วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประชาธิปไตยแบบกฎุมพี (หรือเจ้าสมบัติ)

กระฎุมพี (กฺระ-ดุม-พี; มักสะกดผิดเป็น กระฎุมภี หรือ กฎุมภี) เป็นชนชั้นทางสังคมกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางหรือชนชั้นพ่อค้าวาณิช ซึ่งได้สถานะทางสังคมหรืออำนาจมาจากหน้าที่การงาน การศึกษา หรือความมั่งมี (ซึ่งตรงกันข้ามกับพวกอภิชน) เป็นชนชั้นที่มีฐานะจากการค้าขายหรืองานช่างฝีมือ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งอาจหมายรวมถึง นายทุน นายทุนน้อย คนชั้นกลาง ส่วน "ไพร่กระฎุมพี" นั้น หมายถึงชนชั้นที่อยู่ต่ำกว่ากระฎุมพีแต่สูงกว่าชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม เป็น "พลเมืองที่มีเงินพอใช้เลี้ยงชีวิตไม่เป็นทาสบุคคลผู้ใด"[1]
แนวคิดเช่น เสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิพลเมืองและการนับถือศาสนา และการค้าเสรี ล้วนสืบทอดมาจากปรัชญาของกระฎุมพี
  ก็เช่นเดียวกับประชาธิปไตยแบบกรีก ในส่วนที่เป็นประชาธิปไตยของคนกลุ่มน้อยหรือ
ประชาธิปไตยของชนชั้นท่านนักวิทยาศาสตร์สังคมได้กล่าวว่า "ในสังคมที่แบ่งกันออกเป็นชน
ชั้นคือ ผู้กดขี่กับผู้ถูกกดขี่หรือผู้เบียดเบียนกับผู้ถูกเบียดเบียน ระบอบประชาธิปไตยก็ย่อมจะคง
เป็นระบอบประชาธิปไตยของชนชั้นอยู่เรื่อยไป จะไม่   เป็นประชาธิปไตยของปวงชนตามความ  หมายสมบูรณ์ขึ้นได้เลย" 
                             รูปภาพ อ้างอิงใช้งานประวัติศาสตร์ลือชื่อของ Eric Hobsbawm เรื่อง The Age of Revolution, 1789-1848 (1962) เป็นหลักเพื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์การเคลื่อนไหว “ปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทยถึงปัจจุบัน
          การก้าวเข้ามาของประชาธิปไตยกฎุมพีหรือเจ้าสมบัตินั้น ก้าวเข้ามาด้วยการปฏิวัติ กล่าว
คือ เป็นการแย่งชิงอำนาจในทางการเมืองการเศรษฐกิจจากพวกเจ้าศักดินา ซึ่งทำการผูกขาด
อำนาจอำนาจดังกล่าวไว้ในกำมือแต่กลุ่มเดียว พวกศักดินาถูกเตะหกคะเมนลงไปจากบัลลังก์
แห่งการกดขี่ขูดรีด และพร้อมกับที่พวกกฎุมพีหรือเจ้าสมบัติ ได้ย่างก้าวขึ้นไปสู่บัลลังก์แห่งการ
กดขี่ขูดรีดแทน การปฏิวัติของอังกฤษในตอนกลางคริสศตวรรตที่ ๑๗ การปฏิวัติของอเมริกา
และฝรั่งเศสในตอนปลายคริสศตวรรตที่ ๑๘ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในทาง
การเมืองการเศรษฐกิจและสังคม ชนชั้นกฎุมพีหรือเจ้าสมบัติที่โผล่หน้าขึ้นมาในประเทศเหล่านี้
พยายามที่จะให้ได้มาซึ่งเสรีภาพในทางการเมือง โดยโอนเอาอำนาจของรัฐมาไว้ในกำมือของ
พวกเขา และแล้วก็ดำเนินการการเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และออกจากบรรดาข้อจำกัดทั้งหลาย
ของพวกเจ้าศักดินาและกษัตริย์เพื่อพัฒนาการเศรษฐกิจของตนเอง
        ก่อนเข้ามาของระบอบประชาธิปไตยกฎุมพีหรือประชาธิปไตยเจ้าสมบัติระบบศักดินาได้มี
อิทธิพลครอบงำอยู่เหนือสังคม ทั้งนี้ เพราะอำนาจในทางการเมืองการเศรษฐกิจและสังคมอยู่
ในกำมือของพวกเขาอย่างเด็ดขาดสิ้นเชิง พวกเจ้าศักดินาเหล่านั้นรวบอำนาจทางการเมืองมา
ไว้ในกำมือของพวกเขา โดยรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์ และแล้วดำเนินการเศรษฐกิจด้วยวิธีการกดขี่
ขูดรีดประชาชน
        ทั้งนี้     เพื่อให้ได้มาซึ่งโภคทรัพย์เพื่อมาบำรุงบำเรอความสุขของพวกเขาเครื่องบำรุง
บำเรอความสุขนั้นนอกจากเครื่องบริโภคอุปโภคอย่างชนิดยอดเยี่ยมและนอกจากข้าทาสหญิง
ชายแล้ว ก็ยังมีสตรีที่เรียกว่า นางบำเรอ อีกด้วย การวัดฐานะของพวกเจ้าศักดินา นอกจากจะวัด
กันด้วยจำนวนมากน้อยของข้าทาสแล้วก็วัดกันด้วยจำนวนมากน้อยของนางบำเรอ ท่านผู้ใดมี
นางบำเรอมากก็นับถือกันว่าเป็นผู้มีหน้ามีตามีบุญวาสนา และท่านที่มีนางบำเรอมากที่สุดก็เห็น
จะได้แก่พวกกษัตริย์นั่นเอง เพราะท่านเหล่านี้มีอำนาจเหนือมนุษย์ทุกคนในสังคม คำพูดของ
เขาเป็นกฎหมาย พวกเจ้าศักดินายิ่งทวีการบำรุงบำเรอส่วนตัวเท่าใดยิ่งเพิ่มข้าทาสหญิงชายมาก
ขึ้นเท่าใด และยิ่งเพิ่มนางบำเรอมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทวีการกดขี่ขูดรีดประชาชนมากขึ้นเท่านั้น

        ภายใต้พฤติการณ์ที่เป็นอยู่เช่นนี้ ได้นำความยากจนค่นแค้นมาสู่ประชาชนส่วนใหญ่อย่าง
แสนสาหัส และได้นำความหายนะมาสู่ชนชั้นกลางหรือกฎุมพี อันเป็นชนชั้นที่พวกเจ้าศักดินา
หรือพวกชนชั้นสูงดูถูกเหยียดหยาม   และดังนั้น   ภายใต้การนำของพวกกฎุมพี และด้วยการ
สนับสนุนของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งถูกถือว่าเป็นพวกไพร่ชนชั้นต่ำ ได้ร่วมมือกันโค่นล้มระบบ
ศักดินาอันน่าขยะแขยง แล้วสถาปนาระบอบประชาธิปไตยกฎุมพี หรือระบอบประชาธิปไตย
เจ้าสมบัติขึ้นมาแทน
        ที่เรียกว่าระบอบประชาธิปไตยกฎุมพีหรือระบอบประชาธิปไตยเจ้าสมบัตินั้น ก็เพราะภาย
หลังจากการยื้อแย่งอำนาจในทางการเมืองและการเศรษฐกิจมาจากพวกเจ้าศักดินาได้แล้ว พวก
กฎุมพีหรือพวกชนชั้นกลางก็ได้เข้าครองอำนาจแทน โดยการกีดกันประชาชนส่วนใหญ่ออกไป
อยู่นอกวงอำนาจเหล่านั้นทรรศนะทางประชาธิปไตยของพวกกฎุมพีหรือเจ้าสมบัตย่อมไม่เคยที่
จะก้าวเลยไปจนถึงขั้นเลิกล้มเอกสิทธิ์ของชนชั้น อันเป็นลักษณะสังคมศักดินาแต่เพื่อที่จะปิดบัง
อำพรางการผูกขาดกุมอำนาจของพวกเขาในทางเศรษฐกิจและการเมือง ความเสมอภาคตาม
กฎหมายจึงได้ถูกตราขึ้นเป็นพิธีการ เช่น บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ประชาชนทุกคนที่บรรลุนิติ
ภาวะแล้วย่อมมีสิทธิเสรีภาพบริบูรณ์ในทางการเมือง แต่หากในกฎหมายเลือกตั้ง กลับกำหนด
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์รับเลือกตั้งไว้ต่าง ๆ นานา เช่น ในเรื่องการศึกษา ก็ได้กำหนดไว้ว่าต้องมี
ความรู้แค่นั้นแค่นี้
         และโดยประการสำคัญต้องมีหลักทรัพย์เท่านั้นเท่านี้ ต้องวางเงินประกันเท่านั้นเท่านี้และ
ในส่วนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งก็เช่นกัน       ได้มีข้อกำนดไว้หลายประการเช่นเดียวกันกับ
ประชาธิปไตยยุคกรีก
http://www.youtube.com/watch?v=jjq_5CapTPo

ในมุมมองมาร์กซิสต์

หนึ่งในการวิจารณ์กระฎุมพีที่ทรงอิทธิพลที่สุดมาจาก คาร์ล มาร์กซ โดยเขาโจมตีทฤษฎีการเมือง และมุมมองต่อประชาสังคมและวัฒนธรรมพลเมืองของกระฎุมพี ที่เชื่อว่าแนวคิดและสถาบันต่าง ๆ เหล่านี้เป็นความจริงสากลเสมอ ในมุมมองของมาร์กซนั้น แนวคิดเหล่านี้เป็นเพียงอุดมการณ์ของกระฎุมพีในฐานะชนชั้นปกครองกลุ่มใหม่ ซึ่งต้องการจะจัดระเบียบสังคมตามสิ่งที่ตนจินตนาการ

กระฎุมพีในประเทศไทย

ลักษณะเด่นของกระฎุมพีในประเทศไทยก็คือ การกำเนิดและแหล่งที่มาของกระฎุมพีในสังคมรัตนโกสินทร์นั้น
ไม่ได้กำเนิดแยกเป็นอิสระจากชนชั้นศักดินาที่ครอบครองอำนาจและผลประโยชน์เศรษฐกิจของอาณาจักรมาก่อน

4 ความคิดเห็น:

  1. มีประโยชน์มากแท้

    ตอบลบ
  2. การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งสาเหตุก็เกิดมาจากการชนชั้นที่สูงเอารัดเอาเปรียบชนชั้นที่ต่ำกว่า ในสภาพสังคมที่เป็นจริงจะให้ทุกคนมีสถานะเท่าเทียมกันมันเป็นไปไม่ใด้ และคนในชนชั้นที่ต่ำกว่าเขาก็รู้ว่าเขายืนควรยืนอยู่ในจุดไหนของสังคม .แต่ชนชั้นสูงในสังคมกลับเอารัดเอาเปรียบเขาพยายามจะกดเขาให้อยู่ใต้อำนาจตลอดเวลา โดยไม่ใด้แยแสว่าเขาจะรู้สึกอย่างไร ความอดทนมีถึงที่สุดเมื่อมันระเบิดออกมามันย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ....แต่หนทางที่ทั้งสองฝ่ายจะพบกับชัยชนะ ก็ต้องเหยียบย่ำไปบนซากศพของพวกพ้องตนเองเองอีกคณานับ การจะยุติความยัดแย้งใด้คือการหาสมดุลในการอยู่ร่วมกันทั้งสองฝ่าย....

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณครับ ที่เสริมความคิดเห็น

      ลบ