วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ยุทธการเกตตีสเบิร์ก สงครามกลางเมืองอเมริกัน

สงครามกลางเมืองอเมริกัน





สงครามกลางเมืองอเมริกัน เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัฐเกษตรกรรมทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ที่มีการทำไร่ขนาดใหญ่ใช้แรงงานทาสนิโกร กับรัฐอุตสาหกรรมทางเหนือ ระหว่าง ค.ศ.1861 - 1865 (พ.ศ.2404 - 2408) สงครามนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 600,000 คน ทำให้เกิดความเสียหายและความยุ่งยากหลายประการ แต่ก็มีผลดีที่ต่อมามีการเลิกทาสและรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไว้ได้


เหตุการณ์สำคัญตามลำดับ คือ



ค.ศ. 1860

อับราฮัม ลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี
เซาธ์์ แคโรไลนาแยกตัวออกเพราะไม่พอใจผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี
การทำข้อตกลงคิสเตนเดน (Crittenden Compromise) ล้มเหลว เท่ากับเป็นการสิ้นสุดความพยายามครั้งสุดท้าย
ที่จะยังคงรวมกันเป็นสหภาพ (Union) 




ค.ศ. 1861

ฝ่ายสมาพันธรัฐยิงเรือของฝ่ายสหภาพ พยายามปลดปล่อยฟอร์ท ซัมเตอร์ (Fort Sumter) ที่เมืองชาร์ลสตัน
(เซาท์ แคโรไลนา) ทำให้เรือของฝ่ายสหภาพต้องถอย
มิสซิสซิปปี แยกตัว (9 มกราคม) ตามมาด้วยฟลอริดา (10 มกราคม) อลาบามา (11 มกราคม) จอร์เจีย
(19 มกราคม) หลุยส์เซียนา (26 มกราคม) และเท็กซัส (1 กุมภาพันธ์)
บรรดารัฐที่แยกตัวออกได้ส่งผู้แทนเข้าประชุมที่เมืองมองต์โกเมอรี จัดตั้งสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate
States of America) และเลือกตั้งนายพล เจฟเฟอร์สัน เดวิส เป็นประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีเดวิส ประกาศเกณฑ์ทหารอาสาสมัคร 20,000 คนเข้าประจำการ (3 เมษายน)
กองทัพฝ่ายสมาพันธ์นำโดยนายพลโบรีการ์ด (Beauregard) ระดมยิงฟอร์ท ซัมเตอร์จนต้องยอมแพ้ เป็นการ
เปิดฉากสงครามกลางเมือง ที่มีความรุนแรงยิ่งขี้น (12 - 14 เมษายน)
ประธานาธิบดีลินคอล์น ประกาศเกณฑ์ทหารอาสาสมัคร 75,000 คน (15 เมษายน) ดำเนินการปิดล้อมท่าเรือของ
ฝ่ายรัฐที่แยกตัวออก (19 เมษา) แต่ไม่สามารถสกัดการส่งสินค้าจากต่างประเทศที่ส่งเข้ามาถึงรัฐที่ถูกปิดล้อม
ได้ทั้งหมด
เวอร์จิเนียถอนตัวออกจากสหภาพ (17 เมษา) ตามด้วยอาร์คันซัส (6 พฤษภา) เทนเนสซี (7 พฤษาคม)
และนอร์ท แคโรไลนา (11 พฤษภา)
กองทัพฝ่ายสมาพันธรัฐเผชิญหน้าฝ่ายสหภาพ เริ่มการสู้รบที่บุล รัน (bull Run) (21 กรกฎา) ทางตอนเหนือของ
รัฐเวอร์จิเนีย การสู้รบที่บุลรันทำให้ฝ่ายเหนือคิดเรื่องที่จะยุติสงครามกลางเมืองโดยเร็ว ด้วยการปิดล้อมฝ่ายใต้
ทางเรือ คุมย่านแม่น้ำมิสซิสซิปปี (เพื่อเป็นการแยกฝ่ายใต้ออกจากกัน) และเข้ายึดเมืองริชมอนด์ เมืองหลวงของ
สมาพันธรัฐฝ่ายใต้
ฝ่ายสมาพันธรัฐก็ยึดเมืองสปริงฟิลด์ (Springfield) ในมิสซูรีภายหลังการรบที่วิลสัน ครีก (Wilson's Creek)
(10 สิงหาคม)
พลเอก จี. แมคเคลลัน (General G.McCelan) เป็นผู้บัญชาการกองทัพสหภาพและจัดตั้งกองทัพแห่งโปโตแมค
(Army of Potomac) ขึ้น
กองทัพสหพันธรัฐปิดล้อมเรืออังกฤษ (8 พฤศจิกายน) จนเกือบนำไปสู่การเกิดสงครามระหว่างประเทศ 




ค.ศ. 1862

ฝ่ายสหภาพบุกเคนตักกี้กับเทนเนสซี ยึดได้ฟอร์ท เฮนรี (Fort Henry) กับฟอร์ท โดเนลสัน (Fort Donelson)
(6 - 16 กุมภาพันธ์) ฝ่ายสมาพันธ์ถอนตัวจากเมืองแนชวิลล์ (Nashville)
ฝ่ายสหภาพเปิดฉากรุง โดยนายพลแกรนท์ของฝ่ายเหนือรุกไล่ฝ่ายใต้ทางตอนใต้ของรัฐเทนเนสซี มีชัยในการรบ
นองเลือดที่ชิโลห์ (Shiloh) (6-7เมษา) ฝ่ายใต้สูญเสียแม่ทัพสำคัญคนหนึ่ง คือ นายพล เอ จอห์นสตัน
(Gen. A. Johnston) 




ค.ศ. 1863

ลินคอล์นประกาศกฎหมายเลิกทาสในวันที่ 1 มกราคม (Emancipation Proclaimation)
กองทัพฝ่ายเหนือรุกไปทางตะวันออก นายพลลี (Gen. R.E. Lee) ของฝ่ายใต้รุกขึ้นทางเหนือเข้าสู่เพนซิลวาเนีย
(มิถุนายน) แต่ถูกนายพลจี เมเอด (Gen.G.Meade) ของฝ่ายสหภาพเอาชนะได้ในการรบที่เกตติสเบิร์ก
(Battle of Gettysburg) ในเพนซิลวาเนีย ถือเป็นสงครามแห่งชัยชนะในสงครามกลางเมือง เมื่อนายพลลีต้องถอย
กลับไปเวอร์จิเนีย 




ค.ศ. 1864

นายพลแกรนท์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสหภาพ (มีนาคม) ขณะที่นายพล ดับเบิลยู
เชอร์แมน (Gen. W. Sherman) เป็นแม่ทัพฝ่ายตะวันตก กองทัพของนายพลแกรนท์ปะทะกับกองทัพนายพลลี
ในเวอร์จีเนีย ส่วนกองทัพของนายพลเชอร์ แมนมีหน้าที่รุกรบกองทัพของนายพลจอห์นสตันที่แอตแลนตา
นายพลลีของฝ่ายใต้เริ่มถอย เพราะไม่สามารถป้องกันปีเตอร์สเบิร์ก (Petersburg) ในการสู้รบเป็นเวลาถึง 10
เดือน แม้จะพยายามโจมตีแนวหลังของฝ่ายสหภาพแต่ก็ทำไม่สำเร็จ
นายพลดี ฟาร์รากัตเอาชนะกองเรือฝ่ายสมาพันธรัฐที่อ่าวโมบายล์ (5 สิงหาคม)
ประธานาธิบดีลินคอล์นได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง (พฤศจิกายน) 




ค.ศ. 1865

มีการร่างข้อตกลง 13 ข้อ ยกเลิกการมีทาสในสหรัฐอเมริกา ผ่านรัฐสภาอเมริกัน (1 กุมภาพันธ์) และมีผลบังคับ
ใช้เดือนธันวาคม
นายพลลี ถูกบังคับให้ยอมจำนนที่แอพโพแมตทอก คอร์ทเฮาส์ (Appomattox Courthouse) เป็นการยุติสงคราม
กลางเมือง (9 เมษายน)
(14 เมษายน) ประธานาธิบดีลินคอล์นถูกลอบ...หาร 



สงครามกลางเมืองอเมริกัน 2

สงครามกลางเมืองอเมริกัน





ชุดเครื่องแบบสีน้ำเงินเป็นพวกทหารม้าฝ่ายเหนือ
ส่วนชุดสีเทาเป็นพวกทหารฝ่ายใต้




ระหว่างปีค.ศ.1861-1865 ประเทศสหรัฐอเมริกาถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยสงครามกลางเมืองอันดุเดือดรุนแรงระหว่างสมาพันธรัฐอเมริกาซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของรัฐต่างๆ ทางใต้ (Confederacy) หรือที่เรียกว่า ฝ่ายใต้ กับสหภาพ (Union) หรือพวกรัฐฝ่ายเหนือซึ่งนำโดยประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)


ต้นเหตุของสงครามครั้งนี้เกิดจากกฎหมายที่ว่าด้วยการใช้แรงงานทาสที่แตกต่างกัน โดยถ้าเป็นทางฝ่ายใต้นั้นการใช้แรงงานทาสจะเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายในขณะที่ทางฝ่ายเหนือกลับกลายเป็นสิ่งตรงกันข้าม ความขัดแย้งด้านความคิดดังกล่าวนี้เองที่นำไปสู่การฆ่าฟันกันเองระหว่างคนในชาติ และเมื่อประธานาธิบดีลินคอล์นขึ้นดำรงตำแหน่งแล้ว เขาก็ต้องการใช้มีการยกเลิกการใช้แรงงานทาสทั่วประเทศจึงทำให้เกิดความขัดแย้งจนลุกลามเป็นสงครามกลางเมือง

การต่อสู้ดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายเหนือยังผลให้เกิดการเลิกทาสทั่วประเทศและสร้างความเชื่อมั่นว่าประเทศอเมริกายังคงรวมเป็นชาติเดียวกันอยู่


สมรภูมิรบแห่งเกททิสเบิร์ก (Battle of Gettysburg)






ภาพวาดสมรภูมิรบแห่งเกททิสเบิร์กที่เต็มไปด้วยการนองเลือดและความสับสนอลหม่าน



วันที่ 1-3 กรกฎาคม ปีค.ศ.1863 นายพลโรเบิร์ต อี.ลี (General Robert E. Lee) ของฝ่ายใต้ได้เข้าโจมตีกองทัพฝ่ายเหนือของ นายพลจอร์จ เมิด (General George Meade) ที่รุกเข้ามาใกล้เกททิสเบิร์ก รัฐเพนซิลวาเนีย (Pennsylvania)


จุดสำคัญของการรบในครั้งนี้ก็คือ การเข้าตะลุมบอนของพิคเก็ท (Pickett) ก่อนที่สงครามจะจบลงด้วยการสูญเสียอย่างประเมินค่ามิได้ของทั้งสองฝ่ายและความปราชัยของนายพลลีและทหารฝ่ายใต้ที่ต้องถอนกำลังกลับไปยังเวอร์จิเนีย (Virginia)

ฝ่ายเหนือและทางใต้ (North and South)





สงครามกลางเมืองนั้นเป็นการสู้รบกันระหว่างรัฐทางเหนือ ซึ่งมีทั้งหมด 23 รัฐกับทางใต้ที่มี 11 รัฐ ส่วนดินแดนในสหภาพอื่นได้เปลี่ยนมาเป็นรัฐหลังจากเกิดสงคราม

นอกจากนี้แล้วยังเกิดสงครามใหญ่ๆ ขึ้นอีกหลายที่ด้วยกันอย่างเช่น ที่เมืองเกททิสเบิร์กซึ่งได้รบกันทางภาคตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้

สารคดี History กึ่งภาพยนต์ 6 ตอน
Gettysburg part1
Gettysburg part2
gettysburg part3
gettysburg part4
Gettysburg part5
Gettysburg part6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น