการเลิกเป็นเจ้าของหรือเลิกบริหารธนาคารทหารไทย [5]
สัดส่วนการถือหุ้นทีลดลงมาเป็นผลลัพธ์จากปัญหาหนี้เสียของธนาคารทหารไทย กระทรวงการคลังกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เพราะการอัดฉีดเงินเพื่ออุ้มธนาคาร ทหารไทยหลังวิกฤตการเงินพศ. 2540 นอกจากนี้ธนาคารทหารไทยจำเป็นต้องเพิ่มทุนด้วยการขายหุ้นให้นักลงทุนต่าง ชาติ ธนาคารทหารไทยได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก Thai Military Bank เป็น TMB Bank เพื่อประชาสัมพันธ์ต่อนักลงทุนต่างชาติว่าไม่ใช่ “ธนาคารของทหาร” แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดก็ยังไม่ใช่เอกชนอยู่ดี ดังนั้นการแปรรูปธนาคารทหารไทยยังไม่แล้วเสร็จตราบใดที่กระทรวงการคลังยัง ไม่สามารถขายหุ้นให้เอกชน ที่สำคัญ ตราบใดที่ไม่มีกฎหมายห้ามกองทัพถือหุ้นธนาคารพาณิชย์และบังคับให้กองทัพขาย หุ้นธนาคารทหารไทยให้เอกชนให้หมด กองทัพไทยก็จะคงสภาพความเป็นกลุ่มทุนและการป้องกันประเทศก็จะไม่มีวันเป็น กิจกรรมหลักของกองทัพไทย
ธุรกิจอื่นๆของกองทัพไทย
นอกจากธุรกิจธนาคารพาณิชย์ จอมพลสฤษดิ์ได้วางรากฐานการสะสมทุนของกองทัพไว้หลายกิจการ อาทิ สถานีวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ที่ดินสาธารณะถูกโอนกรรมสิทธิจากกรมป่าไม้ให้กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของกองทัพบก ในยุครัฐบาลสฤษดิ์ เช่น ที่ดินริมทะเลกว่าพันไร่ในอ.สวนสน จ.ประจวบคีรีขันธ์ กองทัพพัฒนาที่ดินบางส่วนให้เป็นสนามกอล์ฟและสนามกีฬากองทัพบก สนามกีฬากองทัพบกในบางจังหวัดได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการบ่อนพนันแข่งม้า ส่วนกองทัพอากาศก็ดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศตั้งแต่ยุครัฐบาล สฤษดิ์ กล่าวได้ว่าจอมพลสฤษดิ์คือ “บิดาของทุนกองทัพไทย”
ในตอนต่อไปดิฉันจะเขียนถึงธุรกิจเหล่านี้และบทบาทของ “บุตรหลานของทุนกองทัพไทย” ที่รับมรดกมาจากจอมพลสฤษดิ์
หมายเหตุ
- พรบ.ธุรกิจสถาบันการเงิน : http://www.bot.or.th/Thai/LawsAndRegulations/Pages/Law_3.aspx
- จำนวนธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ : http://research.stlouisfed.org/fred2/series/USNUM
- สมาชิกสมาคมธนาคารญี่ปุ่น: http://www.zenginkyo.or.jp/en/outline/list_of_members/
- โครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ธนาคารทหารไทย จากัด (มหาชน) : http://www.tmbbank.com/ir/share-info/major-shareholders.php
- "ทำไม! กองทัพในแบงก์ทหารไทยไม่มีวันแยกจากไปเด็ดขาด" นิตยสารผู้จัดการ (กรกฎาคม 2535) : http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=6700
กานดา นาคน้อย: เศรษฐศาสตร์สามัญสำนึก 55 ปีทุนกองทัพไทย (ตอนที่ 2)
Wed, 2012-04-25 18:09
กานดา นาคน้อย
25 เมษายน 2555
25 เมษายน 2555
ในบทความตอนที่แล้วดิฉันอธิบายความเป็นกลุ่มทุนของกองทัพไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของทุนนิยมแบบไทยๆ บทบาทของธนาคารทหารไทยในฐานะธุรกิจที่สำคัญที่สุดของกองทัพ และการผูกขาดธุรกิจธนาคารพาณิชย์โดยกองทัพและครอบครัวไม่กี่ครอบครัว ในตอนนี้ดิฉันขอเขียนถึงธุรกิจของกองทัพที่สำคัญรองลงมา กล่าวคือ ธุรกิจฟรีทีวีและธุรกิจวิทยุกระจายเสียง
ใครใหญ่กว่ากัน: ไอทีวี vs. ททบ.5 + ช่อง7สี + ทีวีพูล?
ก่อนรัฐประหารปี 2549 สื่อมวลชนและนักวิชาการบางกลุ่มนำเสนอว่าอดีตนายกฯทักษิณมีพฤติกรรม“เผด็จการ”โดยแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนโดยเฉพาะไอทีวีหลังจากที่ชินคอร์ปเข้าไปถือหุ้นไอทีวี วาทกรรมดังกล่าวพยายามสร้างความชอบธรรมให้รัฐประหารและการยกเลิกสัมปทานไอทีวี ทั้งๆที่จริงแล้วกองทัพบกเป็นเจ้าของฟรีทีวี 2 ช่องมา 55 ปีและแทรกแซงฟรีทีวีทุกช่องด้วยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจหรือทีวีพูล ถ้าเรานิยามว่า“เผด็จการ”คือผู้นำทางการเมืองที่ถือหุ้นฟรีทีวีและแทรกแซงฟรีทีวี กองทัพบกก็เป็น“เผด็จการ”มา 55 ปี ดังนั้นถ้าเปรียบเผด็จการว่าเป็นปิศาจ ก็แปลว่าสื่อมวลชนและนักวิชาการที่สนับสนุนรัฐประหารชื่นชอบปิศาจหน้าเก่าที่สิงทีวีมา 55 ปีมากกว่าปิศาจหน้าใหม่ที่สิงทีวีมา 7 ปี
ฟรีทีวีคือธุรกิจสำคัญของกองทัพบก
ในปีพศ.2500 ธนาคารทหารไทยเริ่มเปิดทำการด้วยการผลักดันของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในปีเดียวกันกองทัพบกก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก(ททบ.)เพื่อทำธุรกิจฟรีทีวีซึ่งมีรายได้จากการให้เช่าเวลาแก่ผู้ผลิตรายการและผู้โฆษณาสินค้า รายได้จากธุรกิจฟรีทีวีในปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาทและททบ.ที่กองทัพบกบริหารเองโดยตรงมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 20% [1] ททบ.มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่แตกต่างจากธนาคารทหารไทย กล่าวคือ กองทัพบกเป็นเหล่าทัพเดียวที่ถือหุ้นททบ. แต่กองทัพเรือและกองทัพอากาศถือหุ้นธนาคารทหารไทยร่วมกับกองทัพบก แม้ปัจจุบันเอกชนและกระทรวงการคลังร่วมถือหุ้นธนาคารทหารไทยด้วย กองทัพบกก็ยังถือกรรมสิทธิ์ททบ. 5 เพียงผู้เดียวเนื่องจากโครงการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ของททบ.5 ไปให้บริษัทโฮลดิ้งคอมปะนีที่ชื่ออาร์ทีเอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์จำกัดโดนระงับไปเมื่อ 2 ปีก่อนรัฐประหารครั้งล่าสุด
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกและรัฐประหารล้มรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม
ททบ.ในยุคแรกรู้จักกันทั่วไปว่าททบ.7 เนื่องจากถ่ายทอดรายการผ่านช่อง7 ททบ.7เป็นฟรีทีวีช่องที่2ในไทย ฟรีทีวีช่องแรกคือสถานีไทยทีวีช่อง4ที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม (ภายหลังกลายเป็นช่อง9 อสมท.และโมเดิร์นไนน์ทีวีในปัจจุบัน) ไทยทีวีช่อง4เป็นธุรกิจของบริษัทไทยโทรทัศน์ซึ่งถือหุ้นโดยหน่วยราชการหลายแห่งรวมทั้งกรมประชาสัมพันธ์ ไทยทีวีช่อง 4 เริ่มถ่ายทอดรายการตั้งแต่ปีพศ. 2498 เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานรัฐบาลจอมพลป. รวมทั้งถ่ายทอดการประชุมรัฐสภาและงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ จอมพลสฤษดิ์จึงผลักดันให้กองทัพบกก่อตั้งททบ.เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกองทัพบ้าง ททบ.7เริ่มถ่ายทอดรายการตั้งแต่ปี 2501 หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารล้มรัฐบาลจอมพลป. หน้าที่ของททบ.7คือการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกองทัพ พระราชกรณียกิจ และพระราชพิธีที่รื้อฟื้นมาจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราช เพื่อเรียกเรตติ้งททบ.7ยุคแรกนำเสนอความบันเทิงในรูปแบบภาพยนตร์จากต่างประเทศและรายการวาไรตี้ที่จัดโดยนายทหารจากกองทัพบก [2] [3]
สัมปทานฟรีทีวีภายใต้รัฐบาลทหาร
ในปี 2510 กองทัพบกภายใต้การนำของจอมพลประภาส จารุเสถียรในตำแหน่งผบ.ทบ.ให้สัมปทานความถี่บางส่วนแก่บริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุของครอบครัวน้องสาวภรรยาผบ.ทบ. น้องสาวภรรยาทบ.ทบ.สมรสกับทายาทสกุลกรรณสูตซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองสุพรรณบุรีในอดีต สกุลกรรณสูตถือหุ้นบริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุร่วมกับสกุลจารุเสถียรและสกุลรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา ฟรีทีวีที่กองทัพบกให้สัมปทานคือสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง7หรือช่อง7สี ซึ่งเป็นช่องแรกที่ถ่ายทอดด้วยภาพสี สกุลกรรณสูตและสกุลรัตนรักษ์ได้สัมปทานช่อง7สีจากกองทัพบกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ในปีเดียวกันรัฐบาลถนอมให้สัมปทานความถี่บางส่วนของบริษัทไทยโทรทัศน์(ซึ่งเป็นเจ้าของไทยทีวีช่อง4)แก่บริษัทของสกุลมาลีนนท์ซึ่งถ่ายทอดทีวีทางช่อง 3 ทำให้จำนวนฟรีทีวีเพิ่มเป็น 4 ช่อง ในปี 2517 ททบ.7 เปลี่ยนชื่อเป็นททบ.5 และหันมาออกอากาศทางช่อง 5 ในขณะที่ไทยทีวีช่อง 4 ก็เปลี่ยนมาออกอากาศช่อง 9 ไม่กี่ปีให้หลังรัฐบาลธานินทร์ยุบบริษัทไทยโทรทัศน์และโอนช่อง 9 ให้องค์การสื่อสารมวลชน(อสมท.) กรมประชาสัมพันธ์ในยุครัฐบาลเปรมจึงจัดตั้งทีวีช่อง11ขึ้นมาแทนเพื่อให้เป็นฟรีทีวีของรัฐบาล
การก่อตั้งและบริหารโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจโดยกองทัพบก
กองทัพบกก่อตั้งโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจหรือทีวีพูลในปี 2511 [2] ทำให้กองทัพบกแทรกแซงฟรีทีวีได้ทุกช่องด้วยการเชื่อมเครือข่ายฟรีทีวีเพื่อประชาสัมพันธ์ลัทธิชาตินิยมและการปกครองแบบรวมศูนย์ เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในรูปแบบต่างๆ อาทิ ถ่ายทอดพระราชกรณียกิจและพระราชพิธีที่รื้อฟื้นมาจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราช ถ่ายทอดกิจกรรมของกองทัพ ถ่ายทอดพิธีกรรมทางศาสนา และถ่ายทอดการแข่งขันกีฬานานาชาติที่มีนักกีฬาไทยร่วมแข่งขัน ในระยะหลังทีวีพูลหันมาถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาที่นักกีฬาไทยไม่ได้เข้ารอบด้วย เช่น การแข่งขันฟุตบอลโลก
แม้ว่าสงครามเย็นจบไปแล้วกว่า 20 ปี อำนาจของกองทัพบกในการแทรกแซงฟรีทีวีทุกช่องด้วยทีวีพูลไม่ได้ลดลงตามกาลเวลา ประธานกรรมการทีวีพูลคือผู้อำนวยการททบ.5 มาจนถึงปัจจุบัน ทีวีพูลกลายเป็นเครื่องมือทำรัฐประหารและประชาสัมพันธ์ชัยชนะของคณะรัฐประหารมาตลอด หลังจากรัฐประหารล้มรัฐบาลชาติชาติชายเหตุการณ์พฤษภาทมิฬทำให้เห็นชัดเจนว่าฟรีทีวีทุกช่องโดนควบคุมโดยคณะรัฐประหารและไม่รายงานสถานการณ์ตามความจริง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแรงผลักดันให้จัดตั้งฟรีทีวีที่เป็นอิสระซึ่งก็คือไอทีวี หลังรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณไอทีวีโดนยึดสัมปทานไปให้ทีวีช่องใหม่ที่เรียกกันว่าไทยพีบีเอส แน่นอนว่าไทยพีบีเอสก็โดนแทรกแซงโดยทีวีพูลด้วย ความล่าช้าของฟรีทีวีในการเตือนภัยสึนามิเมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมาบ่งชี้ชัดว่ากองทัพบกในปัจจุบันยังคงแทรกแซงการทำงานของฟรีทีวีทุกช่องด้วยทีวีพูล ตราบใดที่ยังไม่ยุบทีวีพูลก็ยากที่ไทยจะมีฟรีทีวีที่รายงานข่าวอย่างอิสระ
อิทธิพลของททบ.5 และช่อง7สีต่อดารานักแสดงและนักร้อง
เมื่อวัดด้วยรายได้ททบ.5 มีส่วนแบ่งตลาดฟรีทีวีเป็นอันดับ 3 ส่วนช่อง 7 สีที่กองทัพบกเป็นเจ้าของสัมปทานมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 2 (อันดับ 1 คือช่อง 3 และอันดับ 4 คือช่อง 9) ส่วนแบ่งตลาดของททบ.5 รวมกับช่อง7สีสูงถึง 43% ถ้าวัดด้วยเรตติ้งอันดับ 1 คือช่อง7สีส่วนททบ.5 ติดอันดับ 3 [4] ด้วยเหตุนี้กองทัพบกจึงมีอิทธิพลต่อวงการบันเทิงผ่านรายการของททบ.5 และช่อง7สีมานานหลายทศวรรษ อาทิ รายการคอนเสิร์ต รายการวาไรตี้ เกมโชว์ ละครหลังข่าว ฯลฯ ทำให้ดารานักแสดงและนักร้องจำนวนมากอยู่ในสภาวะที่ต้องพึ่งพากองทัพบกและมีผลประโยชน์ร่วมกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ดารานักแสดงและนักร้องมากมายกลายเป็นเชียร์ลีดเดอร์ให้คณะรัฐประหาร
ความเกี่ยวข้องของททบ.5กับบริษัทอาร์ทีเอเอ็นเตอร์เทนเม็นท์และธนาคารทหารไทย
ก่อนวิกฤตการเงินในปี 2540 เพียง 3 เดือนกองทัพบกได้จัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนีชื่อบริษัทททบ.5จำกัด ในปี 2541 บริษัทททบ.5จำกัดกู้เงินจากสถานีททบ.5 เพื่อนำเงินไปซื้อหุ้นธนาคารทหารไทย กองทัพบกถือหุ้นธนาคารทหารไทย 2 ทาง ทางตรงคือถือหุ้นในนามของกองทัพบกและทางอ้อมคือถือหุ้นผ่านบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนี ทำให้กองทัพบกถือหุ้นธนาคารทหารไทยมากกว่าเหล่าทัพอื่นๆ [6] [7] ต่อมาบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนีดังกล่าวกู้เงินจากธนาคารทหารไทยไปลงทุนในธุรกิจทีวีดาวเทียม หลังจากนั้นกองทัพบกยินยอมให้เอกชนเข้ามาถือหุ้นบริษัทททบ.5ร่วมกัน ภายหลังกองทัพบกพยายามถ่ายโอนกรรมสิทธิ์คลื่นความถี่ของททบ.5 เพื่อให้บริษัทททบ.5 จำกัดให้สัมปทานคลื่นความถี่แก่เอกชน และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นบริษัทอาร์ทีเอเอ็นเตอร์เทนเมนท์จำกัดเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน [5] แต่การถ่ายโอนกรรมสิทธิ์คลื่นความถี่ของททบ.5 ให้บริษัทอาร์ทีเอฯกลายเป็นประเด็นสาธารณะที่เอ็นจีโอและสื่อมวลชนบางสังกัดคัดค้านอย่างรุนแรงจนรัฐบาลทักษิณต้องระงับไม่ให้บริษัทอาร์ทีเอฯจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2547
ความขัดแย้งกรณีบริษัทอาร์ทีเอฯทำให้อดีตนายกฯทักษิณโดนประนามว่าสมคบกับพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตรผบ.ทบ.ในขณะนั้นเพื่อฮุบทรัพย์สินสาธารณะไปให้พวกพ้อง แม้ว่ามีความเป็นไปได้ว่าอดีตนายกฯทักษิณอาจจะขอแบ่งผลประโยชน์จากบริษัทอาร์ทีเอฯ ที่จริงแล้วบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนีดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้การนำของพลเอกแป้ง มาลากุล ณ อยุธยาในฐานะผู้อำนวยการททบ.5 ตั้งแต่ปี 2538 ถึงปี 2542 การวางแผนจัดสรรหุ้นให้เอกชนและคนในกองทัพเข้ามาร่วมลงทุนในโฮลดิ้งคอมปะนีก่อนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็เริ่มต้นมาตั้งแต่ยุคนั้น [8] นอกจากนี้บริษัทนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาหนี้เสียของธนาคารทหารไทยมาตั้งแต่ก่อนรัฐบาลทักษิณ ถ้ารัฐบาลทักษิณไม่ระงับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทอาร์ทีเอฯ อดีตนายกฯทักษิณและพวกพ้องจะไม่ได้ประโยชน์จากบริษัทอาร์ทีเอฯเท่ากองทัพบกซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในอาร์ทีเอฯหรือเอกชนที่ร่วมลงทุนกับบริษัทนี้ตราบใดที่กองทัพบกไม่จัดสรรหุ้นบริษัทอาร์ทีเอฯให้อดีตนายกฯทักษิณและพวกพ้องให้มากกว่าสัดส่วนหุ้นของกองทัพบกและพันธมิตรเอกชน
นอกจากฟรีทีวี 2 ช่องกองทัพบกมีสถานีวิทยุ 126 สถานีทั่วประเทศ
นอกจากการจัดตั้งโฮลดิ้งคอมปะนีเพื่อถ่ายโอนกรรมสิทธิ์คลื่นความถี่แล้ว กองทัพบกพยายามปกป้องผลประโยชน์จากคลื่นความถี่อย่างชัดเจนผ่านกระบวนการสรรหากรรมการกสทช.หลังรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ กล่าวคือ 2 ใน 5 ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกสทช.คือนายทหารจากกองทัพบก [9] เนื่องจากนโยบายของกสทช.ในอนาคตจะมีผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ของคลื่นความถี่ที่กองทัพถือกรรมสิทธิ์อยู่ในปัจจุบัน นอกจากคลื่นความถี่ของฟรีทีวี 2 ช่องแล้ว กองทัพบกยังเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ของสถานีวิทยุ 126 สถานีทั่วประเทศ [10] อาทิ สถานีวิทยุจส. 100 (ให้สัมปทานแก่บริษัทแปซิฟิกคอร์ปอเรชันจำกัดซึ่งมีนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยาเป็นประธานกรรมการ นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยาคือพี่ชายของพลเอกแป้ง มาลากุล ณ อยุธยาอดีตผอ.ททบ.5 ผู้ริเริ่มการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งคอมปะนีททบ.5จำกัด) สถานีวิทยุยานเกราะ (ให้สัมปทานคลื่นความถี่บางส่วนแก่บริษัทจีเอ็มเอ็มมีเดียจำกัด(มหาชน)ซึ่งเป็นบริษัทในเครือแกรมมี่) ฯลฯ
ในตอนต่อไปดิฉันจะเขียนถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินของกองทัพและการหากำไรจากกรรมสิทธิ์ที่ดินของกองทัพในรูปแบบต่างๆ
หมายเหตุ
- สถิติรายได้ของช่อง 3 และช่อง 9 มาจากงบการเงินของบริษัทบีซีอีเวิร์ลด์ จำกัด (มหาชน)และบริษัทอสมท.จำกัด(มหาชน)จากตลาดหลักทรัพย์:
http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=BEC&language=th&country=TH
http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=MCOT&language=th&country=TH
ส่วนสถิติรายได้ของช่อง 5 และช่อง 7 มาจากการรายงานโดยททบ.5และสื่อมวลชน: http://www.tv5.co.th/news/show2.php?id=2680
http://www.suthichaiyoon.com/detail/19403 - ประวัติของทบบ.5: http://www.tv5.co.th/abhis.html
- อนุสรณ์ พ.อ. การุณ เก่งระดมยิ่ง (โฆษกเสียงเสน่ห์และผู้ร่วมขบวนการเสรีไทย): http://www.lovesiamoldbook.com/product.detail_489893_th_3967526
- อสมท.ขึ้นค่าโฆษณา7% มีค.นี้หวังแชร์ตลาดแซงช่อง 5 ปรับผังใหม่เรตติ้งตกยกออก: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1330658046&grpid=&catid=05&subcatid=0503
- รายงานผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.): http://www.ryt9.com/s/cabt/153128
- ข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารทหารไทยจากธนาคารทหารไทย บริษัทอาร์ทีเอ เอ็นเตอณ์เทนเมนท์ จำกัดในอดีตคือบริษัทททบ.5 จำกัด: http://www.tmbbank.com/ir/share-info/major-shareholders.php
- ข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารทหารไทยจากตลาดหลักทรัพย์: http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=TMB&language=th&country=TH
- แป้งปฎิวัติ เงื่อนปมที่รัดแน่น: http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=1489
- คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.): http://nbtc.nbtc.go.th/
- รายชื่อสถานีวิทยุในเครือกองทัพบก 126 สถานีทั่วประเทศจากศูนย์ข่าววิทยุกองทัพบก: http://radio.tv5.co.th/radionews/index.php?option=com_content&view=article&id=2&Itemid=4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น