พระยาทรงฯมีชื่อเดิมคือเทพ พันธุมเสน เป็นบุตรของร้อยโทไท้ นายทหารกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 เมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแล้ว ได้ทุนไปศึกษาต่อ ที่ประเทศเยอรมนี เข้าโรงเรียนนายร้อย เมื่อสอบผ่านหลักสูตร 2 ปีแล้ว นักเรียนจะมียศเป็น ฟาฮ์นริช (Fahnrich ตรงกับระดับชั้นนายสิบ) แต่จัดว่าเป็น "นักเรียนทำการนายร้อย" มีสิทธิพิเศษแตกต่างจากนายสิบชั้นประทวนทั่วไป ท่านเข้าเรียนต่อวิชาทหารช่าง ทั้งฝึกทั้งเรียนหนักอีก2ปี จึงได้เข้าสอบเลื่อนขึ้นเป็น "เดเก้น-ฟาฮ์นริช" (degen แปลว่า กระบี่) คือมีสิทธิใช้กระบี่และเครื่องแบบนายทหารสัญญาบัตร เว้นแต่ยังคงใช้อินทรธนูนายสิบ ชั้นยศนี้คงจะเทียบเท่า "ว่าที่ร้อยตรี" รอจนกว่า จักรพรรดิ์ไกเซอร์ วิลเฮล์มองค์จอมทัพจะโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรยศจากพระหัตถ์ในทุกๆวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 27 มกราคม พร้อมกันนั้นจะได้รับพระราชทานพระฉายาลักษณ์ ขนาด 10 นิ้ว x 12 นิ้วที่ทรงลงพระปรมาภิไธยเองทุกพระรูป จึงจะเปลี่ยนใช้อินทรธนูได้เป็น "นายร้อยตรี" (Oberleutnant) อย่างสมบูรณ์
นายร้อยตรีเทพ พันธุมเสนได้เข้าประจำการในกองทัพเยอรมันที่กองทหารในเมืองมักเคเบอร์ก ก่อนที่จะเดินทางกลับสยามเมื่อสงครามโลกครั้งแรกระเบิดขึ้นในปี พ.ศ. 2458 และเข้ารายงานตัวเพื่อรับราชการในกองทัพบกต่อจนได้รับพระราชทานยศเป็น ร้อยเอกหลวงรณรงค์สงครามเมื่อพ.ศ. 2461 และย้ายไปเป็นผู้บังคับการทหารช่างรถไฟ กองพันที่ 2 กรมทหารบกที่ 3 มีผลงานสำคัญคือ
ก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือ จากถ้ำขุนตานถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่
ก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออก จากแปดริ้วถึงสถานีรถไฟอรัญประเทศ
ก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงนครราชสีมา
สุด ท้ายก่อนที่จะมีบทบาทยิ่งใหญ่ ได้รับพระราชทานยศนายพันเอก และบรรดาศักดิ์เป็นพระยาทรงสุรเดช ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยทหารบกเป็นที่รู้กันว่า พวกนักเรียนนอกมักจะมีแนวความคิดที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของ ประเทศมาเป็นประชาธิปไตย พระยาทรงนั้นท่านเห็นว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่สยามใช้อยู่ขณะนั้น เจ้านายน้อยใหญ่หลายองค์ได้แสดงความประพฤติไม่เหมาะสมเป็นที่ดูแคลนของคน ทั่วไป แต่ก็ยังดำรงยศฐาบรรดาศักดิ์บังคับให้ราษฎรกราบกรานอยู่ ที่แย่คือการให้อภิสิทธิแก่เจ้านายเท่านั้นในการเข้าดำรงตำแหน่งสูงๆทั้ง ด้านการทหารการปกครอง และงานราชการทั่วไปโดยไม่คำนึงถึงความสามารถ สามัญชนที่ถึงแม้จะมีความเหมาะสมกว่า ก็ไม่มีโอกาสได้ทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองได้เต็มที่ สมกับความรู้ที่ได้ไปเล่าเรียนมา ในบันทึกของพระยาทรงสุรเดชเขียนไว้ตอนหนึ่งว่า " พวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แทบทั้งหมด มุ่งแต่เพียงทำตัวให้โปรดปรานไว้เนื้อเชื่อใจจากพระเจ้าแผ่นดินไม่ว่าด้วย วิธีใด ตลอดทั้งวิธีที่ต้องสละเกียรติยศด้วย..."
วิธีหลังนี้ พระยาทรงท่านได้พิสูจน์ตนเองจนถึงที่สุดแห่งชีวิตว่า คนอย่างท่านทำเช่นนั้นไม่ได้ เมื่อมีความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้อยู่ เพื่อนรุ่นน้องที่ห่างกันมากแต่สนิทสนมตั้งแต่เด็ก คือ ร้อยโทประยูร ภมรมนตรีจึงสามารถเชื่อมโยงให้ไปร่วมกันคิดอ่านกับกลุ่มนักเรียนนอกฝรั่งเศส ซึ่งคนสำคัญในกลุ่มนั้นคือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) และนายพันตรีหลวงพิบูลสงคราม(แปลก ขิตะสังคะ) ตกลงว่าจะร่วมมือกันกระทำการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองของสยามให้เป็น ประชาธิปไตยให้ได้โดยเร็ว ไม่รอให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯพระราชทานรัฐธรรมนูญลงมาเองตามที่ทรงแสดง พระราชประสงค์ไว้ เพราะไม่ทราบว่าวันนั้นจะเป็นเมื่อไรและเนื้อหาจะเป็นอย่างไร
พระยาทรงป็นนักเรียนนายร้อยเยอรมันรุ่นเดียวกับพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน) และเป็นรุ่นพี่พันโท พระประศาสตร์พิทยายุทธ์(วัน ชูถิ่น) จึงชักชวนนายทหารทั้งสองมาเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ หลังจากนั้นได้ดึงพันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในพระนครอันสำคัญมาร่วมด้วย ต่อมาทั้งสี่คนนี้ได้รับฉายาว่า “สี่ทหารเสือ” แห่งคณะราษฎร ซึ่งมีพระยาพหลผู้อาวุโสที่สุดได้รับการเลือกจากผู้ร่วมก่อการทุกสายให้เป็น หัวหน้าคณะ ส่วนพระยาทรงเป็นหัวหน้าเสนาธิการผู้วางแผนการยึดอำนาจในครั้งนี้
พระยาทรงสุรเดชสวนทันควัน “ยังงี้บรรลัยหมด กำลังเรามีเท่าไหร่ กำลังราษฎรกับทหารหน่วยอื่นเท่าไหร่ ….ทำไมไม่เตรียมวิธีการประนีประนอมปลอบให้เข้าใจจุดมุ่งหมายของคณะราษฎร”
พระยา ทรงฯ มีจุดอ่อนจุดแข็งอยู่ที่เคยเป็นครูบาอาจารย์มานาน ก็เลยเป็นครูอยู่ตลอดเวลา พูดจาโผงผางครูสอนศิษย์พูดจาทุบแตกและทุบโต๊ะ วันดีคืนดีใครตอบไม่ถูกเรื่องอาจจะได้รับคำชมว่า "โง่" ก่อนที่ท่านจะอธิบายถูกผิด เป็นไปได้เป็นไปไม่ได้ในปัญหายุทธการ ใครที่โดนตอกหน้าแตกหน้าชามาก็สุมความแค้นไว้เงียบๆ
นี่คงเป็นเหตุหนึ่ง ที่คณะราษฎรรุ่นหนุ่มถือเป็นเรื่องขื่นๆอยู่ ข้ามาจากฝรั่งเศสหนึ่งในตองอูเหมือนกัน อำนาจยศศักดิ์มันไม่เข้าใครออกใคร หากมักใหญ่ใฝ่สูงจะเป็นใหญ่ในแผ่นดินก็ต้องกำจัด"สี่เสือ" หัวหน้าคณะราษฎรชั้นอาวุโสลงเสียก่อน และก็ "พันเอก พระยาทรงสุรเดช" นี่แหละ เป็นบุคคลแรกที่ต้องกำจัดออกไปโดยเร็ว เพราะฉลาดเกินไป ตรงเกินไป ซื่อเกินไป รู้ทันเกินไป ผู้ใต้บังคับบัญชาลูกศิษย์ลูกหารักใคร่เกินไป พันเอกพระยาทรงสุรเดช ไม่รู้ตัวเลยว่ามีศัตรูในพวกเดียวกัน ที่จ้องจะเชือด
ในการวางแผนยึดอำนาจ พระยาทรงแสดงความเป็นทหารอัจฉริยะอย่างเต็มที่ โดยพระยาทรงกล่าวว่าการปฏิวัติ2475เป็นเรื่องของยุทธวิธี ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ เพราะการปฏิวัติที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตื่นตัวต้องการเรียกร้อง ความเปลี่ยนแปลง จะหวังใช้กำลังพลจำนวนมากนั้นไม่ได้เรื่องแน่ เนื่องจากความลับจะรั่วไหลแล้วกลายเป็นกบฎ ท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คง ทราบดีอยู่แล้วว่า แผนยุทธวิธีที่พระยาทรงวางไว้นั้น ยอดเยี่ยมเพียงใดในการใช้กำลังทหารเพียงหยิบมือเดียว ปฏิบัติการไม่ถึงครึ่งวันก็สำเร็จเรียบร้อยแบบไม่สูญเสียเลือดเนื้อ คณะผู้ก่อการได้ประชุมกันเพียง 2 ครั้ง ครั้งแรกก็เพียงไม่กี่เดือนก่อนลงมือที่บ้านพักของพระยาทรงเอง และครั้งที่ 2 ที่บ้านพักของร้อยโทประยูร ภมรมนตรี ที่สรุปแล้วพระยาทรงสุรเดชเสนอแผนการทั้งหมด 3 แผนให้ที่ประชุมเลือก คือ
แผนที่ 1 ให้นัดประชุมบรรดานายทหารที่กรมเสนาธิการ หรือที่กรมยุทธศึกษา หรือที่ศาลาว่าการกลาโหม เพื่อประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ผู้ใดไม่เห็นด้วยก็จะเข้าควบคุมตัวไว้ ในระหว่างนั้นคณะผู้ก่อการฝ่ายทหารเรือและพลเรือนแยกย้ายกันไปคุมตัวเจ้านาย และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มากักตัวไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคมหรือบนเรือรบ
แผนที่ 2 ให้จัดส่งหน่วยต่าง ๆ ไปคุมตามวังเจ้านายและข้าราชการคนสำคัญ ในขณะเดียวกันให้จัดหน่วยออกทำการตัดการสื่อสารติดต่อ เช่น โทรเลข โทรศัพท์ และให้จัดการรวบรวมกำลังทหารไปชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยวิธีออกคำสั่งลวงในตอนเช้าตรู่แล้วประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อหน้า ทหารเหล่านั้น และจัดนายทหารฝ่ายก่อการเข้าควบคุมบังคับบัญชาทหารเหล่านั้นแทนผู้บังคับ บัญชาคนเดิม แล้วทหารก็คงจะฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาคนใหม่ต่อไป การณ์ก็คงสำเร็จลงโดยเรียบร้อยโดยมิต้องมีการต่อสู้จนเลือดนองแผ่นดิน
แผนที่ 3 ให้หน่วยทหารหนึ่งจู่โจมเข้าไปในวังบางขุนพรหม และเข้าจับกุมพระองค์สมเด็จกรมพระนครสวรรค์วรพินิตมาประทับที่พระที่นั่ง อนันตสมาคม เพื่อเป็นประกันในความปลอดภัยของคณะราษฎร และให้ดำเนินการอย่างอื่น ๆ ตามที่กล่าวแล้วในแผนที่ 2
แผนที่1เป็น ทางเลือกที่พระยาทรงเสนอมาให้ดูเวอร์ๆเข้าไว้ว่าเพื่อดักทางให้ที่ประชุม เห็นชอบกับแผนที่2ควบกับแผนที่ 3 และให้ลงมือในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปหัวหิน เพื่อทอดพระเนตรการทดลองการยิงปืนใหญ่ ซึ่งมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ แม่ทัพ นายกอง จะร่วมโดยเสด็จด้วยเป็นส่วนมาก กำหนดวันลงมือกระทำการในวันที่ 24 มิถุนายน โดยที่ประชุมยังไม่รู้ว่า ผู้ก่อการคนใดจะนำทหารที่ไหนออกมาใช้ยึดอำนาจและจะทำได้อย่างไร เพราะพระยาทรงยังอุบไว้เป็นความลับแผนการณ์สุดยอดในใจของพระยาทรงใน วันคอขาดบาดตายนั้นก็คือ การปล่อยข่าวลับลวงพราง ล่อหลอกให้นายทหารแต่ละกรมกองนำกำลังพลออกมาชุมนุมร่วมกันที่ลานพระบรมรูป ทรงม้าโดยไม่ทราบล่วงหน้าว่า จะมีเข้าร่วมในการแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองกับเขาด้วย
ถึงท่านจะไม่ระบุชื่อ แต่คนที่สนใจประวัติศาสตร์ช่วงนี้ก็ทราบได้โดยไม่ยากว่านายทหารหนุ่มดังกล่าวคือนายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม
ล่วง หน้าหนึ่งวัน พระยาทรงในฐานะเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาทหาร ของโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้ไปพบพันโทพระเหี้ยมใจหาญ ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อย เพื่อขอให้นำนักเรียนนายร้อยทั้งหมดพร้อมอาวุธปืนบรรจุกระสุนไปที่ลานหน้า พระบรมรูปทรงม้าในตอนเช้าตรู่วันที่ 24 มิถุนายน เพื่อฝึกยุทธวิธีทหารราบต่อสู้รถถัง โดยจะใช้นักเรียนนายร้อยทำหน้าที่ทหารราบและนำรถถังจากกรมทหารม้ามาใช้ในการ ฝึก ต่อจากนั้นได้ไปพบผู้บังคับกองพันทหารราบที่รู้จักอีกสองคน เพื่อขอร้องให้นำทหารไปฝึกหน้าลานพระบรมรูปทรงม้าเวลาหกโมงเช้า และไปพบผู้บังคับการกองพันทหารช่างที่บางซื่อ เพื่อขอร้องให้นำทหารมาที่สนามหน้าโรงทหารในเวลาหกโมงเช้าเช่นกัน เพื่อจะนำไปฝึกต่อสู้กับรถถัง
เช้าวันที่ 24 มิถุนายน
พระยาทรงตื่นตั้งแต่เวลา 4.00 น.
และออกจากบ้านไปพร้อมกับร้อยเอกหลวงทัศนัยนิยมศึก(ทัศนัย มิตรภักดี)
ผู้ที่มารับ
จากนั้นแผนการนำทหารออกมาใช้เปลี่ยนแปลงการปกครองของพระยาทรงก็ได้ถูกเปิด
เผยให้แก่ผู้ร่วมก่อการ เวลา5.00น. ทั้งหมดก็ได้มุ่งหน้าไปยังกรมทหารม้าที่
1 รักษาพระองค์ สี่แยกเกียกกาย โดยมีเป้าหมายที่จะยึดรถเกราะ รถรบ
เปิดเอาอาวุธออกจากคลังกระสุน
และหลอกพาทหารเดินมาขึ้นรถบรรทุกของกรมทหารปืนใหญ่
ภายใต้การบังคับบัญชาของพระยาฤทธิอัคเนย์ ที่อยู่ใกล้กัน
ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปลานพระบรมรูปทรงม้า
เมื่อไปถึงกรมทหารม้า พระยาทรง พระยาพหล และพระประศาสน์ ตบเท้าเข้าไปถามหาตัวผู้บังคับการกองรักษาการณ์ พูดด้วยเสียงดุดันว่า
"เวลานี้เกิดกบฏกลางเมืองขึ้นแล้ว มัวแต่หลับนอนอยู่ได้ เอารถเกราะ รถรบ เอาทหารออกไปช่วยเดี๋ยวนี้"
ตัว ผู้บังคับการเองเป็นนายทหารชั้นผู้น้อย เมื่อเห็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ครูบาอาจารย์ทั้งสามก็หลงเชื่ออย่างสนิทใจ รีบออกคำสั่งให้เป่าแตรแจ้งสัญญาณเหตุสำคัญปลุกทหารทั้งกรมตื่นขึ้นโดยฉับ พลัน
"เวลานี้เกิดกบฏกลางเมืองขึ้นแล้ว มัวแต่หลับนอนอยู่ได้ เอารถเกราะ รถรบ เอาทหารออกไปช่วยเดี๋ยวนี้"
ตัว ผู้บังคับการเองเป็นนายทหารชั้นผู้น้อย เมื่อเห็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ครูบาอาจารย์ทั้งสามก็หลงเชื่ออย่างสนิทใจ รีบออกคำสั่งให้เป่าแตรแจ้งสัญญาณเหตุสำคัญปลุกทหารทั้งกรมตื่นขึ้นโดยฉับ พลัน
ในช่วงเวลาระทึกใจนี้
ผู้ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ไว้แล้วก็แยกย้ายกันปฏิบัติงาน
พระยาพหลใช้กรรไกรตัดเหล็กที่เตรียมมาตัดโซ่กุญแจคลังแสงออกแล้วช่วยกัน
ลำเลียงกระสุนมาขึ้นรถอย่างรวดเร็ว พระประศาสน์ตรงไปยังโรงเก็บรถพร้อม
ร.อ.หลวงทัศนัยเร่งให้ทหารสตาร์ตรถถัง รถเกราะ ออกมาโดยเร็ว
ร้อยเอกหลวงรณสิทธิชัยและพรรคพวกมุ่งไปยังโรงทหาร
ออกคำสั่งแก่พลทหารให้แต่งเครื่องแบบทันทีไม่ต้องล้างหน้า
ไม่กี่นาทีต่อมาก็ออกไปขึ้นรถบรรทุกทหารภายในกรมทหารปืนใหญ่ที่ได้นัดแนะกับ
พระยาฤทธิอัคเนย์เอาไว้แล้ว แล้วพระประศาสน์ก็นำขบวนรถถัง รถเกราะ
รถขนกระสุนและปืนกลเบารวม15 คัน
ออกจากที่ตั้งนำขบวนรถทั้งหมดมุ่งหน้าตรงไปยังลานพระบรมรูปทรงม้าซึ่งนัก
เรียนนายร้อยคงแต่งชุดฝึกมารออยู่แล้ว ระหว่างทางแล่นผ่านกองพันทหารช่าง
พระยาทรงก็กวักมือตะโกนเรียกผู้บังคับการทหารช่างว่าได้เวลาที่จะไปฝึกการ
ต่อสู้รถถังตามที่ตกลงกันเมื่อเย็นวาน
เหล่าทหารกำลังฝึกอยู่บนสนามหน้ากองพัน
จึงได้รับคำสั่งให้ขึ้นรถบรรทุกไปกับเขาด้วย ปฏิบัติการทั้งหมดนี้
ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง มีคำถามมากมายต่อมาว่าเกิดอะไรขึ้น
เหตุใดกองรักษาการณ์กรมทหารม้าจึงร่วมมืออย่างง่ายๆ
ทำไมยามคลังแสงจึงปล่อยให้พระยาพหลงัดประตูเอากระสุนออกไปได้
ทำไมนายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในกรมนี้จึงปล่อยให้นายทหารที่อื่นนำทหารของ
ตัวออกไปได้ โดยไม่แสดงปฏิกิริยาอันใดเลย สำหรับคำถามเหล่านี้ ได้บันทึกของพระยาทรงได้ให้คำตอบอย่างชัดเจนว่า “เป็น
เพราะนายทหาร นายสิบ พลทหารเหล่านั้นเห็นด้วยในการปฏิวัติหรือ...เปล่าเลย
ทั้งนายทหาร นายสิบ พลทหาร ไม่มีใครรู้เรื่องอะไรทั้งสิ้น
ตั้งแต่เกิดมาก็ไม่มีใครเคยได้เห็นได้รู้ การปฏิวัติทำอย่างไร เพื่ออะไร
มีแต่ความงงงวยเต็มไปด้วยความไม่รู้
และข้อนี้เองเป็นเหตุสำคัญแห่งความสำเร็จ!
สำหรับพลทหารทั้งหมดไม่ต้องสงสัยเลย
เขาทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของเขาโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
เขาถูกฝึกมาเช่นนั้น
และหากนายทหารอื่นมาสั่งให้ทำโดยอ้างว่าเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
เขาก็ทำเช่นเดียวกัน ทำไมเขาจะไม่ทำ เพราะในชีวิตเป็นทหารของเขา
เขายังไม่เคยถูกเช่นนั้น เพราะฉะนั้นเขาจะรู้ไม่ได้เลยว่าเป็นการลวง
ในเมื่อเขาโดนเป็นครั้งแรก
...นายทหารทั้งหมดส่วนมากได้เรียนในโรงเรียนนายร้อยในสมัยที่ผู้อำนวยการ
ฝ่ายทหารเป็นอาจารย์ใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงมีความเคารพและเกรงในฐานผู้ใหญ่…….”
เหตุการณ์อีกด้านหนึ่ง ในตอนเช้าตรู่เวลาประมาณ4.00 น.ของวันเดียวกัน
พลตำรวจโทพระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุยส์ จาติกวณิช) อธิบดีกรมตำรวจ
ได้ขอเข้าเฝ้าจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหมเป็นการด่วนที่วังบางขุนพรหม
ด้วยได้รับรายงานทางลับว่ามีคณะบุคคลจะลงมือทำการปฏิวัติยึดอำนาจในเช้า
วันนี้
และจะเชิญพระองค์ไปเป็นประกันเพื่อต่อรองกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯด้วย
พระยาอธิกรณ์ประกาศได้เตรียมเรือกลไฟเล็กมาจอดคอยอยู่ที่ท่าน้ำตำหนักน้ำ
เพื่อให้สมเด็จกรมพระนครสวรรค์เสด็จหนีไปก่อน
และอาจจะทรงตั้งกองบัญชาการชั่วคราวที่กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์สวนเจ้า
เชตุเพื่อหาทางต่อสู้ต่อไปได้
ทรงฟังคำกราบทูลของอธิบดีกรมตำรวจด้วยพระทัยเยือกเย็น
รับสั่งให้รอดูเหตุการณ์ไปก่อน “ฉันจะไปได้อย่างไร
ฉันรักษาพระนครอยู่ด้วย”หลังจากหลังจากนั้นเพียงครู่เดียวก็มีขบวน
รถถังและรถเกราะ6 คัน พร้อมด้วยนักเรียนนายร้อย1หมวด นำโดยพระประศาสน์
และหลวงพิบูลเข้ายึดสถานีตำรวจหน้าวังไว้
และเคลื่อนพลเข้ามาในวังบางขุนพรหม
สมเด็จกรมพระนครสวรรค์ทรงเป็นนายทหารสำเร็จจากเยอรมันนี
เช่นเดียวกับพระประศาสน์ และทรงเป็นเจ้าภาพแต่งงานให้เสียด้วย
จึงมีพระดำรัสด้วยพระสุรเสียงอันไม่สะทกสะท้านแม้แต่น้อยว่า “ตาวัน แกมา
ต้องการอะไร”พระประศาสน์ไม่กล้าสบสายพระเนตร กราบทูลว่า
“ขอเชิญเสด็จไปพระที่นั่งอนันต์ มีข้าราชการทหารพลเรือน รออยู่แล้ว
ขอเชิญเสด็จเดี๋ยวนี้”
แม้จะมีพระดำรัสขอให้ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์เพราะ ยังทรงอยู่ในชุดนอน พระประศาสน์ก็มิได้สนองพระประสงค์ จึงเสด็จเข้าประทับในรถที่พระประศาสน์เตรียมมาถวายพร้อมด้วยหม่อมสมพันธุ์ และหม่อมเจ้าหญิงประสงค์สมพระธิดา เป็นอันว่าแผน3ในภารกิจที่สำคัญที่สุดของคณะปฏิวัติได้เสร็จสิ้นลงแล้ว การได้สมเด็จกรมพระนครสวรรค์มาทรงเป็นองค์ประประกัน ทำให้ปัญหาการนองเลือดตลอดจนปัญหาการต่อต้านที่จะมาจากทุกทิศทางหมดไปทันที
ต่อ มา พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่และข้าราชการที่ถูกเชิญมาควบคุม ได้เริ่มทยอยเข้ามาในพระที่นั่งอนันตสมาคม เช่นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นต้น นายทหารชั้นผู้ใหญ่ได้เข้าล้อมเจ้านายทุกพระองค์ไว้เพื่อถวายความปลอดภัย ด้วยพวกคณะปฏิวัติมิได้ถวายพระเกียรติเท่าที่ควร ทำให้อาจเกินเหตุอันมิได้คาดคิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ในตอนบ่ายวันนั้น พระยาพหล พระยาทรง และพระยาฤทธิอาคเนย์ ได้เข้ามาเฝ้ากราบทูลว่า คณะปฏิวัติมีความประสงค์เพียงขอพระราชทานธรรมนูญการปกครองแผ่นดินจากพระเจ้า อยู่หัว และขอให้สมเด็จกรมพระนครสวรรค์ทรงคลี่คลายสถานการณ์อันสับสนในเวลานั้น ด้วยหนังสือกราบบังคมทูลไปถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯแล้ว แต่ยังมิได้พระราชทานคำตอบแต่ประการใด สมเด็จกรมพระนครสวรรค์ทรงเห็นแก่บ้านเมือง จึงได้ประทานลายพระหัตถ์ให้คณะราษฎร์นำประกาศกระจายเสียงทางวิทยุ ความว่า “ตามด้วยที่คณะราษฎร์ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเอาไว้ได้โดยมีความประสงค์ข้อ ใหญ่ที่จะให้ประเทศไทยมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดินนั้น ข้าพเจ้าขอให้ทหารข้าราชการ และราษฎรทั้งหลาย จงช่วยกันรักษาความสงบ อย่าให้เสียเลือดเนื้อคนไทยกันเอง โดยไม่จำเป็นเลย”เมื่อเหตุการณ์ ทั้งหมดคลี่คลายลงแล้ว คณะราษฎรมีความเห็นว่า เจ้านายระดับสูงหากยังประทับอยู่ในเมืองไทยก็จะเกิดปัญหาไม่จบ จึงสมควรต้องเนรเทศซึ่งใช้ภาษาให้สละสลวยว่าอัญเชิญเสด็จไปประทับ ณ ต่างประเทศ พระธิดาของสมเด็จงกรมพระนครสวรรค์ทรงบันทึกไว้ว่า "ทูนกระหม่อม มีเวลาเตรียมพระองค์ไม่ถึง12 ชั่วโมง ไม่มีเวลาแม้แต่จะกราบถวายบังคมลา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระบรมราชินี ต้องทรงละทิ้งวัง และข้าราชบริพารร่วม400ชีวิตให้ดูแลตัวเอง ขบวนเสด็จจากวังบางขุนพรหมแห่ล้อมด้วยรถถังและรถหุ้มเกราะ สุดที่จะประมาณได้ เมื่อประทับบนรถไฟแล้วมีตำรวจในความควบคุมของพระนรากรบริรักษ์ อีกสองกองร้อยตามเสด็จ เพื่อควบคุมพระองค์ ทรงมีเงินส่วนพระองค์ติดไป 9000บาท ทรงทิ้งความทรงจำแห่งชีวิตราชการที่ทรงมีมากว่าครึ่งพระชนม์ชีพไว้ในความทรง จำ"
กงกรรมกงเกวียน การเมืองก็มีแต่เรื่องอย่างนี้ ผู้ก่อการคณะราษฎรหลายคนก็ต้องชะตากรรมเช่นเดียวกัน บางคนแม้ไม่ได้ไปเสียชีวิตที่ต่างประเทศ ก็ถูกรถชนตายข้างถนน ลูกหลานไปพบก็อยู่ในสภาพของศพไม่มีญาติเสียหลายวันแล้ว ใครอย่ามาถามผมนะครับว่าท่านที่ผมกล่าวถึงตอนท้ายนี้คือใคร
แม้จะมีพระดำรัสขอให้ทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์เพราะ ยังทรงอยู่ในชุดนอน พระประศาสน์ก็มิได้สนองพระประสงค์ จึงเสด็จเข้าประทับในรถที่พระประศาสน์เตรียมมาถวายพร้อมด้วยหม่อมสมพันธุ์ และหม่อมเจ้าหญิงประสงค์สมพระธิดา เป็นอันว่าแผน3ในภารกิจที่สำคัญที่สุดของคณะปฏิวัติได้เสร็จสิ้นลงแล้ว การได้สมเด็จกรมพระนครสวรรค์มาทรงเป็นองค์ประประกัน ทำให้ปัญหาการนองเลือดตลอดจนปัญหาการต่อต้านที่จะมาจากทุกทิศทางหมดไปทันที
ต่อ มา พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่และข้าราชการที่ถูกเชิญมาควบคุม ได้เริ่มทยอยเข้ามาในพระที่นั่งอนันตสมาคม เช่นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นต้น นายทหารชั้นผู้ใหญ่ได้เข้าล้อมเจ้านายทุกพระองค์ไว้เพื่อถวายความปลอดภัย ด้วยพวกคณะปฏิวัติมิได้ถวายพระเกียรติเท่าที่ควร ทำให้อาจเกินเหตุอันมิได้คาดคิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ในตอนบ่ายวันนั้น พระยาพหล พระยาทรง และพระยาฤทธิอาคเนย์ ได้เข้ามาเฝ้ากราบทูลว่า คณะปฏิวัติมีความประสงค์เพียงขอพระราชทานธรรมนูญการปกครองแผ่นดินจากพระเจ้า อยู่หัว และขอให้สมเด็จกรมพระนครสวรรค์ทรงคลี่คลายสถานการณ์อันสับสนในเวลานั้น ด้วยหนังสือกราบบังคมทูลไปถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯแล้ว แต่ยังมิได้พระราชทานคำตอบแต่ประการใด สมเด็จกรมพระนครสวรรค์ทรงเห็นแก่บ้านเมือง จึงได้ประทานลายพระหัตถ์ให้คณะราษฎร์นำประกาศกระจายเสียงทางวิทยุ ความว่า “ตามด้วยที่คณะราษฎร์ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเอาไว้ได้โดยมีความประสงค์ข้อ ใหญ่ที่จะให้ประเทศไทยมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดินนั้น ข้าพเจ้าขอให้ทหารข้าราชการ และราษฎรทั้งหลาย จงช่วยกันรักษาความสงบ อย่าให้เสียเลือดเนื้อคนไทยกันเอง โดยไม่จำเป็นเลย”เมื่อเหตุการณ์ ทั้งหมดคลี่คลายลงแล้ว คณะราษฎรมีความเห็นว่า เจ้านายระดับสูงหากยังประทับอยู่ในเมืองไทยก็จะเกิดปัญหาไม่จบ จึงสมควรต้องเนรเทศซึ่งใช้ภาษาให้สละสลวยว่าอัญเชิญเสด็จไปประทับ ณ ต่างประเทศ พระธิดาของสมเด็จงกรมพระนครสวรรค์ทรงบันทึกไว้ว่า "ทูนกระหม่อม มีเวลาเตรียมพระองค์ไม่ถึง12 ชั่วโมง ไม่มีเวลาแม้แต่จะกราบถวายบังคมลา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระบรมราชินี ต้องทรงละทิ้งวัง และข้าราชบริพารร่วม400ชีวิตให้ดูแลตัวเอง ขบวนเสด็จจากวังบางขุนพรหมแห่ล้อมด้วยรถถังและรถหุ้มเกราะ สุดที่จะประมาณได้ เมื่อประทับบนรถไฟแล้วมีตำรวจในความควบคุมของพระนรากรบริรักษ์ อีกสองกองร้อยตามเสด็จ เพื่อควบคุมพระองค์ ทรงมีเงินส่วนพระองค์ติดไป 9000บาท ทรงทิ้งความทรงจำแห่งชีวิตราชการที่ทรงมีมากว่าครึ่งพระชนม์ชีพไว้ในความทรง จำ"
กงกรรมกงเกวียน การเมืองก็มีแต่เรื่องอย่างนี้ ผู้ก่อการคณะราษฎรหลายคนก็ต้องชะตากรรมเช่นเดียวกัน บางคนแม้ไม่ได้ไปเสียชีวิตที่ต่างประเทศ ก็ถูกรถชนตายข้างถนน ลูกหลานไปพบก็อยู่ในสภาพของศพไม่มีญาติเสียหลายวันแล้ว ใครอย่ามาถามผมนะครับว่าท่านที่ผมกล่าวถึงตอนท้ายนี้คือใคร
ขอน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรง
ตั้งพระทัยจะพระราชทานธรรมนูญการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว
ติดขัดเพียงบางหลักการที่มีผู้คัดค้านกำลังจะแก้ไข
เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจึงไม่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะต่อต้าน
ทั้งๆที่ทหารหัวเมืองทั้งหลายพร้อมอยู่
รอฟังพระราชกระแสรับสั่งจากจอมทัพเท่านั้น
หากพระองค์ทรงยึดมั่นถือมั่นที่จะรักษาพระราชอำนาจโดยไม่คำนึงบ้านเมืองแล้ว
แน่นอนว่า เลือดคงจะได้ท่วมนองแผ่นดิน
ประชาชนทั้งหลายจะพลอยรับเคราะห์บาดเจ็บล้มตาย ทรัพย์สินวินาศสันตะโร
ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นซ้ำซากทุกยุคทุกสมัย
วันที่27มิถุนายน 2475 ทรงลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ที่ทรงเติมคำว่า “ชั่วคราว” ไว้ด้วยพระราชหัตถเลขา เนื่องจากทรงยังไม่เห็นด้วยในบางประการ รับสั่งว่า “ให้ใช้ไปก่อน” เพื่อจะแก้ใขในภายหลัง
วันที่27มิถุนายน 2475 ทรงลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ที่ทรงเติมคำว่า “ชั่วคราว” ไว้ด้วยพระราชหัตถเลขา เนื่องจากทรงยังไม่เห็นด้วยในบางประการ รับสั่งว่า “ให้ใช้ไปก่อน” เพื่อจะแก้ใขในภายหลัง
ในหนังสือเรื่อง “ชีวิต5แผ่นดินของข้าพเจ้า” เขียนโดยพลโทประยูร ภมรมนตรี
มีข้อความตอนหนึ่งเขียนไว้ถึงพระดำรัสที่สมเด็จกรมพระนครสวรรค์มีรับสั่งกับ
ตนที่พระที่นั่งอานันตสมาคมในเช้าวันนั้นว่า…แกคงจะรู้จัก โรเบสเปียร์
มารา และดันตอง เพื่อนร่วมน้ำสาบานฝรั่งเศสดีแน่
ในที่สุดมันผลัดกันเอากิโยตีนเฉือนคอกันทีละคน...จำไว้ ฉันสงสารแก
ฉันเลี้ยงแกมาตั้งแต่เด็ก นี่แกเป็นกบฏแม้จะรอดจากอาญาแผ่นดินไม่ถูกตัดหัว
แต่แกจะต้องถูกพวกเดียวกันฆ่าตาย
แกจำไว้….ซึ่งร้อยโทประยูรผู้ก่อการคนสำคัญที่เขามอบหมายให้มาคอยเฝ้าดู
พระองค์กราบทูลตอบว่า “ทราบเกล้าฯแล้ว
ตามประวัติศาสตร์มันต้องเป็นเช่นนั้น อย่างมากแค่ตาย”ผมจะไม่เล่าเรื่องของคนอื่นในเวลานี้ เอาเฉพาะชะตากรรมของพระยาทรงตามหัวข้อเรื่องก็แล้วกัน ใครไม่ทราบกล่าวไว้ว่า การปฏิวัติยึดอำนาจนั้นไม่ยาก มันยากที่จะทำอย่างไรจะให้บรรลุอุดมการณ์ของการปฏิวัติได้
ครับ..ผม
เห็นด้วย อุดมการณ์มีองค์ประกอบด้วยกิเลศของมนุษย์ ตั้งแต่ตัวละเอียด เช่น
ฉันอยากให้ไอ้นั่นดีอย่างนั้นอย่างนี้ ตัวกลางๆเช่น ฉันดีกว่าแก
ฉันเหมาะสมกว่าเพื่อน ไปจนถึงตัวหยาบๆเช่นฉันอยากเด่น ฉันอยากรวย
ฉันอยากมีอำนาจ และกิเลศมนุษย์ของนักการเมืองนี่แหละครับ
ที่เป็นตัวบั่นทอนความสุขความเจริญของมนุษยชาติ เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จได้เพียงเดือนเดียว พระยาทรง
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการ
เป็นรองก็เฉพาะพระยาพหลซึ่งเป็นตัวผู้บัญชาการ
ได้เรียกประชุมนายทหารใต้บังคับบัญชาของตน ที่ตึกทหารวังปารุสกวัน
ซึ่งในคำพิพากษาศาลพิเศษ2482
(ซึ่งทราบกันทั่วไปว่าผู้พิพากษาทั้งหลายเป็นคนของหลวงพิบูล)
ได้เรียกการกระทำดังกล่าวว่า “ลอบประชุม” มิให้พระยาพหลรู้เห็น
เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงการของกองทัพบก
ในระยะนี้วันหนึ่งพระยาพหลลงไปรับแขกชั้นล่าง จะกลับขึ้นไปห้องทำงานข้างบน
ทหารยามที่เฝ้าบรรไดอยู่ทำท่าเตรียมแทง ไม่ให้ขึ้น
พระยาพหลจึงร้องเรียกพระยาทรงลงมาดู
พระยาทรงบอกว่าบอกว่าทหารชั้นผู้น้อยยังไม่รู้จักผู้บังคับบัญชา(คนใหม่)
แต่พระยาพหลเริ่มจะผูกใจว่าพระยาทรงคิดจะแย่งอำนาจเสียแล้วเหตุการณ์
ทำนองคล้ายกันต่อจากนั้นอีกประมาณเดือนเดียว
มีสายหลวงพิบูลมารายงานว่าพระยาทรงคิดจะย้ายหลวงพิบูลไปอยู่ตำแหน่งผู้ช่วย
รบ เพื่อจะได้ไม่มีสิทธิ์บังคับบัญชาควบคุมกำลังทหาร
หลวงพิบูลฉุนจัดจึงจะไปขอเข้าพบเพื่อสอบถาม แต่ทหารยามเอาดาบปลายปืนกั้นไว้
เผอิญพระยาทรงอยู่ที่นั่นจึงเห็นเข้าแล้วร้องห้ามไว้
เมื่อคุยกันแม้พระยาทรงจะปฏิเสธเรื่องดังกล่าว
แต่หลวงพิบูลก็ปักใจเชื่อว่ามีมูล เพราะแม้ตนจะอยู่ที่ตำแหน่งเดิม
แต่พรรคพวกถูกย้ายออกจากสายคุมกำลังหมดและมีนายทหารลูกน้องพระยาทรงเข้ามา
เป็นแทน ศาลพิเศษอ่านคำพิพากษาตอนหนึ่งว่า “การที่พระยาทรงสุรเดชกับพวก
กระทำเช่นนี้แสดงว่า พระยาทรงสุรเดชจะคุมอำนาจทหารไว้ฝ่ายเดียว
บั่นทอนอำนาจการปกครองของทหารซึ่งหลวงพิบูลสงครามและพวกที่ได้ควบคุมอยู่
นั้น ให้หมดสิ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวแก่การเมืองซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
ตั้งแต่นั้นมาพระยาทรงสุรเดชกับหลวงพิบูลสงครามก็ไม่ถูกกันเรื่อยๆมา”
สำหรับเรื่องขัดแย้งระหว่างพระยาทรงกับหลวงประดิษฐ์
ความจริงพระยาทรงเขม่นหลวงประดิษฐ์อยู่นานแล้วเพราะทนความเป็นนักวิชาการหัว
ก้าวหน้ามากไม่ไหว ในการประชุมคณะราษฎรครั้งแรกๆ
พระยาทรงก็หลบออกจากที่ประชุมมาบ่นหลวงประดิษฐ์ให้ร้อยโทประยูร
โซ่ข้อกลางระหว่างนักเรียนเก่าเยอรมันกับนักเรียนเก่าฝรั่งเศสฟังด้วยถ้อยคำ
รุนแรง
และมาถึงที่สุดในวันที่พร้อมกันเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯเป็นครั้ง
แรกหลังวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ซึ่งพระยาทรงเป็นหัวหน้าคณะแทนพระยาพหลที่ไม่กล้าเข้าเฝ้าเพราะตนเองอยู่ใน
ตำแหน่งนายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และโดนพันเอก พระยาสุรเดชรณชิต (ชิต
ยุวนะเตมีย์) เพื่อนนักเรียนนายร้อยเยอรมันร่วมรุ่นอีกคนหนึ่งถามแสบๆว่า
"ไอ้พจน์ มีทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ชาติไหนมั่งวะที่กบฎต่อพระเจ้าแผ่นดิน"
พระยาทรงนำคณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบขอพระราชทานอภัยโทษ
เมื่อพระองค์โปรดเกล้าให้หลวงประดิษฐ์นำรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าถวาย
ทรงอ่านข้อความในรัฐธรรมนูญแล้ว
ตรัสถามพระยาทรงว่าได้อ่านรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาแล้วหรือยัง
พระยาทรงกราบทูลว่ายังไม่ได้อ่าน ทรงหันมาถามร้อยโทประยูรว่าได้อ่านหรือยัง
ร้อยโทประยูรกราบทูลตอบว่าไม่ได้อ่านเพราะไม่มีหน้าที่โดยตรง
แต่ได้ทราบว่าพระยาทรงได้กำชับหลวงประดิษฐ์ไว้มั่นคงแล้วว่าให้ร่างแบบ
อังกฤษที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญพระองค์ก็ตรัสตอบว่าต้องการให้เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ทำไมต้องใช้คำแทนเสนาบดีว่า "คณะกรรมการราษฎร" แบบรัสเซียซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์พระยา
ทรงอึ้งอยู่ชั่วครู่จึงกราบบังคมทูลว่า
"ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานสารภาพรับผิดที่ไม่ได้อ่านมาก่อน
ขอพระราชทานอภัยโทษและขอถวายสัตย์ว่าจะไปร่างมาใหม่
ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ทุกประการ" ทรงตรัสว่า
"ถ้าพระยาทรงรับรองว่าจะไปแก้ไขกันใหม่ฉันก็จะยอมเชื่อพระยาทรง
แต่อย่างไรก็ตามวันนี้หัวเด็ดตีนขาด ฉันก็ไม่เซ็น"
รับสั่งให้กลับไปแก้ไขแล้วนำมาเสนอใหม่ในอีก 2 วันข้างหน้า
แล้วจึงเสด็จขึ้น พวกที่เข้าเฝ้าก็ตกตะลึงทำอะไรไม่ถูก
ทยอยเดินออกมายืนที่ลานพระราชวัง
พระยาทรงโกรธมากถึงกับชี้หน้าหลวงประดิษฐ์แล้วพูดว่า "คุณหลวงทำป่นปี้
ไม่ทำตามที่บอกกล่าวกันไว้ ทำอะไรไปนอกเรื่อง ฉิบหายหมดแล้ว"พระยา
ทรงเมื่อแสดงความแค้นเคืองแล้วก็เดินขึ้นรถจากไป หลังจากนั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างพระยาทรงกับหลวงประดิษฐ์ก็ไม่ดีขึ้น
ทั้งสองฝ่ายไม่ยอมปรับความเข้าใจกัน
ซ้ำยังเลวร้ายกว่าเรื่องของหลวงพิบูลเสียด้วยซ้ำ
ย้อนรอยประวัติศาสตร์รัฐประหารไทย ตอนกบฎพระยาทรงสุรเดช MP3http://www.mediafire.com/?lgxyf532ga1acl8
กบฎทรงสุรเดช MP4 http://www.mediafire.com/?d1w52378paydzem
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น