วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

สไนเปอร์ (Sniper) หนึ่งนัด หนึ่งชีวิต!ของ เสธ.แดง รายละเอียด"ปืนซุ่มยิงระยะไกล" (Sniper) สไนเปอร์และสารคดียูทูบประกอบ




         การยิงหวังผลในระยะไกลต้องการอาวุธที่มีความแม่นยำและอำนาจการ ทำลายสูงและนี่คือปืนสไนเปอร์ที่มีประจำการอยู่ในกองทัพทั่วโลก.. ปืน ไรเฟิลซุ่มยิงระยะไกลคือหนึ่งในอาวุธที่มีบทบาทในการปัฎิบัติการรบทาง ยุทธวิธีและต่อเป้าหมายทีี่มีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของ ฝ่ายตรงกันข้าม มันคืออาวุธที่ถูกออกแบบเพื่อการยิงในระยะไกลด้วยกระสุนความเร็วสูงจากการ ยิงของสไนเปอร์หรือพลซุ่มยิง Sniper
      พล ซุ่มยิง (Sniper) คือผู้ที่มีความสามารถสูงในเรื่องของการยิงปืนในระยะไกล ซึ่งได้รับการฝึกฝนการยิงเป้าหมายในสถาณการต่างๆที่ต้องใช้ความสามารถใน เรื่องของการยิงปืน เรื่องของความอยู่รอด (survivability) ในพื้นที่ต่างๆเป็นระยะเวลานาน เช่น ในป่า หรือ ในพื้นที่สิ่งก่อสร้าง หน้าที่ของพลซุ่มยิงคือ การวางวิถีกระสุนอย่างแม่นยำไปยังฝ่ายข้าศึก ซึ่งทหารในหน่วยต่างๆ ไม่สามารถทำการยิงได้ ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะระยะทาง ขนาดของกำลังข้าศึก ที่ตั้งฝ่ายข้าศึก หรือว่าการมองเห็น 
       ผู้ที่จะ เป็นพลซุ่มยิงได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะที่พิเศษอย่างดังตัวอย่างใน ระเบียบราชการสนาม 23-10 การฝึกพลซุ่มยิง (FM-23-10 Sniper Training)ของกองทัพบกสหรัฐฯ ได้มีแนวทางในการคัดเลือกกำลังพลเข้าทำการฝึกเป็นพลซุ่มยิงจะมีข้อพิจารณา อยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือ
 1. แม่นปืน ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกเป็นพลซุ่มยิงจะต้องมีความสามารถในการยิงปืนดีเลิศถ้า ผ่านการแข่งขันทางด้านการยิงปืน หรือการล่าสัตว์มาก่อนจะเป็นข้อได้เปรียบในการคัดเลือกเข้ารับการฝึก
 2. ร่างกายต้องพร้อม ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกเป็นพลซุ่มยิง จะต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และถ้าเคยผ่านการเป็นนักกีฬาในประเภทต่างๆ ก็จะได้เปรียบในการคัดเลือกเข้ารับการฝึก
 3. สายตาและความสามารถในการมอง ผู้ที่จะเข้ารับการฝึกจะต้องเป็นผู้ที่ไม่ใส่แว่นสายตาเพราะ จะเป็นการเสี่ยงต่อความล้มเหลวของภารกิจเมื่อแว่นสายตาชำรุด หรือสูญหายในพื้นที่ปฏิบัติการ นอกจากนี้จะต้องไม่ตาบอดสี เพราะจะมีปัญหาในการแยกเป้าหมายจากสิ่งแวดล้อม
 4. ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่เข้ารับการฝึกจะต้องไปเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะเป็นการเปิดเผยที่ตั้งของตนเอง นอกจากนี้การปฏิบัติงานจริงจะต้องอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสูบบุหรี่ได้เป็น ระยะเวลานานการที่ไม่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จะส่งผลให้ ประสิทธิภาพในการยิงลดลง
 5. มีความมั่นคงทางอารมณ์สูงกว่าคนปกติ ผู้ที่เข้ารับการฝึก จ ต้องเป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีในภาวะต่างๆเพราะการปฏิบัติ งานจริงอาจจะต้องตกอยู่ในภาวะที่มีความกดดันสูง การลั่นไก ณ เวลา และสถานที่ที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติงานของพลซุ่มยิง
 6. ความคิดและระดับสติปัญญา ผู้ที่เข้ารับการฝึกนั้นจะต้องเรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับขีปนวิธี ของกระสุนในลักษณะต่างๆ การปรับแต่งอุปกรณ์ช่วยเล็ง การใช้วิทยุสื่อสาร การตรวจการณ์ และการปรับการยิง เครื่องยิงลูกระเบิดและปืนใหญ่ การเดินแผนที่และเข็มทิศ การรวบรวมและรายงานข่าวสาร และการพิสูจน์ฝ่ายและอาวุธยุทโธปกรณ์
        อาวุธ ของพลซุ่มยิงหรือหน่วยสไนเปอร์การยิงเป้าหมายจากระยะไกลต้องใช้ ปืนที่มีความแม่นยำสูง มีกระสุนที่มีรัศมีทำการไกลกว่าปกติเนื่องจากเป็นกระสุนความเร็วสูงที่ ถูกออกแบบให้ใช้กับปืนยาวแบบลูกเลื่อนสไลด์ ซึ่งอาจมีขนาดของกระสุนที่แตกต่างกันไปตามการใช้งาน ในแต่ละสถานการณ์ และนี่คือบรรดาอาวุธยิงระยะไกลที่มีใช้งาน อยู่ในกองทัพและหน่วยรบพิเศษทั่วโลก

Sig SSG 3000
ปืนไรเฟิลที่มีรากฐานการผลิตมาจากกองทัพของ สวิสโดยร่วมมือกันพัฒนาโครงตัวปืนกับบริษัท
 Jp Sauer And Sohn ประเทศเยอรมนีใช้กระสุนขนาด .308 วินเชสเตอร์
 (หรือขนาด 7.62 มิลลิเมตร นาโต) ขึ้นลำโดยใช้ระบบลูกเลื่อนหรือ Bolt-Action
 มีความยาวรวม 1,180 มิลลิเมตร ตั้งแต่ปลายลำกล้องจรดพานท้ายใช้ระบบเกลียวลำกล้อง
 4 เกลียว เพื่อความแม่นยำสูง ความเร็วในขณะที่กระสุนพ้นปากลำกล้อง 2,400 ฟุตต่อวินาที
 ซองกระสุนขนาดบรรจุ 5 นัด มีน้ำหนักรวมเมื่อติดกล้องเล็งระยะไกลประมาณ 6.2 กิโลกรัม
 กับกำลังขยายของกล้องเล็งที่ 1.5-6X มีระยะยิงหวังผลไกลกว่า 800-1,000 เมตร เป็นอย่างต่ำ

Dragunov
ดรากูนอฟ เป็นไรเฟิลอัตโนมัติในรุ่นที่ดัดเเปลงกลไกภายในและรูปแบบของตัวปืนจากปืน
 ไรเฟิลตระกูล AK ของรัสเซีย เเละทำให้มันกลายเป็นสไนเปอร์ไรเฟิล ด้วยการดัดเเปลงลำกล้องให้ยาวขึ้นเปลี่ยนพานท้ายปืนเเละเพิ่ม feeder ปัจจุบันดรากูนอฟ (SVD) ถูกใช้อย่างเเพร่หลายในกองกำลังทางทหาร ของกลุ่มประเทศแถบยุโรปตะวันออกเเละ รัสเซีย ปืนกระบอกนี้สามารถเล็งเป้าหมาย
 ที่เคลื่อนที่ด้วยรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิ ภาพเเละมีความเเม่นยำสูงมากด้วยกล้องเทเลโฟโต้เลนส์รุ่น PSO-1M2 สามารถปรับความเร็วการยิงได้โดยใช้การทำงานของระบบเเก๊ส ทำให้เกิดความปลอดภัยในการยิงเเละการควบคุมปืน
 FR-F2
FR-F2 ถูกดัดเเปลงมาจาก ปืนไรเฟิล FR-F1 ที่ใช้มาตั้งเเต่ช่วงยุค 1970 ลำกล้องของปืนใส่อุปกรณ์ป้องกันความร้อนเข้าไป เเม้ว่าจะวางไว้กลางเเดดเป็นเวลานานก็ไม่มีผลใดๆ ต่อลำกล้องของปืน มันเป็นสไนเปอร์ไรเฟิลระบบโวลท์ เเอคชั่น ถูกใช้อยู่ในหน่วย GIGN มีลูกกระสุนขนาด 7.62 มม.เเละติดกล้องซูมได้ถึง 8 เท่า
 PSG
PSG (Prazisions Sharfschutzen Gewehr-1) ปืนสไนเปอร์ไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติของบริษัทH&K ชื่อของมันหมายถึงปืนที่เเม่นยำ ผลิตโดยใช้โครงสร้างของปืนแบบ G3 โมเดลเเต่เมื่อพัฒนาเสร็จสมบูรณ์เเล้ว กลับมีความเเตกต่างกับ G3-SG1 โดยสิ้นเชิงมันเป็นปืนที่มีน้ำหนักเกินกว่า 8 กิโลกรัมเเละมีความเเม่นยำสูงมากที่สุดเเละยังได้รับการประเมินว่าเป็นปืนที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในภารกิจการต่อต้านการก่อการร้ายของสไนเปอร์ไรเฟิลที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
(ลูกระสุนมี 50 นัด เมื่อยิงในระยะ 100 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของเป้าหมายจะเท่ากับ 
6.99 มม., เมื่อยิงในระยะ 300 เมตรจะเท่ากับ 80 มม.) เเต่ไม่มีเหตุผลที่จะใช้งานสำหรับภารกิจทางทหารทั่วๆ ไป เนื่องจากตัวปืน และอุปกรณ์มีราคาสูงมาก
 ระบบภายในตัวปืนมีความแข็งแกร่งไม่มากเท่าปืนไรเฟิลจากรัสเซียการใช้งานต้องระวังไม่ให้ตัวปืนโดนฝุ่นดินหรือโคลน การมีน้ำหนักมากเกินไปของมันกลับทำให้เกิดความเเม่นยำมากกว่าปกติเนื่องจากความเสถียรในการออกแบบลำกล้องและพานท้าย
 Barrett M82A1
king of50caliber sniper rifles
ปืนซุ่มยิงระยะไกลที่มีอำนาจการยิงรวม ถึงอำนาจในการทำลายล้างสูงได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Barrett Firearms สหรัฐอเมริกาเป็นปืนซุ่มยิงที่ประจำอยู่
 ในหลายหน่วยงานทางทหารทั่วโลกและ เข้าร่วมปฏิบัติการในสงครามหลายครั้งแล้วมันเป็นปืนซุ่มยิงที่มีระบบกลไกกึ่งอัตโนมัติ มีรังเพลิงขนาดใหญ่ที่ใช้กับลูกกระสุนความเร็วสูงขนาด 50 มิลลิเมตร ที่มีอำนาจการทำลายสูงมากที่สุดในกลุ่มปืนซุ่มยิง ด้วยประสิทธิภาพการยิงที่แม่นยำที่ระยะ 1,500 เมตร รวมทั้งสถิติการยิงที่ระยะ 2,500 เมตร กระสุนที่มีพลังงานสูงมีประสิทธิภาพมากเกินพอที่จะยิงเพื่อหยุดยั้งการ เคลื่อนของเป้าหมายที่มีการหุ้มเกราะ สามารถปฎิบัติการต่อเป้าหมาย
ที่สำคัญ เช่น หอควบคุมเรดาห์ รถบรรทุก รถสายพานลำเลียงพล หรืออากาศยานที่บิน
ในระดับต่ำ กล่าวกันว่าแม้กระสุนของมันจะกระทบเป้าอย่างจังไปแล้วก็ตามก็ไม่อาจได้ยิน เสียงปืนเนื่องจากการยิงมาจากระยะที่ไกลกว่าปืนไรเฟิลซุ่มยิงทุกชนิดที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน.

Swat Sniper Training
 เจาะคลังอาวุธในกองทัพ หน่วยไหนมี “ปืนสไนเปอร์” ?
 ปืน สไนเปอร์ถูกกล่าวถึงอีกครั้ง หลัง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล  ผู้ทรงคุณวุฒิ กองทัพ ในฐานะผู้ดูแลความปลอดภัยให้กลุ่มแนวร่วมขับไล่เผด็จการแห่งชาติ  (นปช.) ถูกลอบยิงในช่วงค่ำคืนวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมาหลัง จากอาวุธชนิดนี้ถูกพูดถึงหลายครั้ง ในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่อนุสรณ์สถานย่านดอนเมืองซึ่งพลทหารถูกยิงเสียชีวิต เมื่อไม่นานมานี้ไม่มีหน่วยงานหรือกลุ่มบุคคลใด ออกมายอมรับว่ามีการใช้สไนเปอร์จริงหรือไม่? กระนั้น จากการตรวจสอบพบว่า ในส่วนของกองทัพ  ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการร้ายสากล สังกัด กองบัญชาการกองทัพไทยเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีอาวุธชนิดนี้อยู่ด้วย โดยจัดซื้อครบชุดจาก บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  วงเงิน 7.6 ล้านบาท เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2552    พร้อมมีเครื่องมือเครื่องใช้  รวมมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท  อาทิ
 เครื่องมือเก็บกู้วัตถุระเบิด อุปกรณ์จัดเก็บและตรวจหาวัตถุระเบิดเครื่องมือสำหรับปฏิบัติการต่อต้านอาวุธเคมี- วชีวะ
 ชุดจุดระเบิดโนแนล   กล้องตรวจการณ์สำหรับโจมตี   กล้องตรวจการณ์ระยะไกลกลางวัน-กลางคืน  ระเบิดขว้างแสง-เสียง

 นอก จากนี้ยังมี ปืนพก ,ปืนยาว ,ปืนลูกซอง  ,เสื้อเกราะ, โล่ป้องกันกระสุน , กระสุนปืนซ้อมรบ,กระสุนปืนปฏิบัติการพิเศษ, อุปกรณ์โรยตัว,  ,ระเบิดขว้างแสง-เสียง, อุปกรณ์สอดแนมสำหรับต่อต้านก่อการร้ายสากล  , เครื่องตัดสัญญาณวิทยุและโทรศัพท์  ฯลฯ
     บริษัท ยี.เอ็ช.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  ก่อตั้งวันที่  9 ตุลาคม 2517 ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท  ตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 30 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย  กรุงเทพฯ   นายซารับยิตซิงห์ สัจจเทพ  และ นายซัตวินเดอร์ซิงห์ สัจจเทพ ถือหุ้นใหญ่ นอกจากขายให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการร้ายสากล ยังค้าอาวุธให้หน่วยงานราชการอีกหลายแห่งกระนั้นก็ มิได้หมายความว่า สไนเปอร์ ในกองทัพ ถูกนำมาใช้กับความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา  
 เพราะไม่มีหลักฐานใดๆ ที่ยืนยัน ได้เช่นนั้น !

สไนเปอร์ (Sniper) หนึ่งนัด หนึ่งชีวิต!

            ถึงวันนี้ แน่ชัดแล้วว่า ลมหายใจของ เสธ.แดง หรือ พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล ปลิดปลิวออกจากร่าง หลังถูกลอบยิงเมื่อค่ำคืนวันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมานอกจากความเศร้าสะเทือนใจของคนรักใคร่สนิทสนม ความตระหนกอกสั่นขวัญแขวนของแกนนำและผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บางส่วน รวมถึงมูลเหตุแห่งการลอบยิง เสธ.แดง ที่ถูกวิเคราะห์วิพากษ์ในวงกว้างทั้งยึดพื้นที่ข่าวได้ใหญ่โตแล้ว ยังมีอีกชื่อเสียงเรียงนามของบุคคลนิรนามประเภทหนึ่ง ผุดโผล่ขึ้นมาอย่างเจิดจ้าท้าทาย และชวนให้ค้นหาคำตอบถึงที่มาที่ไปของเขา
  ไม่มีใครรู้ว่ากระสุนนัดที่ปลิดชีพ เสธ.แดง หรือ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล มาจากทิศทางใด ที่แน่ๆ คือมันมาจากระยะไกลและเข้าเป้าอย่างแม่นยำ  ทันทีที่ข่าวการลอบสังหาร เสธ.แดง แพร่ออกไป สำหรับคอหนังแอ็กชั่นที่คุ้นเคยกับความแม่นยำระดับมัจจุราชนี้ คงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นฝีมือของ สไนเปอร์ (Sniper)
         ในประวัติการลอบสังหารหรือสั่งเก็บในเมืองไทย การเรียกใช้สไนเปอร์มีน้อยครั้งมากไม่เกินนิ้วมือข้างขวา เพราะมือปืนระดับนี้ ใช่ว่าจะหาได้ทั่วไปตามซุ้ม แต่ต้องเป็นระดับมืออาชีพที่ได้รับการฝึกฝนอย่างหนัก มียุทโธปกรณ์ทันสมัย และต้องมีทีมชี้เป้าที่ทำงานร่วมกันอย่างลงตัว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะมีคนสงสัยว่าน่าจะมีคนของกองทัพเอี่ยวด้วย
    สไนเปอร์คือใคร?
            ข้อมูลทั่วไปที่รับรู้กันก็คือ พวกเขาคือพลซุ่มยิงจากระยะไกลที่มีความแม่นยำสูง ในระดับที่เรียกกันว่า ‘หนึ่งนัด หนึ่งชีวิต’ และสำหรับพลเรือนทั่วๆ ไป การรู้เพียงเท่านี้ก็ถือว่ามากเกินพอแล้ว…เป็นบุคคลประเภทที่เกิดมาเพื่อ 'ทำลายเป้าหมาย' อย่างแม่นยำ  ชื่อของเขาคือ 'สไนเปอร์' (Sniper) หรือ 'พลซุ่มยิง'
           สไนเปอร์...พลซุ่มยิงระดับโลก

            สไนเปอร์ เป็นหน่วยหนึ่งในกองกำลังทหารและตำรวจ มีความสามารถสูงในเรื่องของการยิงปืนในระยะไกล ทำหน้าที่ยิงเพื่อหวังผลจำกัดการเคลื่อนไหวหรือการปฏิบัติการของข้าศึก จากระยะไกล รวมถึงมีการอำพรางตัว มีความสามารถเฉพาะในการยิงจากที่กำบัง เพื่อไม่ให้ข้าศึกรู้ตัวระหว่างรอยิง ใช้ปืนที่มีลักษณะเฉพาะในการยิงไกล พลซุ่มยิงมักทำงานร่วมกับพลชี้เป้า (Spotter)
           อาวุธของพลซุ่มยิงก็คือปืนไรเฟิลยาวที่มีความแม่นยำสูงและมีระยะการยิงหวัง ผลที่ไกลกว่าปืนประเภทอื่น ปืนไรเฟิลสำหรับสไนเปอร์จะมีอุปกรณ์ช่วยเล็งหรือที่เรียกกันว่า สโคป ซื่งมีลักษณะเสมือนกล้องส่องทางไกลไว้ช่วยเล็ง
          ลักษณะทั่วๆ ไปของปืนไรเฟิลสไนเปอร์คือ มีสโคป ลำกล้องยาว พานท้ายออกแบบให้ง่ายต่อการยิงในท่าหมอบคลาน มีขาทรายสำหรับพาดประคองปืนให้แม่น
       เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2543 ในอัฟกานิสถาน มีการบันทึกระยะซุ่มยิงที่ไกลที่สุดคือ 2,430 เมตร ผู้ยิงคือ สิบโทร็อบ เฟอร์ลอง โดยใช้กระสุนฮอร์นาดี A-MAX เวรี่ โลว์ แดร็ก หนัก 70 เกรนขนาด .50 คาลิเบอร์และปืน TAC-50 แมคมิลแลนด์ แต่ไม่ว่าใครจะยิงได้ไกลเพียงใด ก็คงไม่โด่งดังเท่ากับ สไนเปอร์เบอร์ 1 ของโลก อย่าง ไซโม ฮายาซ ซึ่งเป็นทหารฟินแลนด์ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพลซุ่มยิงที่ยิ่งใหญ่ที่ สุดในโลก สำหรับประวัติโดยคร่าวๆ นั้น มีอยู่ว่า เดิมที ฮายาซเป็นเพียงชาวนาคนหนึ่ง ก่อนเข้าไปรับใช้ชาติเมื่อปี 2468 และในช่วงที่รัสเซียโจมตีฟินแลนด์ตั้งแต่ปี 2482-2483 เขาก็ก้าวขึ้นไปเป็นพลซุ่มยิงเพื่อสังหารทหารกองทัพรัสเซีย อาวุธคู่กายของพลซุ่มยิงผู้ยิ่งยง คือ ปืนยาวโมซินนากังค์ เอ็ม 28 ซึ่งทหารโซเวียตที่พ่ายให้กับกระบอกปืนของฮายาซ (ที่ได้รับการยืนยัน) มีอยู่ 542 ศพ
       1 เมษายน ปี 2545 ฮายาซเสียชีวิตที่หมู่บ้านโรคอลาซติ ใกล้พรมแดนรัสเซีย ด้วยวัย 97 ปี เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายก่อนสิ้นลมด้วยการเป็นนักล่ากวางมูสและเพาะพันธุ์ สุนัข
        สไนเปอร์ เป็นคนแบบไหน?
        “ร่างกายต้องแข็งแรง สมบูรณ์ สายตาดี หูดี มีสติ อารมณ์นิ่ง ซึ่งแต่ละหน่วยเขาก็จะคัดเพื่อเข้าเรียนตามหลักสูตรอีกที ที่สำคัญต้องเป็นคนอารมณ์ดี มีสติ”

            เป็นคำบอกกล่าวจากพลตรีท่านหนึ่งที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว ซึ่งให้ข้อมูลว่า สไนเปอร์หรือพลซุ่มยิง จะทำการฝึกในรูปแบบเฉพาะ มีหลักสูตร มีเหรียญตรามอบให้ ส่วนอุปกรณ์สำคัญในการฝึกก็มีการใช้กล้องเลนส์ ใช้ปืนยาวในการทำงาน ส่วนเหตุผลที่ต้องมีการฝึกฝนเป็นพิเศษนั้น ก็เนื่องจาก

            “สไนเปอร์เขามีไว้ยิงเฉพาะผู้นำ ผู้หมวด ผู้กอง หรือผู้พัน ซึ่งเป็นผู้นำทุกระดับ พวกนี้มีหน้าที่ตามล่าพวกผู้นำ ไม่ใช่ผู้ตาม”

            เป็นคุณสมบัติและการคัดกรองที่สอดคล้องกับความเห็นของ สรศักดิ์ สุบงกช คอลัมน์นิสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งแสดงทัศนะไว้ว่า คนที่จะเป็นพลซุ่มยิงได้นั้น...

            “ต้องเป็นโดยธรรมชาติ คือต้องมีอุปนิสัยที่ดำรงตนอยู่คนเดียวได้ ใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากได้ ไปนอนหมกทราย หมกโคลน ซุ่มอยู่ได้เป็นวันๆ และต้องใจเย็นมากๆ แล้วก็ต้องผ่านการฝึกที่ละเอียดและโหดมาก ถ้าฝึกได้และผ่านขั้นนี้ไปได้ ก็เป็นสไนเปอร์ได้”

            และเพราะมีเหรียญตราอันทรงเกียรติมอบให้ ทั้งมีการฝึกตามหลักสูตรที่มีรูปแบบเฉพาะ 'พลทหารเกณฑ์' ทั่วไป จึงคล้ายว่ายังห่างไกลจากสถานภาพ 'พลซุ่มยิง' นี้ ดังเช่นประสบการณ์ตรงของ พรศักดิ์ เมืองมา หนุ่มวัย 22 ปี ซึ่งเพิ่งเรียนจบมหาวิทยาลัยมาได้ไม่นาน เล่าว่า ก่อนจับใบแดงเข้าไปเป็นทหารเกณฑ์ที่ค่ายทหารในจังหวัดเชียงใหม่นั้น ตัวเขารับรู้เกี่ยวกับพลซุ่มยิงผ่านทางสื่อหลากแขนง ทั้งภาพยนตร์ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และวิดีโอเกม

            แต่ครั้นได้เข้าไปเป็นพลทหารประจำการอยู่ในค่ายทหารเมื่อปี 2549-2550 อาวุธที่พรศักดิ์ได้รับการฝึก ก็มีเพียงปืนเอ็ม 16 และปืนเล็กเท่านั้น พรศักดิ์บอกว่า เขาไม่ได้รับการบอกเล่าเกี่ยวกับพลซุ่มยิงและไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ารับการ ฝึกใช้ปืนไรเฟิลซึ่งเป็นอาวุธหลักของพลซุ่มยิงเลยแม้แต่ครั้งเดียว



       'สไนเปอร์' นามนี้...แสนสะพรึง

            กลับสู่ความเป็นจริงของสถานการณ์ปัจจุบันที่ความรุนแรงปะทุขึ้นเกินยับยั้ง และไม่ว่าจะเพื่อจุดประสงค์ใดก็ตาม พลซุ่มยิงนายหนึ่ง ก็ได้พาตนเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งนี้แล้ว

            ภาพเหตุการณ์ตรงหน้าที่สถานีข่าวทุกช่องต่างฉายภาพ เสธ. คนดัง ถูกลอบยิง ทำให้อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า แท้แล้ว สไนเปอร์ ก่อกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่กัน?

            “มันยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า การใช้สไนเปอร์เริ่มขึ้นเมื่อไหร่ แต่ก็มีการสันนิษฐานว่า ตั้งแต่มนุษย์มีการใช้ธนู หรือปืนคาบศิลาก็เริ่มมีการใช้พลซุ่มยิงแล้ว โดยมุ่งไปที่ความได้เปรียบในการทำลายเป้าหมาย และไม่มีใครรู้ได้ว่าเป้าโดนซุ่มยิงมาจากทิศทางไหน ในบ้านเราก็มีสมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นพลซุ่มยิงอันดับแรกๆ เลย เมื่อครั้งที่พระองค์ยิงแม่ทัพพม่า โดยยิงข้ามแม่น้ำสะโตง”


            สรศักดิ์เกริ่นถึงความเป็นมานับแต่เก่าก่อนของพลซุ่มยิง หรือ สไนเปอร์ ทั้งเพิ่มเติมว่าในโลกที่อาวุธถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นจากธนู ปืนคาบศิลา สไนเปอร์ก็ไม่ได้หายไปไหน ยังคงปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดฝีมือ

            “ในสมัยสงครามปฏิวัติอเมริกาที่จอร์จ วอชิงตัน รบกับอังกฤษ ตอนนั้นก็มีการใช้พลซุ่มยิงกันแล้ว แล้วถ้าพูดถึงสงครามสมัยใหม่ เขาก็เริ่มใช้สไนเปอร์กันเป็นเรื่องเป็นราว โดยเฉพาะในสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มนุษย์เริ่มผลิตปืนไรเฟิลขึ้นมา แล้วก็คิดหาวิธีที่จะทำให้สามารถยิงปืนไรเฟิลได้แม่นยำ ดังนั้น ก็ต้องมีการนำกล้องไปติดที่ปืน ทำให้มันมีคุณสมบัติพิเศษ คือนอกจากจะโดนเป้าอย่างแม่นยำแล้ว ยังลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น เพราะมันโดนแต่เป้าที่อยากให้โดนเท่านั้น อย่างอื่นไม่ถูกทำลาย”

            เมื่อเอ่ยถึงปืนไรเฟิล สรศักดิ์ก็ไม่ลืมที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธชนิดนี้ว่า

            “ถ้าถามว่าปืนไรเฟิลคืออะไร ในชื่อภาษาไทย ไรเฟิลก็คือปืนเล็กยาว เป็นอาวุธประจำกายของทหารราบ ลักษณะของปืนเล็กยาวกับปืนซุ่มยิงต่างกันยังไง ก็ต้องดูว่าปืนที่จะนำมาใช้ในการซุ่มยิงต้องใช้ในลักษณะใด คำตอบก็คือ ถ้ายิงไกล ลำกล้องต้องยาว กระสุนต้องมีหัวใหญ่ เพื่อให้มีดินขับไปได้ไกลตามระยะ ถ้ายิงระยะไกลก็มักใช้ .338 หรือถ้าต้องการทำลายมากกว่าคนก็ใช้ .50 คาลิเบอร์
            "เป้าหมายก็มีตั้งแต่ทำลายหัวหน้าหน่วยทหาร ทำลายยานเกราะเบา แล้วก็เสาอากาศวิทยุ จานเรดาร์ อย่างทหารอเมริกาก็ใช้สไนเปอร์ยิง .50 คาลิเบอร์ ใส่จานเรดาร์ของอิรักก่อนจะบุก เมื่อบุกได้แล้วก็ยิงทหารอิรัก”

            นอกจากนั้น สรศักดิ์ได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่พลซุ่มยิงเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

            “ถ้าพูดถึงเหตุการณ์สำคัญก็คือในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รัสเซียใช้พลซุ่มยิงประชาสัมพันธ์ผลงานของกองทัพ พลซุ่มยิงคนนั้นก็คือ วาสิลี ซาอิเซฟ "

            สรศักดิ์เล่าว่า รัสเซียใช้ผลงานของ วาสิลี ซาอิเซฟ เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทหารของตน ในการสู้รบครั้งประวิติศาสตร์กับเยอรมันเมื่อปี 2485-2486 ส่วนเยอรมันเมื่อถูกพลซุ่มของรัสเซียยิงทำลายเป้าหมาย ก็ส่งพลซุ่มยิงระดับครูมาบ้าง เรื่องนี้มีการเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อสองคนนี้มาดวลกัน วาสิลี ซาอิเซฟ ก็สามารถฆ่าพลซุ่มยิงของเยอรมันได้ และมีการนำปืนอาวุธประจำกายของพลซุ่มยิงคนนั้นไปตั้งแสดงอยู่ที่กรุงมอสโก ด้วย

            แต่นอกจากเหตุการณ์เหล่านี้แล้ว ในสงครามต่างๆ ก็ยังมีการใช้พลซุ่มยิงอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่เป็นการใช้ในทางลับ สำหรับเหตุการณ์ที่รับรู้ข้อมูลอย่างชัดแจ้งในสงครามต่างๆ นั้น ก็มักเป็นไปเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สร้างขวัญและกำลังใจ เป็นการโฆษณาชวนเชื่อว่ามีความเหนือกว่าในด้านยุทธวิธี ทั้งเป็นการหวังผลทางจิตวิทยา คือมุ่งทำลายขวัญกำลังใจของฝ่ายตรงข้าม

            แล้วการยิง เสธ. แดง ถือเป็นการยิงเพื่อหวังผลทางจิตวิทยา คือทำลายขวัญและกำลังใจหรือไม่? สรศักดิ์สะท้อนมุมมองอย่างตรงไปตรงมาว่า

            “ผมไม่คิดว่าการยิง เสธ.แดง เป็นเรื่องของการหวังผลทางจิตวิทยาอะไร แต่ผมคิดว่า เสธ.แดง อาจจะกำความลับอะไรไว้เยอะ แล้วก็มีคนจองกฐินแก อยากจะให้แกเงียบซะ แล้วถ้าถามผมว่ากองทัพอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า? มันไม่มีอะไรดีกับกองทัพเลยครับ เพราะตอนนี้รัฐบาลต้องทำทุกอย่างด้วยความระมัดระวัง จะปราบม็อบก็ต้องใช้มาตรการตั้งแต่เบาไปหาหนัก ถ้าจะฆ่า เสธ.แดง ก็หมายความว่าข้ามขั้นตอน 1-2-3-4-5 ไป เพราะฉะนั้น ผมไม่เชื่อว่ากองทัพจะทำ”


            นอกจากสรศักดิ์แล้ว ภิญโญ แก้วภิญโญ ก็นับเป็นพลเรือนอีกผู้หนึ่ง ที่มีความเชี่ยวชาญและรอบรู้ด้านอาวุทธยุทโธปกรณ์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปกรณ์ปืนลูกซองและปืนไรเฟิล เขาเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมบอกเล่าถึงประสิทธิภาพของอาวุธในมือพลซุ่มยิง รวมถึงลักษณะการทำงานในแต่ละสถานการณ์

            “ลักษณะการทำงานของพลซุ่มยิงขึ้นกับสถานการณ์ หากไปทำงานในสงครามตามชายแดน พลซุ่มยิงจะกระจายกันไปทำงานเดี่ยวๆ เพื่อต่อสู้กับพลซุ่มยิงของอีกฝ่าย แต่หากกรณีสงครามกลางเมืองหรือการสลายการชุมนุม พลซุ่มยิงจะทำงานเป็นทีม มีคนบอกเป้าซึ่งมีกล้องส่องที่ให้มุมกว้างกว่ากล้องที่ติดกับปืน จะทำหน้าที่ชี้เป้าผู้ต้องสงสัยที่อาจก่อความไม่สงบ ทั้งนี้ทั้งนั้น พลซุ่มยิงจะไม่มีอำนาจตัดสินใจปลิดชีพใครโดยพลการ”

            ภิญโญแสดงความเห็นว่า พลซุ่มยิงไม่จำเป็นต้องซุ่มอยู่ตามที่สูงเท่านั้น อาจอยู่บนพื้นราบก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยปืนกับกล้องส่องที่พลซุ่มยิงใช้จะถูกปรับแต่งไปตามสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งกล้องติดปืนจะมีประโยชน์สำหรับการชี้เป้าที่แม่นยำ ไม่ให้พลาดไปถูกผู้บริสุทธิ์หรือผิดจากเป้าหมาย

           “กล้องส่องต้องมีคุณภาพสูง ปืนมีความแม่นยำสูงมากๆ เข้าเป้าทุกนัด เล็งตรงไหนต้องเข้าเป้าตรงนั้น แม่นยำเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์”

            จะแม่นยำมากหรือน้อยเพียงใด ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของสไนเปอร์เท่าที่มีการจารึกไว้ ก็น่าจะยืนยันได้ดีถึงการทำลายล้างอันทรงอานุภาพซึ่งยากจะต่อกรได้โดยง่าย

พลซุ่มยิงในโลกภาพยนตร์

            ฉากต่อสู้มันส์ระห่ำที่เกิดขึ้นบนผืนผ้าใบในโรงหนังอาจทำให้นักดูหนังเพลิด เพลิน จนลืมสังเกตว่าเหตุการณ์การต่อสู้ที่เกิดขึ้นมักมีพลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์ ป้วนเปี้ยนอยู่ด้วย ลองไปหาหนังเหล่านี้มาทวนความจำกันหน่อย

            ในหนัง ‘Behind Enemy Lines’ และ ‘The Taking of Pelham 123’ พลซุ่มยิงใช้ปืนไรเฟิล Sig SSG 3000 โดยมีมัจจุราชที่เป็นกระสุนขนาด 7.62 มิลลิเมตร นาโต

            สำหรับ SVD Dragunov-ไรเฟิล ดรากูนอฟ ปืนไรเฟิลอัตโนมัติที่ดัดเเปลงกลไกภายในและรูปแบบของตัวปืนจากไรเฟิลตระกูล AK ของรัสเซีย ใช้อย่างเเพร่หลายในกองกำลังทางทหารของกลุ่มประเทศแถบยุโรปตะวันออกเเละรัส เซีย มีปรากฏในหนังหลายเรื่อง เช่น Hitman, Battle Royale II: Requiem, Black Hawk Down, The Shooter และ Rambo 3 เป็นต้น

            ส่วน Barrett M82A1 ซึ่งเป็นปืนซุ่มยิงระยะไกลที่มีอำนาจการยิงรวมถึงอำนาจในการทำลายล้างสูง มีระบบกลไกกึ่งอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพการยิงที่แม่นยำที่ระยะ 1,500 เมตร อย่าตกใจหากได้เห็นอานุภาพอันทรงพลังของมันในหนัง Resident Evil: Apocalypse, RoboCop รวมถึง Enemy at the gate ซึ่งนำแสดงโดย จู๊ด ลอว์ พระเอกหน้าหยก ผู้รับบท วาสิลี ซาอิเซฟ สไนเปอร์เบอร์หนึ่งของพญาหมีขาวรัสเซียก็นับเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับพลซุ่มยิง อีกเรื่องหนึ่งที่ยังถูกกล่าวขานถึงตราบทุกวันนี้

เรื่องราวประเภทเดียวกัน

รายละเอียด M-79 ระยะหวังผลทำลายล้าง

เปิดใจมือปืนและวีดีโอโชว์การถอดและประกอบปืน แบบต่างๆ ลิงค์นี้


รายละเอียดปืน เอช เค เอ็มพี 5 ปืนที่ใช้ประหารชีวิตของกรมราชทัณฑ์

รถเกราะ,กระสุนเจาะเกราะ,เสื้อเกราะกันกระสุน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น